รหัสสิทธิพิเศษแบ่งออกเป็น 10 กลุ่ม
- กรณีชำระอากรขาเข้าตามพิกัดอัตราอากรขาเข้า ภาค 2 ท้ายพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 รหัสสิทธิพิเศษ 999
- กรณีใช้สิทธิยกเว้นอากร หรือลดอัตราอากรขาเข้า ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลัง ออกตามความของมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 รหัสสิทธิพิเศษ 000
- กรณีชำระอากรขาออก หรือยกเว้นอากร ตามพิกัดอัตราอากรขาออก ภาค 3 ท้ายพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 รหัสสิทธิพิเศษ 003
- กรณีใช้สิทธิยกเว้นอากร ตามของที่ได้รับยกเว้นอากร ภาค 4 ท้ายพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 รหัสสิทธิพิเศษ 004
- กรณีใช้สิทธิยกเว้นอากร ตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 รหัสสิทธิพิเศษ 005
- กรณีใช้สิทธิของส่งกลับไปยังต่างประเทศ ตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 รหัสสิทธิพิเศษ 019
- กรณีใช้สิทธิลดอัตราอากรขาเข้าโดยมีเงื่อนไขตามประกาศกระทรวงการคลัง ออกตามความของมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 รหัสสิทธิพิเศษ 2XX
- กรณีใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าโดยมีเงื่อนไขตามประกาศกระทรวงการคลัง ออกตามความของมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 รหัสสิทธิพิเศษ 3XX
- กรณีใช้สิทธิยกเว้นอากร หรือลดอัตราอากรขาเข้าโดยมีเงื่อนไข และต้องนำเข้าเฉพาะทางตามประกาศกระทรวงการคลัง ออกตามความของมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 รหัสสิทธิพิเศษ 4XX
- กรณีใช้สิทธิยกเว้นอากร หรือลดอัตราอากรตามข้อผูกพันตามสัญญา หรือความตกลงระหว่างประเทศ ออกตามความของมาตรา 14 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 รหัสสิทธิพิเศษเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษและตัวเลข เช่น WTO TAU TJ1 AF1 เป็นต้น
เงื่อนไขการบันทึกข้อมูลตามรหัสสิทธิพิเศษ
- รหัสสิทธิพิเศษ “999” ชื่อสิทธิพิเศษ “อัตราอากรตามภาค 2 แห่ง พรก. 2530”
2. รหัสสิทธิพิเศษ “000” ชื่อสิทธิพิเศษ “อัตราอากรตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลัง มาตรา 12 ภาค 2”
- บันทึก Privilege Code = 999
- ระบุ Permit No กรณีต้องมีใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
3. รหัสสิทธิพิเศษ “003” ชื่อสิทธิพิเศษ “ภาค 3 พิกัดอัตราศุลกากรขาออก”
- บันทึก Privilege Code = 000
- ระบุ Permit No กรณีต้องมีใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
4. รหัสสิทธิพิเศษ “004” ชื่อสิทธิพิเศษ “ภาค 4 ของที่ได้รับการยกเว้นอากร”
- Privilege Code = 003
- Export Tariff = 9PART3
- Tariff Code = บันทึกพิกัดศุลกากรให้ตรงกับชนิดของของที่ส่งออก
5. รหัสสิทธิพิเศษ “005” ชื่อสิทธิพิเศษ “ยกเว้นอากรตาม พรบ. ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514”
- การสำแดงพิกัดศุลกากรและรหัสสถิติสินค้าให้สำแดงตรงกับชนิดของของที่นำเข้า
- ระบุ Import Tariff = ตามสิทธิที่ใช้ เช่น 1PART4 2PART4 3PART4 5PART4 6PART4 7PART4 10PART4 11PART4 13PART4 แทนการระบุรหัสสิทธิพิเศษ 004
- ระบุ Privilege Code = ตามสิทธิ ณ ขณะนำเข้า (ไม่ใช้รหัสสิทธิพิเศษ 004)
6. รหัสสิทธิพิเศษ “019” ชื่อสิทธิพิเศษ “ส่งของกลับตามมาตรา 28 (Re-Import/Re-Export)”
- บันทึก Document Type = 3 คำร้องขอรับของไปก่อน
- บันทึก Privilege Code = 005 (สำหรับรายการที่รอการยกเว้นอากร)
- ระบุ Permit No กรณีต้องมีใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
7. รหัสสิทธิพิเศษ “2XX” ชื่อสิทธิพิเศษ “การลดอัตราอากรขาเข้าแบบมีเงื่อนไข” หรือ รหัสสิทธิพิเศษ “3XX” ชื่อสิทธิพิเศษ “การยกเว้นอากรขาเข้าแบบมีเงื่อนไข” หรือรหัสสิทธิพิเศษ “4XX” ชื่อสิทธิพิเศษ “การลดอัตราอากรยกเว้นอากรขาเข้าแบบมีเงื่อนไขเฉพาะสถานที่นำเข้า”
- ระบุ Re-Export = Y ที่ส่วนรายการในใบขนสินค้าทุกรายการ
- ระบุ Privilege Code ตามสิทธิที่มีขณะนำเข้า เช่น มาตรา 12, WTO, TAU, AFTA เป็นต้น
- ระบุ Tariff Code = พิกัดอัตราศุลกากรให้ตรงกับชนิดของที่จะส่งกลับออกไป
- ระบุ Permit No กรณีต้องมีใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
- กรณีที่การได้รับลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากร ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์เงื่อนไข ที่ได้กำหนดให้มีการรับรองการนำของเข้ามาใช้ประโยชน์เป็นการเฉพาะจากหน่วยงานอื่น ให้ผู้นำของเข้าบันทึกข้อมูล ดังนี้
- ระบุ Privilege Code = ตามสิทธิ ณ ขณะนำเข้า
- ระบุ Permit No = เลขที่หนังสือที่ได้รับจากหน่วยงานเฉพาะที่มีสิทธิอนุญาต รวมถึงระบุวันที่ออกใบอนุญาต และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของหน่วยงานผู้ออกใบอนุญาต ด้วย
- กรณีมีใบอนุญาตมากกว่า 1 ฉบับ ให้แยกบันทึกข้อมูล Permit No ตามรายใบอนุญาต
- กรณีที่การได้รับลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากร ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่ได้กำหนดให้มีการรับรองการนำของเข้ามาใช้ประโยชน์เป็นการเฉพาะจากกรมศุลกากร ให้ผู้นำของเข้าบันทึกข้อมูล ดังนี้
- ระบุ Privilege Code = ตามสิทธิ ณ ขณะนำเข้า
- ระบุ Permit No = เลขที่หนังสือที่ได้รับจากหน่วยงานของกรมศุลกากร โดยเป็นหน่วยบริการที่ทำการอนุมัติอนุญาตในหลักการครั้งแรก (ในการนำเข้าครั้งต่อไปให้อ้างเลขที่เดิม)
- กรณีมีใบอนุญาตมากกว่า 1 ฉบับ ให้แยกบันทึกข้อมูล Permit No ตามรายใบอนุญาต
- รหัสสิทธิพิเศษเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษและตัวเลข ชื่อสิทธิพิเศษ “ข้อผูกพันตามสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศ”
- ระบุ Privilege Code = ตามสิทธิ ณ ขณะนำเข้า
- ระบุ Permit No = เลขที่หนังสือที่ได้รับจากสิทธิในการลดหรือยกเว้นอากรขาเข้า เช่น Form D รวมถึงระบุวันที่ออกใบอนุญาต และรหัสประเทศของผู้ออกใบอนุญาตด้วย
- กรณีมีใบอนุญาตมากกว่า 1 ฉบับ ให้แยกบันทึกข้อมูล Permit No ตามรายใบอนุญาต
กรณีผู้นำของเข้ายังไม่ได้รับอนุมัติให้ลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากร
- ระบุ Privilege Code = เป็น “000”
- ระบุ Remark = “ขอสงวนสิทธิ์คืนเงินอากรตามประกาศกระทรวงการคลัง สำหรับ “XXX” (โดยใช้เลขรหัสสิทธิพิเศษตามที่กำหนดเป็นการเฉพาะเรื่องที่ขอคืนเงินอากร)”
- ชำระอากรในอัตราปกติ
- ระบุ Assessment request code = Y ขอตรวจสอบพิกัดและ/หรือราคา
รหัสสิทธิพิเศษ ตามข้อผูกพันสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศ (Privilege Code)
รหัสสิทธิพิเศษ | ประเภทสิทธิพิเศษ | ชื่อ/คำอธิบายสิทธิพิเศษ |
---|---|---|
A00 | ASEAN | AICO 0 % |
A03 | ASEAN | AICO 3 % |
A05 | ASEAN | AICO 5 % |
AAN | FTA พหุภาคี | อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ |
ACN | FTA พหุภาคี | อาเซียน-จีน |
AF1 | ASEAN | AFTA |
AI1 | ASEAN | AISP-ราชอาณาจักรกัมพูชา |
AI2 | ASEAN | AISP-สหภาพพม่า |
AI3 | ASEAN | AISP-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว |
AIN | FTA พหุภาคี | อาเซียน-อินเดีย |
AJ1 | FTA พหุภาคี | การยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน-ญี่ปุ่น (บัญชีอัตราอากร1) |
AJ2 | FTA พหุภาคี | การยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน-ญี่ปุ่น (บัญชีอัตราอากร2) |
AJ3 | FTA พหุภาคี | การยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน-ญี่ปุ่น (บัญชีอัตราอากร3) |
AJ4 | FTA พหุภาคี | การยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน-ญี่ปุ่น(บัญชีอัตราอากร1 (OEM)) |
AK1 | FTA พหุภาคี | อาเซียน-เกาหลี |
AK2 | FTA พหุภาคี | อาเซียน-เกาหลี |
AK3 | FTA พหุภาคี | อาเซียน-เกาหลี |
ATG | ASEAN | อาเซียน |
BD1 | อื่น ๆ | ไทย-บังคลาเทศ |
CF1 | มาตรา 12 | Contract Farming |
FL1 | อื่น ๆ | การยกเว้นอากรศุลกากรในเขตพื้นที่ประสบอุทกภัย (HS 2017) |
FL2 | อื่น ๆ | การยกเว้นอากรศุลกากรในเขตพื้นที่ประสบอุทกภัย (HS 2017) |
FL3 | อื่น ๆ | การยกเว้นอากรศุลกากรในเขตพื้นที่ประสบอุทกภัย (HS 2017) |
GS1 | อื่น ๆ | GSTP |
ITA | WTO | สินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศตามความตกลง WTO |
KH1 | WTO | ไทย-กัมพูชา |
LA1 | WTO | ไทย-ลาว |
LA2 | อื่น ๆ | ไทย-ลาว |
O01 | อื่น ๆ | ม.25 |
TAU | FTA ทวิภาคี | FTA ไทย-ออสเตรเลีย |
TCN | FTA ทวิภาคี | FTA ไทย-จีน |
TIN | FTA ทวิภาคี | FTA ไทย-อินเดีย |
TJ1 | FTA ทวิภาคี | การยกเว้นอากรและลดอัตราอากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากญี่ปุ่น (บัญชีอัตราอากร 1) |
TJ2 | FTA ทวิภาคี | การยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากญี่ปุ่น (บัญชีอัตราอากร 2) |
TJ3 | FTA ทวิภาคี | การยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากญี่ปุ่น (บัญชีอัตราอาก 3) |
TJ4 | FTA ทวิภาคี | การยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากญี่ปุ่น (บัญชีอัตราอากร 4) |
TJ5 | FTA ทวิภาคี | การยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากญี่ปุ่น (บัญชีอัตราอากร 5) |
TJ6 | FTA ทวิภาคี | การยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากญี่ปุ่น (บัญชีอัตราอากร 1 (OEM)) |
TMM | อื่น ๆ | ไทย-พม่า-ดอยตุง |
TNZ | FTA ทวิภาคี | FTA ไทย - นิวซีแลนด์ |
TPE | พหุภาคี | ไทย-เปรู |
TSG | FTA ทวิภาคี | FTA ไทย - สิงคโปร์ |
WTO | WTO | WTO |