การยกเว้นอากรตามภาค 4

การยกเว้นอากรตามภาค 4

1 ภาค 4 สุทธินำกลับ

1 ภาค 4 สุทธินำกลับ ของที่ส่งออกรวมทั้งของที่ส่งกลับออกไป ซึ่งนำกลับเข้ามา ภายในหนึ่งปีโดยไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะหรือรูปแต่ประการใด และในเวลาที่ส่งออกนั้นได้รับใบสุทธิสำหรับนำกลับเข้ามาแล้วได้รับยกเว้นอากร ให้ผู้ขอยกเว้นอากร จัดทำและส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า โดยระบุค่าดังนี้

  • ระบุ Re - Importation Certificate = Y ที่ส่วนรายการในใบขนสินค้า
  • การสำแดงพิกัดศุลกากรและรหัสสถิติสินค้าให้สำแดงตรงกับชนิดของของที่นำเข้า
  • ระบุ Import Tariff = 1PART4
  • ระบุ Privilege Code = ตามสิทธิ ณ ขณะนำเข้า
  • อัตราอากร ใช้ Tariff Code และ Tariff Sequence
  • อากร ยกเว้น (บันทึก Exemption Rate = 100%)
  • VAT ยกเว้น (บันทึก Exemption Rate = 100%)
  • บันทึกเลขที่ใบขนสินค้าขาออกและรายการที่ของใบขนสินค้าขาออกที่อ้างถึง
  • มูลค่าการนำเข้า CIF = ค่าของ

2 ภาค 4 นำกลับไปซ่อม

2 ภาค 4 นำกลับไปซ่อม ของที่นำเข้ามาในประเทศไทยซึ่งได้เสียอากรไว้ครบถ้วนแล้ว และภายหลังส่งกลับออกไปซ่อม ณ ต่างประเทศ หากนำกลับเข้ามาภายในหนึ่งปีหลังจากที่ได้รับใบสุทธิสำหรับนำกลับเข้ามาซึ่งได้ออกให้ในขณะที่ได้ส่งออกแล้ว ได้รับยกเว้นอากร

ของที่ได้รับยกเว้นอากรตามประเภทนี้ ให้ได้รับยกเว้นเพียงเท่าราคาหรือปริมาณ แห่งของเดิมที่ส่งออกไปเท่านั้น สำหรับราคาหรือปริมาณที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการซ่อม ให้เสียอากรตามพิกัดอัตราอากรของของเดิมที่ส่งออกไปซ่อม โดยคำนวณจากราคาหรือปริมาณที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการขนส่งและการประกันภัย ให้ผู้ขอยกเว้นอากรจัดทำและส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า โดยระบุค่าดังนี้

  • ระบุ Re - Importation Certificate = Y ที่ส่วนรายการในใบขนสินค้า
  • การสำแดงพิกัดศุลกากรและรหัสสถิติสินค้าให้สำแดงตรงกับชนิดของของที่นำเข้า
  • ระบุ Import Tariff = 2PART4
  • ระบุ Privilege Code = 000 (ใช้อัตราอากรที่ลดหย่อนเป็นการทั่วไปเท่านั้น)
  • อัตราอากร ใช้ Tariff Code และ Tariff Sequence
  • อากร ชำระตามปกติ
  • VAT ชำระตามปกติ
  • บันทึกเลขที่ใบขนสินค้าขาออกและรายการที่ของใบขนสินค้าขาออกที่อ้างถึง
  • มูลค่าการนำเข้า CIF = ค่าซ่อม

3 ภาค 4 ทัณฑ์บนนำเข้าชั่วคราว

3 ภาค 4 ทัณฑ์บนนำเข้าชั่วคราว ของนำเข้ามาพร้อมกับตนหรือนำเข้ามาเป็นการชั่วคราว และจะส่งกลับออกไปภายในไม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่นำเข้ามา ได้รับยกเว้นอากร ให้ผู้ขอยกเว้นอากรจัดทำและส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า โดยระบุค่าดังนี้

  • ระบุ Import Tariff = 3PART4
  • ระบุ Privilege Code = ตามสิทธิ ณ ขณะนำเข้า
  • อัตราอากร ใช้ Tariff Code และ Tariff Sequence
  • อากร ยกเว้น (บันทึก Exemption Rate = 100%)
  • VAT ยกเว้น (บันทึก Exemption Rate = 100%)

การกำหนดค่าวางเงินประกัน (วางประกันที่ด่านศุลกากร ไม่ต้องบันทึกในโปรแกรม)

  • ให้วางเป็นสัญญาประกันทัณฑ์บนเพื่อการปฏิบัติพิธีการ
  • คำนวณจาก ค่าภาษีอากรอันพึงจะต้องชำระตามปกติ แล้วคำนวณเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของเงินภาษีอากรที่ได้ประเมินไว้ และรวมกำหนดเป็นเงินประกัน

ให้ยื่นคำร้องต่อหน่วยงานศุลกากร ณ ด่านศุลกากร ที่นำของเข้า โดยระบุเลขที่ใบขนสินค้าขาเข้า ที่ของใช้สิทธิตามประเภทที่ 3 ภาค 4 เพื่อตรวจสอบการใช้สิทธิในการนำของที่นำเข้ามาเป็นการชั่วคราว และจะต้องแสดงหลักฐานให้เป็นที่พอใจว่า นำเข้ามาใช้ประโยชน์ในกิจการตามที่ระบุไว้ ตามพิกัดอัตราศุลกากรแต่ละประเภท

ประเภทของสิทธิทัณฑ์บนนำเข้าชั่วคราว

  • (ก) ของที่ใช้ในการแสดงละครหรือการแสดงอย่างอื่นที่คล้ายกัน ซึ่งผู้แสดงที่ท่องเที่ยวนำเข้ามา
  • (ข) เครื่องประกอบและของใช้ในการทดลอง หรือการแสดงเพื่อวิทยาศาสตร์ หรือการศึกษา ซึ่งบุคคลที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวนำเข้ามาเพื่อจัดการทดลองหรือแสดง
  • (ค) รถสำหรับเดินบนถนน เรือและอากาศยาน บรรดาที่เจ้าของนำเข้ามาพร้อมกับตน
  • (ง) เครื่องถ่ายรูปและเครื่องบันทึกเสียง ซึ่งบุคคลที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวนำเข้ามาเพื่อใช้ถ่ายรูปหรือบันทึกเสียงต่าง ๆ แต่ฟิล์มและแผ่นสำหรับถ่ายรูปหรือสิ่งที่ใช้บันทึกเสียง ซึ่งนำมาใช้ในการนี้ ต้องเป็นไปตามเงื่อนไข และปริมาณที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนด
  • (จ) อาวุธปืนและกระสุนปืน ซึ่งบุคคลที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวนำเข้ามา พร้อมกับตน
  • (ฉ) ของที่นำเข้ามาเป็นการชั่วคราว โดยมุ่งหมายจะแสดงในงานสาธารณะที่เปิดให้ประชาชนดูได้ทั่วไป
  • (ช) ของที่นำเข้ามาเพื่อซ่อม แต่ต้องปฏิบัติภายในเงื่อนไขที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนด
  • (ซ) ตัวอย่างสินค้า นอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 14 ซึ่งบุคคลที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว นำเข้ามาพร้อมกับตนและมีสภาพ ซึ่งเมื่อจะส่งกลับออกไปสามารถตรวจได้แน่นอนว่า เป็นของอันเดียวกับที่นำเข้ามา แต่ต้องมีปริมาณ หรือค่าซึ่งเมื่อรวมกันเข้าแล้วไม่เกินกว่าที่จะเห็นได้ว่าเป็นตัวอย่างตามธรรมดา
  • (ญ) เครื่องมือ และสิ่งประกอบสำหรับงานก่อสร้าง งานพัฒนาการ รวมทั้งกิจการชั่วคราวอย่างอื่นตามที่อธิบดีกรมศุลกากรจะเห็นสมควร โดยให้ได้รับยกเว้นเพียงเท่าเงินอากรที่จะพึงเสียในขณะนำเข้าหักด้วยจำนวนเงินอากรที่คำนวณตามระยะเวลาที่ของนั้นอยู่ในประเทศ ในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของจำนวนอากรที่จะพึงต้องเสียในขณะนำเข้า ในการคำนวณให้นับเศษของเดือนเป็น 1 เดือน และจะต้องชำระอากรก่อนส่งกลับออกไป

5 ภาค 4 สิทธิของใช้ส่วนตัว (ของส่วนตัว)

5 ภาค 4 สิทธิของใช้ส่วนตัว (ของส่วนตัว)

  • ของส่วนตัว ที่เจ้าของนำเข้ามาพร้อมกับตนสำหรับใช้เองหรือใช้ในวิชาชีพ และมีจำนวนพอสมควรแก่ฐานะ ได้รับยกเว้นอากร เว้นแต่ รถยนต์ อาวุธปืนและกระสุนปืน และเสบียง

สุรา หรือ CIGARETTE หรือ CIGAR หรือยาเส้น ซึ่งเป็นของส่วนตัวที่ผู้เดินทางนำเข้ามาพร้อมกับตนนั้น ยกเว้นอากรให้ได้ แต่ต้องไม่เกินปริมาณ ดังนี้

  • CIGARETTE 200 มวน หรือ CIGAR หรือยาเส้น อย่างละ 250 กรัม หรือหลายชนิดรวมกันมีน้ำหนัก ทั้งหมด 250 กรัม แต่ทั้งนี้ CIGARETTE ต้องไม่เกิน 200 มวน

  • สุรา 1 ลิตร

  • ของส่วนตัวตามประเภทที่ 5 จะต้องนำเข้ามาถึงประเทศไทยไม่เกิน 1 เดือนก่อนที่ผู้นำของเข้ามาถึง หรือไม่เกิน 6 เดือนนับแต่วันที่ผู้นำของเข้าเข้ามาถึง อธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจขยายกำหนดเวลาที่กล่าวข้างต้นได้ เมื่อเห็นว่ามีพฤติการณ์พิเศษ

  • บุคคลซึ่งจะได้รับการพิจารณายกเว้นอากรของใช้ส่วนตัว ประเภทที่ 5 ภาค 4 ได้แก่ คนต่างด้าว หรือคนไทยที่เดินทางไปมาระหว่างประเทศไม่ว่าจะเป็นการชั่วคราว หรือเป็นการย้ายภูมิลำเนาแต่สิ่งของนั้นจะต้องมีจำนวนพอสมควรแก่ฐานะของบุคคลนั้นๆ ถ้ามีจำนวนมากมายเกินสมควร ก็จะยกเว้นค่าอากรให้ไม่ได้ จะต้องพิจารณาตามความเหมาะสมแก่ฐานะของบุคคลเป็นรายๆ ไป

  • ให้ผู้ได้รับยกเว้นอากรจัดทำและส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า โดยระบุค่าดังนี้

    • การสำแดงพิกัดศุลกากรและรหัสสถิติสินค้าให้สำแดงตรงกับชนิดของของที่นำเข้า
    • ระบุ Import Tariff = 5PART4 (ของส่วนตัวที่เจ้าของนำเข้ามาพร้อมกับตน)
    • ระบุ Privilege Code = ตามสิทธิ ณ ขณะนำเข้า
    • อัตราอากร ใช้ Tariff Code และ Tariff Sequence
    • อากร ยกเว้น (บันทึก Exemption Rate = 100%)
    • VAT ยกเว้น (บันทึก Exemption Rate = 100%)
  • ให้ยื่นคำร้องต่อหน่วยงานศุลกากร ณ ด่านศุลกากร ที่นำของเข้า โดยระบุเลขที่ใบขนสินค้าขาเข้าที่ของใช้สิทธิตามประเภท 5 ภาค 4 เพื่อตรวจสอบการใช้สิทธิในการยกเว้นอากรของใช้ส่วนตัว

  • การยกเว้นอากรของส่วนตัวที่ผู้โดยสารนำเข้ามาพร้อมกับตน ตามพิกัดประเภทที่ 5 ภาค 4 ไม่ต้องจัดทำใบขนสินค้าขาเข้า กรณี

    • ของส่วนตัวที่ผู้โดยสารถือติดตัวเข้ามาพร้อมกับตน (ACCOMPANIED BAGGAGE) จากต่างประเทศทางอากาศยาน มีราคาไม่เกิน 20,000 บาท ให้ได้รับยกเว้นอากร ทั้งนี้ ไม่รวมถึงของที่นำติดตัวเข้ามา แต่มีลักษณะเป็นสินค้าในเชิงการค้า แม้ราคาไม่เกิน 20,000 บาท ก็ตาม
    • สุรา หรือ CIGARETTE หรือ CIGAR หรือยาเส้น ซึ่งเป็นของส่วนตัวที่ผู้โดยสารถือติดตัวเข้ามาพร้อมกับตนให้ได้รับยกเว้นอากรต่อเมื่อไม่เกินปริมาณ ดังต่อไปนี้
      • CIGARETTE 200 มวน หรือ CIGAR หรือยาเส้น อย่างละ 250 กรัม หรือ หลายชนิดรวมกันมีน้ำหนักทั้งหมด 250 กรัม แต่ทั้งนี้ CIGARETTE ต้องไม่เกิน 200 มวน
      • สุรา 1 ลิตร

6 ภาค 4 สิทธิของใช้ส่วนตัว (ของใช้ในบ้านเรือนที่ใช้แล้ว)

6 ภาค 4 สิทธิของใช้ส่วนตัว (ของใช้ในบ้านเรือนที่ใช้แล้ว) ของใช้ในบ้านเรือนที่ใช้แล้ว ที่เจ้าของนำเข้ามาพร้อมกับตน เนื่องในการย้ายภูมิลำเนาและมีจำนวนพอสมควรแก่ฐานะ ได้รับยกเว้นอากร ของใช้ในบ้านเรือนตามประเภทที่ 6 จะต้องนำเข้ามาถึงประเทศไทยไม่เกิน 1 เดือนก่อนที่ผู้นำของเข้ามาถึง หรือไม่เกิน 6 เดือนนับแต่วันที่ผู้นำของเข้าเข้ามาถึง ให้ผู้ได้รับยกเว้นอากร จัดทำและส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า โดยระบุค่าดังนี้

  • การสำแดงพิกัดศุลกากรและรหัสสถิติสินค้าให้สำแดงตรงกับชนิดของของที่นำเข้า
  • ระบุ Import Tariff = 6PART4
  • ระบุ Privilege Code = ตามสิทธิ ณ ขณะนำเข้า
  • อัตราอากร ใช้ Tariff Code และ Tariff Sequence
  • อากร ยกเว้น (บันทึก Exemption Rate = 100%)
  • VAT ยกเว้น (บันทึก Exemption Rate = 100%)

7 ภาค 4 สิทธิของนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของอากาศยานหรือเรือ

7 ภาค 4 สิทธิของนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของอากาศยานหรือเรือ ของที่นำเข้ามาเพื่อใช้ซ่อมสร้างอากาศยานหรือเรือจะได้รับการยกเว้นอาการสำหรับส่วนประกอบ อุปกรณ์ประกอบ วัสดุที่นำเข้ามาเพื่อใช้ซ่อมหรือสร้างอากาศยาน หรือส่วนของอากาศยาน ให้ผู้ได้รับยกเว้นอากรจัดทำและส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า โดยระบุค่าดังนี้

  • การสำแดงพิกัดศุลกากรและรหัสสถิติสินค้าให้สำแดงตรงกับชนิดของของที่นำเข้า
  • ระบุ Import Tariff = 7PART4 (ของซ่อมสร้างอากาศยานหรือเรือ)
  • ระบุ Privilege Code = ตามสิทธิ ณ ขณะนำเข้า
  • อัตราอากร ใช้ Tariff Code และ Tariff Sequence
  • อากร ยกเว้น (บันทึก Exemption Rate = 100%)
  • VAT ยกเว้น (บันทึก Exemption Rate = 100%)

10 ภาค 4 ของที่ได้รับเอกสิทธิ์

10 ภาค 4 ของที่ได้รับเอกสิทธิ์ ของที่ได้รับเอกสิทธิ์ ตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ต่อองค์การสหประชาชาติ หรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือตามสัญญากับนานาประเทศ หรือทางการทูต ซึ่งได้ปฏิบัติต่อกันโดยอัธยาศัยไมตรี ได้รับยกเว้นอากร ให้ผู้ได้รับยกเว้นอากรจัดทำและส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า โดยระบุค่าดังนี้

  • การสำแดงพิกัดศุลกากรและรหัสสถิติสินค้าให้สำแดงตรงกับชนิดของของที่นำเข้า
  • ระบุ Import Tariff = 10PART4 (ของที่ได้รับเอกสิทธิ์)
  • ระบุ Privilege Code = ตามสิทธิ ณ ขณะนำเข้า
  • อัตราอากร ใช้ Tariff Code และ Tariff Sequence
  • อากร ยกเว้น (บันทึก Exemption Rate = 100%)
  • VAT ยกเว้น (บันทึก Exemption Rate = 100%)

กรณีจัดทำ คำร้องขอรับของไปก่อน แทนการจัดทำใบขนสินค้าขาเข้า

  1. กรณีมีความจำเป็นต้องนำออกไปจากอารักขาของศุลกากรโดยรีบด่วน
  2. ยังไม่สามารถดำเนินการเรื่องยกเว้นอากรได้แล้วเสร็จ
  3. ให้วางเงินสด หรือหนังสือค้ำประกันของธนาคาร หรือหนังสือของส่วนราชการเพื่อเป็นการประกันค่าภาษีอากร

ให้ผู้นำเข้าจัดทำและส่งข้อมูลคำร้องขอรับของไปก่อน โดยระบุค่าดังนี้

  • Document Type = 3 (คำร้องขอรับของไปก่อน)
  • การสำแดงพิกัดศุลกากรและรหัสสถิติสินค้าให้สำแดงตรงกับชนิดของของที่นำเข้า
  • ระบุ Import Tariff = 10PART4 (ของที่ได้รับเอกสิทธิ์)
  • ระบุ Privilege Code = ตามสิทธิ ณ ขณะนำเข้า
  • อัตราอากร ใช้ Tariff Code และ Tariff Sequence
  • การวางประกัน ให้บันทึกเงินวางประกันในช่อง Deposit Amount

11 ภาค 4 ของที่นำเข้ามาเพื่อบริจาค

11 ภาค 4 ของที่นำเข้ามาเพื่อบริจาค ของที่นำเข้ามาหรือส่งออกไปเพื่อบริจาคเป็นสาธารณกุศลแก่ประชาชนโดยผ่านส่วนราชการหรือองค์การสาธารณกุศล (ยกเว้นรถยนต์) ได้รับยกเว้นอากร ให้ผู้ได้รับยกเว้นอากรจัดทำและส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า โดยระบุค่าดังนี้

  • การสำแดงพิกัดศุลกากรและรหัสสถิติสินค้าให้สำแดงตรงกับชนิดของของที่นำเข้า
  • ระบุ Import Tariff = 11PART4 (ของบริจาค)
  • ระบุ Privilege Code = ตามสิทธิ ณ ขณะนำเข้า
  • อัตราอากร ใช้ Tariff Code และ Tariff Sequence
  • อากร ยกเว้น (บันทึก Exemption Rate = 100%)
  • VAT ยกเว้น (บันทึก Exemption Rate = 100%)
  • ระบุ Permit No = เลขที่ขอยกเว้นอากร ที่ได้รับ

กรณีจัดทำคำร้องขอรับของไปก่อน แทนการจัดทำใบขนสินค้าขาเข้า

  1. กรณีมีความจำเป็นต้องนำออกไปจากอารักขาของศุลกากรโดยรีบด่วน
  2. ยังไม่สามารถดำเนินการเรื่องยกเว้นอากรได้แล้วเสร็จ
  3. ให้วางเงินสด หรือหนังสือค้ำประกันของธนาคาร หรือหนังสือของส่วนราชการเพื่อเป็นการประกันค่าภาษีอากร

ให้ผู้นำเข้าจัดทำและส่งข้อมูลคำร้องขอรับของไปก่อน โดยระบุค่าดังนี้

  • Document Type = 3 (คำร้องขอรับของไปก่อน)
  • การสำแดงพิกัดศุลกากรและรหัสสถิติสินค้าให้สำแดงตรงกับชนิดของของที่นำเข้า
  • ระบุ Import Tariff = 11PART4 (ของบริจาค)
  • ระบุ Privilege Code = ตามสิทธิ ณ ขณะนำเข้า
  • อัตราอากร ใช้ Tariff Code และ Tariff Sequence
  • การวางประกัน ให้บันทึกเงินวางประกันในช่อง Deposit Amount

13 ภาค 4 ยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในราชการ

ให้ผู้ได้รับยกเว้นอากรจัดทำและส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า โดยระบุค่าดังนี้

  • การสำแดงพิกัดศุลกากรและรหัสสถิติสินค้าให้สำแดงตรงกับชนิดของของที่นำเข้า
  • ระบุ Import Tariff = 13PART4 (ยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในราชการ)
  • ระบุ Privilege Code = ตามสิทธิ ณ ขณะนำเข้า
  • อัตราอากร ใช้ Tariff Code และ Tariff Sequence
  • อากร ยกเว้น (บันทึก Exemption Rate = 100%)
  • VAT ยกเว้น (บันทึก Exemption Rate = 100%)

กรณีจัดทำคำร้องขอรับของไปก่อน แทนการจัดทำใบขนสินค้าขาเข้า

  1. กรณีมีความจำเป็นต้องนำออกไปจากอารักขาของศุลกากรโดยรีบด่วน
  2. ยังไม่สามารถดำเนินการเรื่องยกเว้นอากรได้แล้วเสร็จ
  3. ให้วางเงินสด หรือหนังสือค้ำประกันของธนาคาร หรือหนังสือของส่วนราชการเพื่อเป็นการประกันค่าภาษีอากร

ให้ผู้นำเข้าจัดทำและส่งข้อมูลคำร้องขอรับของไปก่อน โดยระบุค่าดังนี้

  • Document Type = 3 (คำร้องขอรับของไปก่อน)
  • การสำแดงพิกัดศุลกากรและรหัสสถิติสินค้าให้สำแดงตรงกับชนิดของของที่นำเข้า
  • ระบุ Import Tariff = 13PART4 (ยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในราชการ)
  • ระบุ Privilege Code = ตามสิทธิ ณ ขณะนำเข้า
  • อัตราอากร ใช้ Tariff Code และ Tariff Sequence
  • การวางประกัน ให้บันทึกเงินวางประกันในช่อง Deposit Amount

14 ภาค 4 ตัวอย่างสินค้า

ให้ผู้ได้รับยกเว้นอากรจัดทำและส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า โดยระบุค่าดังนี้

  • การสำแดงพิกัดศุลกากรและรหัสสถิติสินค้าให้สำแดงตรงกับชนิดของของที่นำเข้า
  • ระบุ Privilege Code = ตามสิทธิ ณ ขณะนำเข้า
  • อัตราอากร ใช้ Tariff Code และ Tariff Sequence
  • อากร ยกเว้น (บันทึก Exemption Rate = 100%)
  • VAT ยกเว้น (บันทึก Exemption Rate = 100%)

16 ภาค 4 นำเข้ามาสำหรับคนพิการ

16 ภาค 4 นำเข้ามาสำหรับคนพิการ ของที่นำเข้ามาสำหรับคนพิการใช้โดยเฉพาะ หรือใช้ในกรณีฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ได้รับยกเว้นอากร ให้ผู้ได้รับยกเว้นอากรจัดทำและส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า โดยระบุค่าดังนี้

  • การสำแดงพิกัดศุลกากรและรหัสสถิติสินค้าให้สำแดงตรงกับชนิดของของที่นำเข้า
  • ระบุ Import Tariff = 16PART4 ของที่นำเข้ามาสำหรับคนพิการ
  • ระบุ Privilege Code = ตามสิทธิ ณ ขณะนำเข้า
  • อัตราอากร ใช้ Tariff Code และ Tariff Sequence
  • อากร ยกเว้น (บันทึก Exemption Rate = 100%)
  • VAT ยกเว้น (บันทึก Exemption Rate = 100%)

17 ภาค 4 การประชุมระหว่างประเทศ

17 ภาค 4 การประชุมระหว่างประเทศ การยกเว้นอากรสำหรับของที่นำเข้ามา เพื่อใช้ในการประชุมระหว่างประเทศ โดยได้รับยกเว้นอากรให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้

  1. เป็นของที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการประชุมระหว่างประเทศ ซึ่งจัดขึ้นโดยหน่วยงานของรัฐบาลไทย หรือของรัฐบาลต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศที่รัฐบาลไทยได้รับรอง หรือโดยหน่วยงานของเอกชนที่การประชุมนั้น เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาทางเศรษฐกิจ ทางสังคม หรือทางเทคโนโลยีของประเทศ
  2. เป็นของจำเป็นที่ใช้ในการประชุม ได้แก่ แฟ้มเอกสาร เอกสาร สื่อบันทึกข้อมูล แบบพิมพ์ ของที่ระลึกที่มีมูลค่าแต่ละชิ้นเพียงเล็กน้อย เป็นต้น ซึ่งของต้องจัดทำจนเห็นได้ว่าเป็นของที่นำเข้าเพื่อแจกจ่ายแก่ผู้เข้าร่วมประชุม
  3. เป็นของซึ่งเตรียมมาโดยเฉพาะสำหรับใช้หมดสิ้นไปในการประชุม เช่น วัสดุที่ใช้ใน การแสดง หรือทดลองประกอบการประชุม และมีปริมาณพอสมควร
  4. ของอื่น ๆ นอกเหนือที่ระบุไว้ในข้อ (ข) และ (ค) ต้องส่งกลับออกไปภายใน 3 เดือนนับแต่วันนำเข้า โดยผู้นำของเข้าต้องทำสัญญาไว้ต่อกรมศุลกากรตามเงื่อนไขที่กำหนด

ให้ผู้ได้รับยกเว้นอากรจัดทำและส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า โดยระบุค่าดังนี้

  • การสำแดงพิกัดศุลกากรและรหัสสถิติสินค้าให้สำแดงตรงกับชนิดของของที่นำเข้า
  • ระบุ Import Tariff = 17PART4 ของที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการประชุมระหว่างประเทศ
  • ระบุ Privilege Code = ตามสิทธิ ณ ขณะนำเข้า
  • อัตราอากร ใช้ Tariff Code และ Tariff Sequence
  • อากร ยกเว้น (บันทึก Exemption Rate = 100%)
  • VAT ยกเว้น (บันทึก Exemption Rate = 100%)

ขอใช้สิทธินำเข้าเครื่องมือ เครื่องใช้ วัสดุอุปกรณ์ในการขุดเจาะน้ำมัน โดยขอยกเว้นอากรตาม พรบ.ปิโตรเลียม (กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ)

การจัดทำข้อมูลคำร้องขอรับของไปก่อน โดยขอยกเว้นอากรตาม พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.2514

  • บันทึก Document Type = 3 (คำร้องขอรับของไปก่อน)
  • บันทึก Privilege Code = 005 (สำหรับรายการที่รอการยกเว้นอากร)
  • บันทึกอัตราอากรใช้ที่ลดหย่อนเป็นการทั่วไป (Privilege Code = 000 เท่านั้น)
  • อากร ยกเว้น (บันทึก Exemption Rate = 100%)
  • VAT ยกเว้น (บันทึก Exemption Rate = 100%)