ผู้ประกอบการ

องค์กรหรือบริษัทที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทาน รวมถึง ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ตัวแทนออกของ ผู้ขนส่ง ผู้รวบรวมสินค้า ท่าเรือ ท่าอากาศยาน ผู้ประกอบการกิจการท่ารถ เจ้าของโรงพักสินค้า ตัวแทนจำหน่ายสินค้า เป็นต้น

โซ่อุปทาน หรือ ห่วงโซ่อุปทาน หรือ เครือข่ายโลจิสติกส์ คือ การใช้ระบบของหน่วยงาน คน เทคโนโลยี กิจกรรม ข้อมูลข่าวสาร และทรัพยากร มาประยุกต์เข้าด้วยกัน เพื่อการเคลื่อนย้ายสินค้าหรือบริการ จากผู้จัดหาไปยังลูกค้า กิจกรรมของห่วงโซ่อุปทานจะแปรสภาพทรัพยากรธรรมชาติ วัตถุดิบ และวัสดุอื่นๆให้กลายเป็นสินค้าสำเร็จ แล้วส่งไปจนถึงลูกค้าคนสุดท้าย (ผู้บริโภค หรือ End Customer) ในเชิงปรัชญาของโซ่อุปทานนั้น วัสดุที่ถูกใช้แล้ว อาจจะถูกนำกลับมาใช้ใหม่ที่จุดไหนของห่วงโซ่อุปทานก็ได้ ถ้าวัสดุนั้นเป็นวัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Recyclable Materials) โซ่อุปทานมีความเกี่ยวข้องกับห่วงโซ่คุณค่า

โดยทั่วไปแล้ว จุดเริ่มต้นของห่วงโซ่มักจะมาจากทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรทางชีววิทยาหรือนิเวศวิทยา ผ่านกระบวนการแปรรูปโดยมนุษย์ผ่านกระบวนการสกัด และการผลิตที่เกี่ยวข้อง เช่น การก่อโครงร่าง, การประกอบ หรือการรวมเข้าด้วยกัน ก่อนจะถูกส่งไปยังโกดัง หรือคลังวัสดุ โดยทุกครั้งที่มีการเคลื่อนย้าย ปริมาณของสินค้าก็จะลดลงทุกๆครั้ง และไกลกว่าจุดกำเนิดของมัน และท้ายที่สุด ก็ถูกส่งไปถึงมือผู้บริโภค

การแลกเปลี่ยนแต่ละครั้งในห่วงโซ่อุปทาน มักจะเกิดขึ้นระหว่างบริษัทต่อบริษัท ที่ต้องการเพิ่มผลประกอบการ ภายใต้สภาวะที่พวกเขาสนใจ แต่ก็อาจจะมีความรู้น้อยนิด/ไม่มีเลย เกี่ยวกับบริษัทอื่นๆในระบบ ปัจจุบันนี้ ได้เกิดบริษัทจำพวกบริษัทลูก ที่แยกออกมาเป็นเอกเทศจากบริษัทแม่ มีจุดประสงค์ในการสรรหาทรัพยากรมาป้อนให้บริษัทแม่

Content

  • ผู้นำเข้า-ส่งออก

    การลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกกับกรมศุลกากร ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะปฏิบัติพิธีการศุลกากรหรือดำเนินการในกระบวนการทางศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ จำเป็นต้องมาลงทะเบียนกับศุลกากร เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับการใช้งานระบบต่าง ๆ ของกรมศุลกากรได้ โดยสามารถดำเนินการได้ 3 ช่องทาง ดังนี้ ลงทะเบียนผ่านระบบลงทะเบียนผู้มาติดต่อออนไลน์ทางอินเทอร์เน็ต (Online Customs Registration) หรือ ลงทะเบียนผ่านระบบลงทะเบียนผู้มาติดต่อออนไลน์ทาง Customs Trader Portal (เปิดให้บริการระยะแรกสำหรับผู้ลงทะเบียนที่เป็นบุคคลธรรมดา สัญชาติไทย ที่ยังไม่เคยลงทะเบียนกับกรมศุลกากรเท่านั้น) ลงทะเบียน ณ หน่วยบริการรับลงทะเบียนของกรมศุลกากร ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศกรมศุลกากรที่ 94/.2564 เรื่อง การลงทะเบียนผู้ปฏิบัติพิธีการศุลกากรหรือดำเนินการในกระบวนการทางศุลกากร การระงับการใช้ข้อมูลทะเบียน ระบบทะเบียนผู้มาติดต่อจะระงับการใช้ข้อมูลทะเบียน จากเหตุที่ไม่มีการปฏิบัติพิธีการศุลกากรหรือดําเนินการในกระบวนการทางศุลกากร (ตามประกาศกรมศุลกากรที่ 64/.2561) ดังนี้ กรณีบุคคลธรรมดา เมื่อไม่มีการปฏิบัติพิธีการศุลกากรหรือดําเนินการในกระบวนการทางศุลกากรติดต่อกันเป็นเวลา 6 เดือน กรณีนิติบุคคล เมื่อไม่มีการปฏิบัติพิธีการศุลกากรหรือดําเนินการในกระบวนการทางศุลกากรติดต่อกันเป็นเวลา 2 ปี เมื่อผู้ลงทะเบียนถูกระงับการใช้ข้อมูลทะเบียนตามวรรคหนึ่ง จะไม่สามารถปฏิบัติพิธีการศุลกากรหรือดําเนินการในกระบวนการทางศุลกากรได้ จนกว่าจะแจ้งขอใช้ข้อมูลทะเบียนใหม่

  • ตัวแทนออกที่จะหมดอายุในปี พ.ศ. 2566

    กรมศุลกากรเผยแพร่ข้อมูล รายชื่อตัวแทนออกของและผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการออกของ ที่จะหมดอายุในปี พ.ศ. 2566 เพื่อใช้ในการตรวจสอบและเตรียมความพร้อมในการต่ออายุ เพื่อความต่อเนื่องในการปฏิบัติงาน

  • ตัวแทนออกของ

    “ตัวแทนออกของ” หมายความถึง ผู้รับมอบอำนาจจากผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออก หรือผู้นำของผ่านแดน หรือผู้ขอถ่ายลำ เพื่อปฏิบัติพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดา

  • ผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอ

    สืบเนื่องจากเหตุการณ์ก่อการร้ายเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 (เหตุการณ์ 9 /11) ทำให้องค์การศุลกากรโลก (World Customs Organization:WCO) ตระหนักถึงระบบความปลอดภัยทางโลจิสติกส์และการค้าระหว่างประเทศ โดยให้ความสำคัญในกระบวนการรักษาความปลอดภัยตั้งแต่ต้นทางของการขนส่ง จึงได้กำหนดกรอบมาตรฐานในการรักษาความปลอดภัย และการอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างประเทศ เรียกว่า SAFE Framework of Standards to Secure and Facilitate Global Trade (WCO SAFE FoS)

.

ที่มาบทความ : Wikipedia