FAQ

คำถามที่พบบ่อย


การนำเข้าสินค้า


คำตอบ :

  1. ของใช้ส่วนตัว หมายถึง ของอันเป็นสมบัติส่วนตัวของผู้เดินทางเข้ามาใน หรือออกไปนอก ราชอาณาจักร นำติดตัวเข้ามาใน หรือออกไปพร้อมกับตน หรือส่งเข้ามาก่อนหรือส่งตามเข้ามาภายหลังที่ ผู้เดินทางเข้ามาถึงภายในระยะเวลากำหนด ไม่ว่าของนั้นจะเป็นของใช้ส่วนตัวหรือของใช้ในบ้านเรือนก็ตาม แต่ไม่รวมถึงของซึ่งบุคคลซึ่งอยู่ในราชอาณาจักร สั่งเข้ามาใช้เองหรือของที่ส่งจากนอกราชอาณาจักรเข้ามาให้กันเป็นของขวัญของฝาก
  2. ของใช้ในบ้านเรือน หมายถึง ของใช้ในบ้านเรือนที่ใช้แล้วที่เจ้าของนำเข้ามาพร้อมกับตน เนื่องในการย้ายภูมิลำเนา และมีจำนวนเหมาะสมแก่ฐานะได้รับการยกเว้นอากร โดยของนั้นต้องเป็นของเก่าใช้แล้ว ไม่มีลักษณะทางการค้า ของใช้ในบ้านเรือนที่ใช้แล้ว เช่น ตู้เย็น พัดลม เครื่องรับวิทยุกระจายเสียง เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเล่นวีดีโอเทป เครื่องซักผ้า โต๊ะ เก้าอี้ เตียงนอน และตู้ เป็นต้น

ทั้งนี้ รถยนต์ อาวุธปืนและกระสุนปืน เสบียง เครื่องดนตรี เครื่องกีฬาและอุปกรณ์กีฬา ไม่ได้รับการยกเว้นอากร

ที่มา : กรมศุลกากร
วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 25 กันยายน 2563



คำตอบ :

  • สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์กรมศุลกากร ระบบ e-tracking
  • ไปที่เมนู “Vessel”

  • ใส่รายละเอียดที่ต้องการในแต่ละช่อง แล้วกด “search” ดังตัวอย่าง

ที่มา : กรมศุลกากร
วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 22 กุมภาพันธ์ 2562



คำตอบ :

ศบ. ย่อมาจาก ศุลกากรทางบก เป็นแบบรายงานยานพาหนะและสินค้าที่บรรทุกมาในยานพาหนะนั้นๆ เทียบได้กับ บัญชีสินค้าสำหรับเรือ (Manifest) ปัจจุบันสามารถส่งได้ทั้งอิเล็กทรอนิกส์ หรือ มายื่นเป็นกระดาษกับเจ้าหน้าที่ที่ด่านพรมแดน เมื่อผ่านด่านพรมแดนจะได้เลขที่บัญชีสินค้าทางบก เป็นเลข 17 หลัก ต้องเอาไปใส่ในช่องเลขที่ใบตราส่งในใบขนสินค้าขาเข้า เช่น รถยนต์หมายเลข 11111 ขนส่งของมาทั้งหมด 2 ราย

  1. นาย ก ผ้า 5 กล่อง น้ำหนัก 100 กก.
  2. นาย ข. เสื้อ 20 กล่อง น้ำหนัก 2000 กก.

ยื่น ศบ.1 ที่ด่านพรมแดน ได้เลขที่ 5141 02 11 100000215

รหัสด่าน ปี เดือน เลขลำดับของแต่ละเดือน
5141 02 11 100000215

ในการทำใบขนฯจะแยกยื่นเป็นของแต่ละคน ของนาย ก. จะนำเลข 17 หลักไปใส่ในช่อง Master Bill of Lading นำรายการที่ 1 ไปใสในช่อง House Bill of Lading ปกติ ถ้าใน ศบ. มีรายการเดียว จะทำใบขนฯ 1 ฉบับ ตามจำนวนของที่บรรทุกมา แต่เนื่องจากมีของบางอย่างนำเข้าหลายเที่ยวในวันเดียวกัน และประสงค์จะขอทำใบขนฯรวมฉบับเดียว หรือ เป็นของที่นำเข้าหลายวันเนื่องจากไม่สามารถมาในวันเดียวกันได้ เช่น สินค้าเกษตร กรมศุลกากรอนุญาตให้ทำใบขนสินค้าใบเดียวได้ต่อเมื่อเป็นของไม่มีอากร และ VAT โดย ดำเนินการ ดังนี้

  1. กรณีรถทุกคันมาถึงด่านศุลกากรทั้งหมด รถแต่ละคันที่มาถึงด่านพรมแดน ต้องยื่น ศบ. ของแต่ละคัน แล้วรวมจำนวนของโดยทำใบขนฯใช้เลข ศบ.1 เที่ยวแรก วันนำเข้าตามรถเที่ยวแรก และศุลกากรจะเป็นผู้ดำเนินการรวม ศบ. ของทุกคันในใบขนฯ โดยนำเลขที่ ศบ. และ เลขทะเบียนรถทุกคันมาบันทึกในใบขนฯ เรียกว่า รวม ศบ. จากนั้น หากเป็นของที่ต้องมีใบอนุญาต ต้องไปติดต่อหน่วยงานที่กำกับเรื่องใบอนุญาตเพื่อส่งข้อมูลเข้ามาในระบบใบอนุญาต แล้วจึงจะไปชำระค่าภาษีอากร และตรวจปล่อยของไปจากศุลกากร
  2. กรณีรถมาหลายวัน และ จะขอทำใบขนฯใบเดียวและขอตรวจปล่อยตามรถแต่ละคัน เรียกว่า ตรวจปล่อยบางส่วน (Partly) ซึ่งเป็นอำนาจของ นายด่านฯที่จะอนุมัติให้ตรวจปล่อยเป็นบางส่วนไปก่อนก็ได้ โดยไม่ต้องรอรถทั้งหมดที่ทยอยมา ปัจจุบันใช้กับของที่ได้รับสิทธิไม่ต้องชำระอากรและภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น สินค้าเกษตร

เมื่อรถคันแรกมาถึง จะใช้เลข ศบ. ของรถคันแรกทำใบขนฯตามจำนวนทั้งหมดที่จะนำเข้าและใช้วันนำเข้าตามรถเที่ยวแรก และ ผู้นำเข้ายื่นคำขอตรวจปล่อยบางส่วน เมื่อได้รับอนุมัติจะมีการตรวจปล่อยสินค้าแต่ละเที่ยว จนกว่ารถทั้งหมดจะมาครบ ในขั้นตอนต่อไปจะดำเนินการเหมือนรถมาพร้อมกันในวันเดียวกัน ใบขนสินค้าจะสมบูรณ์ในวันสุดท้าย แต่เนื่องจากเป็นของที่ไม่มีค่าภาษีอากรจึงไม่มีข้อกังวลใดๆ

ที่มา : กรมศุลกากร
วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 8 สิงหาคม 2562



คำตอบ :

พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 ภาค 4 ประเภท 1 บัญญัติให้ยกเว้นอากรขาเข้ากับสินค้านำเข้าที่พิสูจน์ได้ว่า เป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักรและไม่ได้ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรใดๆที่ได้ส่งออกไปต่างประเทศและนำกลับเข้ามาโดยไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะหรือรูป หรือเป็นสินค้าต่างประเทศ ที่ได้เคยนำเข้ามาในประเทศไทย และชำระค่าภาษีอากร และได้ส่งออกไปต่างประเทศ โดยไม่ได้ขอคืนอากรขาเข้า และได้นำกลับเข้ามา โดยไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะหรือรูปร่าง ดังนั้นหากสินค้าของท่าน เป็นไปตามข้อกำหนดดังกล่าว โดยสามารถพิสูจน์ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่กรมศุลกากรกำหนด การนำกลับเข้ามาขายในประเทศ จะไม่ต้องเสียภาษีอากรขาเข้า แต่หากไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ของนั้นต้องชำระค่าภาษีอากร

ที่มา : กรมศุลกากร
วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 8 สิงหาคม 2562



คำตอบ :

  • การนำเข้าเครื่องสำอางสำเร็จรูปเพื่อขาย ต้องจดแจ้งรายละเอียดของเครื่องสำอางกับ อย.
  • การนำเข้าเครื่องสำอางสำเร็จรูปที่ไม่ใช่เพื่อขาย หากมีการนำเข้ารายการละไม่เกิน 6 ชิ้น ให้ถือว่า เป็นการนำเข้ามาในราชอาณาจักรที่อยู่ในอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ด่านนำเข้า ที่จะพิจารณาให้นำเข้าได้ โดยไม่ต้องแจ้งการนำเข้าต่อ อย. (นายด่านศุลกากรเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ด่านนำเข้า ตามประกาศกระทรวงสาธารณะสุข เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558)

ที่มา : กรมศุลกากร
วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 25 กันยายน 2563



คำตอบ :

  • การนำเข้าอาหารเพื่อจำหน่ายจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาตก่อนการนำเข้า ตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
  • การนำเข้าอาหารเพื่อบริโภคส่วนตัวทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ หรือการนำติดตัวเข้ามา สามารถทำได้โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตนำเข้า แต่ต้องอยู่ในเงื่อนไขดังนี้
  1. ต้องไม่เข้าข่ายอาหารที่ห้ามนำเข้าตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดอาหาร
    ที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย
  2. จำนวนตามที่สำนักด่านอาหารและยากำหนดว่าเป็นปริมาณอาหารเพื่อบริโภคเฉพาะตน ไม่ถือเป็นการนำเข้าเพื่อจำหน่าย คืออาหารไม่เกินจำนวนที่บริโภคได้ 30 วัน และไม่เกิน 30 กิโลกรัม หรือ 10 ลิตร อย่างไรก็ตาม พนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะพิจารณาตามลักษณะของผลิตภัณฑ์ประกอบกับข้อเท็จจริงในการนำเข้า

ที่มา : กรมศุลกากร
วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 25 กันยายน 2563



คำตอบ :

  • การนำเข้าอาหารเพื่อจำหน่ายจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาตก่อนการนำเข้า ตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
  • การนำเข้าอาหารเพื่อบริโภคส่วนตัวทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ หรือการนำติดตัวเข้ามา สามารถทำได้โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตนำเข้า แต่ต้องอยู่ในเงื่อนไขดังนี้
  1. ต้องไม่เข้าข่ายอาหารที่ห้ามนำเข้าตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดอาหาร
    ที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย
  2. จำนวนตามที่สำนักด่านอาหารและยากำหนดว่าเป็นปริมาณอาหารเพื่อบริโภคเฉพาะตน ไม่ถือเป็นการนำเข้าเพื่อจำหน่าย คืออาหารไม่เกินจำนวนที่บริโภคได้ 30 วัน และไม่เกิน 30 กิโลกรัม หรือ 10 ลิตร อย่างไรก็ตาม พนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะพิจารณาตามลักษณะของผลิตภัณฑ์ประกอบกับข้อเท็จจริงในการนำเข้า

ที่มา : กรมศุลกากร วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 25 กันยายน 2563



คำตอบ :

ให้ระบุราคาขายปลีกแนะนำ ตามแบบแจ้งราคาขายปลีกแนะนำ (ภส.02-01) ในช่อง Deducted Amount ยกเว้นกรณี

  • กรณีที่อัตราภาษีสรรพสามิตกำหนดอัตราภาษีตามปริมาณเพียงอย่างเดียว ให้ระบุ 0.1
  • กรณีของนำเข้าคลังสินค้าทัณฑ์บน เขตปลอดอากร เขตประกอบการเสรี และของที่ได้รับยกเว้นอากรตามภาค 4รวมทั้งของที่โอนย้ายระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บน เขตปลอดอากร เขตประกอบการเสรีให้ระบุ 0.2.

ที่มา : กรมสรรพสามิต



คำตอบ :

ที่มา : กรมศุลกากร
วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 29 พฤศจิกายน 2566

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ศูนย์บริการศุลกากร อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา ชั้น 1
หมายเลขโทรศัพท์ : 1164
อีเมล์ : 1164@customs.go.th





การส่งออกสินค้า


คำตอบ :

ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการศุลกากร

  1. ผู้ส่งออกหรือตัวแทนฯ จัดทําใบขนสินค้าขาออก พร้อมเอกสารประกอบอื่น เช่น บัญชีสินค้า (ศ.บ. 3) และใบกํากับการขนย้ายสินค้า พร้อมส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาออกเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร
  2. ผู้นําเข้าหรือตัวแทนฯ ชําระค่าภาษีอากร (กรณีสินค้าต้องชําระภาษีอากร) ที่หน่วยงานบัญชีและอากรของด่านศุลกากร
  3. ชําระค่าภาษีแล้วระบบคอมพิวเตอร์จะกําหนดเงื่อนไขการตรวจปล่อย ชื่อเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ตรวจปล่อย
  4. กรณียกเว้นการตรวจ (Green Line) ผู้ส่งออกหรือตัวแทนสามารถนําสินค้าไปผ่านพิธีการที่ด่านพรมแดนหรือด่านตรวจเพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักรต่อไป
  5. กรณีสั่งเปิดตรวจ (Red Line) เจ้าหน้าที่จะดําเนินการตรวจสอบความถูกต้อง ของสินค้ากับใบขนสินค้าในระบบคอมพิวเตอร์ ถ้าถูกต้องตามสําแดง จะนําสินค้าไปผ่านพิธีการที่ด่านพรมแดน หรือด่านตรวจเพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักรต่อไป
  6. ผู้ส่งออกหรือตัวแทนยื่นใบกํากับสินค้าต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรที่ประจําอยู่ ณ ด่านพรมแดนเพื่อตรวจสอบ เจ้าหน้าที่ศุลกากรประจําด่านพรมแดนจะตรวจสอบจํานวนสินค้าที่ส่งออกว่าถูกต้องตรงตามใบขนสินค้าขาออกในระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรหรือไม่ และได้ปฏิบัติพิธีการศุลกากรว่าด้วยการส่งออกครบถ้วนหรือไม่ เมื่อเห็นว่าถูกต้อง ก็ให้อนุญาตให้ผ่านด่านพรมแดนไปได้ และให้บันทึกการรับบรรทุกในระบบ คอมพิวเตอร์ของศุลกากร ใบกํากับการขนย้ายสินค้าให้เก็บไว้ เพื่อเป็นหลักฐานในการตรวจสอบต่อไป

การผ่านพิธีการส่งออกของที่มีปริมาณเล็กน้อยตามแนวชายแดน

การผ่านพิธีการศุลกากรเพื่อส่งออกของที่มีปริมาณเล็กน้อยตามแนวชายแดน ณ ด่านพรมแดนหรือจุดผ่านแดนถาวร หรือจุดผ่านแดนชั่วคราว หรือจุดผ่อนปรนทางการค้า ให้ผู้ส่งของออกยื่นใบแจ้งรายละเอียดสินค้าขาออก (กศก.153) พร้อมสําเนา 1 ฉบับ ต่อพนักงานศุลกากร ณ ด่านพรมแดน หรือจุดผ่านแดนถาวรหรือจุดผ่านแดนชั่วคราว หรือจุดผ่อนปรนทางการค้า เพื่อให้พนักงานศุลกากรตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วน ของของที่ส่งออกให้ตรงตามที่สําแดง และบันทึกรับรองการส่งออกเพื่อเป็นหลักฐานให้กับผู้ส่งของออกในการดําเนินการเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มต่อกรมสรรพากร โดยของที่ส่งออกจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้

  1. มีมูลค่าไม่เกิน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน)
  2. ไม่เป็นของที่ต้องเสียภาษีอากร ของต้องห้าม หรือต้องกํากัดในการส่งออกตามกฎหมาย
  3. ไม่ได้ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรภายใต้กฎหมายศุลกากร หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องเว้นแต่ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ที่มา : คลังข้อมูลทางการค้าของไทย วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 11-01-2024



คำตอบ :

  1. แบบกศก 101/1 ใบขนสินค้าขาออก ใช้สำหรับส่งออกในกรณีดังต่อไปนี้
    • การส่งออกสินค้าทั่วไป
    • การส่งออกของส่วนบุคคลและเอกสิทธิ์
    • การส่งออกสินค้าจากคลังสินค้าทัณฑ์บน
    • การส่งออกสินค้าที่ขอชดเชยค่าภาษีอากร
    • การส่งออกสินค้าที่ขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ
    • การส่งออกสินค้าที่ต้องการใบสุทธินำกลับ
    • การส่งออกสินค้ากลับออกไป (RE-EXPORT)
  2. แบบ A.T.A. Carnet ใบขนสินค้าสำหรับนำของเข้าหรือส่งของออกชั่วคราว ใช้สำหรับพิธีการส่งออกชั่วคราวในลักษณะที่กำหนดในอนุสัญญา
  3. ใบขนสินค้าพิเศษสำหรับรถยนต์และจักรยานยนต์นำเข้าหรือส่งออกชั่วคราว ใช้สำหรับการส่งออกรถยนต์ และจักรยานยนต์ชั่วคราว

ที่มา : คลังข้อมูลทางการค้าของไทย
วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 11-01-2024



คำตอบ :

  1. ต้องลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรกับกรมฯ
  2. เมื่อพร้อมที่จะส่งสินค้าออกต้องเตรียมเอกสารที่ใช้ในการส่งออกเช่น บัญชีราคาสินค้า,หนังสืออนุญาต , หลักฐานการได้รับสิทธิ์พิเศษต่าง ๆ และส่งข้อมูลของเอกสารต่างๆเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมฯ โดยอาจใช้ตัวแทนออกของ หรือ ใช้บริการ Counter Service หรือ ให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรบันทึกข้อมูลให้
  3. ระบบจะตรวจสอบข้อมูลหากถูกต้องก็จะออกเลขที่ใบขนสินค้าให้ สามารถพิมพ์ออกมาใช้เป็นเอกสารในการส่งออก ณ ท่าที่ประสงค์จะส่งสินค้าออกไปต่างประเทศในขั้นตอนการตรวจปล่อยต่อไป

ที่มา : กรมศุลกากร
วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 5 มิถุนายน 2561





พิธีการศุลกากร


คำตอบ :

พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 ภาค 4 ประเภท 1 บัญญัติให้ยกเว้นอากรขาเข้ากับสินค้านำเข้าที่พิสูจน์ได้ว่า เป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักรและไม่ได้ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรใดๆที่ได้ส่งออกไปต่างประเทศและนำกลับเข้ามาโดยไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะหรือรูป หรือ เป็นสินค้าต่างประเทศที่ได้เคยนำเข้ามาในประเทศไทยและชำระค่าภาษีอากรและได้ส่งออกไปต่างประเทศโดยไม่ได้ขอคืนอากรขาเข้า และได้นำกลับเข้ามาโดยไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะหรือรูปร่าง ดังนั้นหากสินค้าของท่านเป็นไปตามข้อกำหนดดังกล่าว โดยสามารถพิสูจน์ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่กรมศุลกากรกำหนด การนำกลับเข้ามาขายในประเทศจะไม่ต้องเสียภาษีอากรขาเข้า แต่หากไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ของนั้นต้องชำระค่าภาษีอากร

  • ที่มา : กรมศุลกากร
  • วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 5 มิถุนายน 2561



คำตอบ :

ราคา CIF มีเงื่อนไขการส่งมอบคือผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้าเมื่อสินค้าวางบนเรือ ณ ต้นทาง และผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบในการทําพิธีการส่งออก รวมทั้งทำสัญญาการขนส่ง จ่ายค่าระวางเรือ และค่าประกันภัย เพื่อคุ้มครองความเสี่ยงต่อความสูญหายหรือเสียหายของสินค้าระหว่างการขนส่งสินค้าจนถึงท่าเรือปลายทางที่ระบุ

ราคา FOB มีเงื่อนไขการส่งมอบคือผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบเมื่อสินค้าวางบนสินค้า ณ ท่าเรือต้นทาง ผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบการทําพิธีการส่งออก ผู้ซื้อจะรับภาระในการทำสัญญาการขนส่ง จ่ายค่าระวางเรือ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ รวมทั้งค่าประกันภัยเพื่อคุ้มครองความเสี่ยงต่อความเสียหายของสินค้าจากจุดส่งมอบ (ท่าเรือต้นทาง)

ตามกฎหมายศุลกากรบัญญัติว่า ราคาศุลกากรสำหรับของที่นำเข้าต้องรวมค่าประกันภัย ค่าขนส่ง ค่าขนของลง ค่าขนของขึ้น และ ค่าจัดการต่างๆที่เกี่ยวกับการขนส่งของมา ยังท่า หรือที่หรือสนามบินศุลกากร ที่นำเข้า ดังนั้น กรณีราคาที่ตกลงซื้อขายกัน เป็นเงื่อนไขที่ไม่ได้รวมค่าใช้จ่ายข้างต้นเหล่านั้นไว้ เมื่อจะสำแดงราคาของที่นำเข้าในใบขนสินค้า จำเป็นที่จะต้องปรับราคานั้นๆให้เป็นราคา CIF

กฎหมายศุลกากรให้อำนาจอธิบดีกรมศุลกากรในการออกประกาศกำหนดมูลค่าที่เกี่ยวกับค่าประกันภัย ค่าขนส่ง ค่าขนของลง ค่าขนของขึ้น และ ค่าจัดการต่างๆที่เกี่ยวกับการขนส่งของมายังท่า หรือที่ หรือสนามบินศุลกากร ที่นำเข้า อธิบดีกรมศุลกากรได้กำหนดวิธีการไว้ ดังนี้

1. การปรับราคา FOB ให้เป็น CIF ให้ดำเนินการ ดังนี้

  1. กรณีมีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง ให้นำค่าใช้จ่ายดังกล่าวมารวมกับราคา FOB

  2. กรณีไม่มีค่าใช้จ่ายจริง อธิบดีกรมศุลกากรได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ ดังนี้

  • กรณีไม่มีเอกสารหลักฐานแสดงค่าประกันภัย ให้บวกค่าประกันภัย 1 % ของราคา FOB

  • กรณีไม่มีเอกสารหลักฐานแสดงค่าขนส่ง ให้ดำเนินการตามวิธีการขนส่งดังนี้

    • การนำเข้าทางเรือ และ ทางบก ให้บวกค่าขนส่ง 10% ของราคา FOB

    • การนำเข้าทางอากาศยาน ให้บวกค่าขนส่งเข้ากับราคาของและค่าประกันภัย ดังนี้

      • ให้ใช้ค่าขนส่งตามที่ปรากฏในต้นฉบับ HAWB (House Air Waybill) จากท่าต้นทางบรรทุก ซึ่งได้รับการรับรองจากบริษัทผู้ดำเนินการคลังสินค้าอนุมัติ
      • หากไม่ปรากฏค่าขนส่งของในต้นฉบับ HAWB หรือไม่มี HAWB ให้ใช้ค่าขนส่งที่ปรากฏใน MAWB (Master Air Waybill)
      • หากไม่ปรากฏค่าขนส่งของในต้นฉบับ HAWB หรือไม่มี HAWB หรือไม่ปรากฏค่าขนส่งของใน MAWB ให้ใช้อัตราเฉลี่ยค่าขนส่งของตาม Full IATA Rate ตามหนังสือ The Thai Cargo Tariff
      • ค่าขนส่งของสำหรับของเร่งด่วนไม่ว่าจะมีผู้โดยสารนำพาหรือไม่ก็ตาม ให้ใช้อัตราเฉลี่ยค่าขนส่งของตาม Zone ที่กรมศุลกากรอนุมัติให้ใช้
      • ของที่นำเข้าทางอากาศยาน แต่มีบัญชีราคาสินค้าแสดงราคารวมค่าขนส่งทางเรือไว้ ให้หักค่าขนส่งทางเรือออกเสีย แล้วบวกรวมค่าขนส่งทางอากาศยานที่ได้ชำระจริง หากไม่ทราบค่าขนส่งทางเรือที่จะนำมาหัก ให้หัก 10% ของราคาของ

      กรณีนี้อาจเกิดขึ้นจากเป็นของที่ซื้อขายกันโดยมีเงื่อนไขส่งมอบทางเรือและเป็นราคา CIF ทางเรือ แต่ผู้ขายส่งของมาให้ผู้ซื้อทางอากาศ การสำแดงราคาเพื่อคำนวณค่าภาษีอากร ต้องเป็นราคารวมค่าขนส่งและค่าประกันภัยทางอากาศ ผู้นำเข้าต้องแปลงราคา CIF ทางเรือ ให้เป็น CIF ทางอากาศ หากสามารถทราบราคาค่าขนส่งทางเรือให้นำจำนวนดังกล่าวมาหักออกได้ แล้วบวกด้วยค่าขนส่งทางอากาศยานที่ผู้ขายหรือผู้ส่งของออกได้ชำระไป แต่หากไม่ทราบค่าขนส่งทางเรือที่จะนำมาหักออก อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดว่า ให้คำนวณค่าขนส่งของทางเรือในอัตราร้อยละ 10 ของราคาของ

    • การนำเข้าทางไปรษณีย์ ให้บวกค่าขนส่งตามอัตราไปรษณียากรสำหรับพัสดุไปรษณีย์ระหว่างประเทศ ของบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ที่ใช้อยู่ในขณะนำเข้า

2. กรณีซื้อขายกันด้วยเงื่อนไขการส่งมอบ เป็น EXW / FAS / FCA

หากไม่ปรากฏหลักฐานการชำระเงินที่เกี่ยวกับการขนส่ง การขนของลง การขนของขึ้นในการขนย้ายของจากสถานที่ส่งมอบไปยังท่าส่งออก ให้บวกด้วย 3% ของราคาดังกล่าว เพื่อแปลงให้เป็นราคา FOB ก่อน แล้วจึงคำนวณตามหลักเกณฑ์การแปลง FOB เป็น CIF ต่อไป

3. กรณีนอกเหนือจากนี้ ให้นำเสนออธิบดีกรมศุลกากร พิจารณาเป็นกรณี ๆ



คำตอบ :

สาเหตุที่ผู้ประกอบการไม่ได้รับเลขที่ใบขนสินค้าในระบบ Paperless เนื่องมาจากสาเหตุหลัก 3 เรื่อง ดังนี้

  1. ผู้ประกอบการค้างชำระค่าธรรมเนียมการผ่านพิธีการใบขนสินค้า
  2. ผู้ประกอบการค้างชำระค่าธรรมเนียมการตรวจปล่อยนอกเวลาราชการ (Overtime fee) สำหรับใบขนสินค้าขาออก ที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรที่มีคำสั่ง “ให้เปิดตรวจ”
  3. กรณีมีการตรวจสอบข้อมูลทางสถิติ แล้วพบความผิดปกติของข้อมูล

รายละเอียดของแต่ละสาเหตุมีดังนี้

  1. ผู้ประกอบการค้างชำระค่าธรรมเนียมการผ่านพิธีการใบขนสินค้า ค่าธรรมเนียมการผ่านพิธีการใบขนสินค้า ( Service fee ) เป็นค่าธรรมเนียมที่กรมศุลกากรเรียกเก็บจากใบขนสินค้าขาเข้า และใบขนสินค้าขาออก ที่มีสถานะตรวจปล่อยแล้ว ฉบับละ 200 บาท ผู้ประกอบการสามารถชำระได้ทันทีที่ยื่นใบขนสินค้า หรือ ชำระเป็นรายเดือน ณ สำนักงานศุลกากรทุกแห่ง โดยในแต่ละเดือนกรมศุลกากรรวบรวมข้อมูลใบขนสินค้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียม โดยแบ่งเป็นใบขนสินค้าที่ชำระแล้ว กับ ใบขนสินค้าที่ค้างชำระ และส่งใบแจ้งยอดค่าธรรมเนียมรายเดือนให้ผู้ประกอบการทราบทางไปรษณีย์ทุกเดือนในเดือนถัดไป เช่น ใบแจ้งหนี้ของเดือนมิถุนายนจะเป็นการสรุปค่าธรรมเนียมการผ่านพิธีการของใบขนสินค้าที่ตรวจปล่อยในเดือนพฤษภาคม ผู้ประกอบการที่ไม่ไปดำเนินการชำระค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด กรมศุลกากรจะไม่อนุญาตให้ปฏิบัติพิธีการ ท่านสามารถตรวจสอบข้อมูลผ่านระบบ e-Tracking ในหน้าเว็บไซต์ของกรมศุลกากร เมนูย่อย “e-Tracking System” enter image description here

  2. ผู้ประกอบการค้างชำระค่าธรรมเนียมการตรวจปล่อยนอกเวลาราชการ (Overtime fee) สำหรับใบขนสินค้าขาออกที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรที่มีคำสั่ง “ให้เปิดตรวจ” การขอให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจปล่อยสินค้า หรือ ดำเนินการใด ๆ นอกเวลาราชการตามที่กฎหมายกำหนด ผู้ประกอบการต้องชำระค่าธรรมเนียมการดำเนินการนอกเวลาราชการตามอัตราที่กำหนดในกฎหมาย ใบขนสินค้าขาออกที่ได้รับคำสั่ง “ให้เปิดตรวจ” หากขนย้ายมายังท่าส่งออกนอกเวลาราชการ เจ้าหน้าที่ศุลกากรที่ท่าปลายทางจะดำเนินการตรวจสอบสินค้า และผู้ประกอบการต้องชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าว กรณีที่ไม่ชำระค่าธรรมเนียม เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะออกประกาศแจ้งรายชื่อผู้ประกอบการที่ค้างชำระค่าธรรมเนียมติดประกาศไว้ที่สำนักงานศุลกากร เพื่อให้ผู้ประกอบการตรวจสอบและมาขอรับใบสั่งเก็บเงินไปชำระค่าธรรมเนียม กรณีพ้นกำหนด สำนักงานศุลกากรจะออกหนังสือแจ้ง ผู้ส่งออกเพื่อให้มาชำระค่าธรรมเนียม และหากเลยเวลาที่กำหนด ผู้ประกอบการยังไม่ชำระค่าธรรมเนียม กรมศุลกากรจะงดรับปฏิบัติพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ทันที

enter image description here

(แผนภูมิขั้นตอนการชำระค่าธรรมเนียมตามใบสั่งเก็บเพื่อให้ชำระค่าทำการนอกเวลาราชการ)

  1. กรณีมีการตรวจสอบข้อมูลทางสถิติ แล้วพบความผิดปกติของข้อมูล และมีหนังสือแจ้งผู้นำของเข้า ให้ผู้นำของเข้าที่ได้รับหนังสือแจ้งมาชี้แจงข้อเท็จจริงพร้อมยื่นเอกสารประกอบการพิจารณาภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือของกรมศุลกากร โดยให้มีหนังสือแจ้งเป็นจำนวน 2 ครั้ง หากไม่มาภายในกำหนด จะมีหนังสือแจ้งตัวแทนออกของให้มาชี้แจงภายใน 15 วัน นับแต่ได้รับหนังสือของกรมศุลกากร หากผู้นำของเข้าหรือตัวแทนไม่มาภายในกำหนด จะงดรับปฏิบัติพิธีการศุลกากร
  • ที่มา : กรมศุลกากร
  • วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 8 สิงหาคม 2562



คำตอบ :

สามารถตรวจสอบข้อมูลการลงทะเบียนได้ที่ส่วนทะเบียนและสิทธิพิเศษ กองมาตรฐานพิธีการและราคาศุลกากร หมายเลขโทรศัพท์ 02-667-7000 ต่อ 20-4630, 20-4631 และ 20-6488



คำตอบ :

การขอคืนค่าธรรมเนียมในการดำเนินพิธีการทางศุลกากรตามใบแจ้งหนี้ทุกกรณี ให้ติดต่อฝ่ายอากรถอนคืน ส่วนบริหารรายได้ สำนักงานเลขานุการกรม กรมศุลกากร หมายเลขโทรศัพท์ 02-6676150 หรือ 02-6677000 ต่อ 4553

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการจะต้องมีการลงทะเบียนเลขที่บัญชีเงินฝากธนาคารเพื่อความประสงค์ในการขอคืนเงินอากรแล้ว หากยังไม่ได้ลงทะเบียนให้แจ้งเพิ่มเติมโดยยื่นแบบคำขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลทะเบียน (แบบคำขอหมายเลข 7 และแบบแนบ จ) พร้อมหลักฐานประกอบตามที่กำหนดไว้ในประกาศกรมศุลกากรที่ 64/.2561 ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561 ได้ที่หน่วยรับลงทะเบียนของกรมศุลกากร

เอกสารที่ต้องจัดเตรียมสำหรับการขอคืนค่าธรรมเนียม

  1. แบบคำร้องขอคืนค่าธรรมเนียมในการดำเนินพิธีการทางศุลกากร
  2. สำเนาบัตรประชาชน (กรณีเป็นคนไทย) หรือสำเนาพาสปอร์ต (กรณีเป็นชาวต่างชาติ) ของผู้มีอำนาจลงนามในแบบคำร้องฯ
  3. หลักฐานการชำระเงินของผู้ประกอบการ (ฉบับจริง)
  • ที่มา : กรมศุลกากร
  • วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 12 กุมภาพันธ์ 2563



คำตอบ :

หากท่านได้รับใบแจ้งเตือนให้ชำระค่าธรรมเนียมในการดำเนินพิธีการทางศุลกากร จาก กองกฎหมาย ซึ่งเป็นหนี้ค้างเก่า ท่านสามารถดำเนินการดังนี้

  1. ให้ติดต่อชำระได้ที่หน่วยงานบัญชีและอากรของสำนักงานศุลกากร / ท่าหรือที่ / หรือด่านศุลกากรทุกแห่ง หรือ ส่วนบริหารรายได้ สำนักงานเลขานุการกรม กรมศุลกากร คลองเตย กทม.

  2. กรณีเฉพาะผู้ประกอบการอยู่ในจังหวัดที่ไม่มีด่านศุลกากร หรืออยู่ในพื้นที่ห่างไกล ด่านศุลกากร ซึ่งมีความจำเป็นและไม่สะดวกที่จะสามารถชำระตามใบแจ้งเตือนฉบับนี้ได้ ให้ติดต่อ ส่วนบริหารรายได้ สำนักงานเลขานุการกรม 02-667-6150-6154 โดยเจ้าหน้าที่จะรับเรื่องและสอบถามหลักฐานหนังสือแจ้งเตือนฯ ดังกล่าวและชี้แจงวิธีดำเนินการให้ทราบ



คำตอบ :

การขอใช้บริการชำระค่าภาษีอากรผ่านธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment)



คำตอบ :

  • มาตรา 12 เป็นการออกประกาศกระทรวงการคลังเพื่อประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศ หรือเพื่อความผาสุกของประชาชน หรือเพื่อ ความมั่นคงของประเทศ ทั้งนี้ ตามมาตรา 12 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศลดอัตราอากร หรือยกเว้นอากรสำหรับของใด ๆ จากอัตราที่กำหนดไว้ในพิกัดอัตราศุลกากร หรือเรียกเก็บอากรพิเศษเพิ่มขึ้นสำหรับของใด ๆ ไม่เกินร้อยละห้าสิบของอัตราอากรที่กำหนดไว้ในพิกัดอัตราศุลกากร การออกประกาศกระทรวงการคลังตาม มาตรา 12 เป็นการบังคับใช้กับสินค้าที่นำเข้าจากทุกประเทศ

  • มาตรา 14 เป็นการออกประกาศกระทรวงการคลัง เพื่อปฏิบัติตามข้อผูกพันตามสัญญา หรือความตกลงระหว่างประเทศ ได้แก่ ปรับลดอัตราอากรขาเข้าภายใต้กรอบ FTA ต่าง ๆ ทั้งนี้ ตามมาตร 14 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยความเห็นชอบขังคณะรัฐมนตรี มี อำนาจประกาศ ยกเว้น ลด หรือเพิ่มอัตราอากรจากอัตราที่กำหนดไว้ในพิกัดอัตราศุลกากรหรือประกาศเรียกเก็บอากร ตามอัตราที่กำหนดไว้ใน พิกัดอัตราศุลกากร สำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศที่ร่วมลงนามหรือลักษณะตามที่ระบุไว้ในสัญญา หรือความตกลงดังกล่าว

ที่มา : สำนักนโยบายภาษี สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง



คำตอบ :



คำตอบ :





สิทธิประโยชน์ทางภาษี


คำตอบ :

การนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร ต่อมาภายหลังผู้นำเข้ามีความประสงค์จะส่งสินค้ากลับออกไป สามารถยื่นคำร้องขอปฏิบัติพิธีการส่งของกลับออกไปนอกราชอาณาจักร (Re-Export) ตามมาตรา 28 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560 ได้ แต่หากสินค้านั้นเป็นของควบคุมการนำเข้า ของนั้นต้องได้รับอนุญาตให้นำเข้าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน จึงจะสามารถดำเนินการส่งของกลับได้ เครื่องมือแพทย์เป็นสินค้าที่ต้องมีใบอนุญาตก่อนนำเข้าจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ดังนั้น เมื่อนำเข้ามาและประสงค์จะขอส่งกลับ สามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณี.

  1. กรณีมีใบอนุญาตให้นำเข้าแล้ว ให้ตรวจสอบว่าของที่จะส่งกลับออกไปเป็นของที่ต้องมีใบอนุญาตส่งออกหรือไม่ ถ้ามีต้องขอใบอนุญาตส่งออก ก่อนดำเนินพิธีการทางศุลกากร กรณีนี้สินค้าอยู่ในอารักขาของศุลกากร ยังไม่ได้มีการตรวจปล่อย และรับของไปจากศุลกากร ให้ดำเนินการดังนี้
    • ให้จัดทำใบขนสินค้าขาเข้าและใบขนสินค้าขาออกโดยใช้สิทธิ Re-Export ตามมาตรา 28 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560 และชำระค่าอากรขาเข้ากรณีใช้สิทธิ Re-Export หนึ่งในสิบส่วนหรือไม่เกิน 1,000 บาท สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มได้สิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
    • ยื่นคำร้องขอปฏิบัติพิธีการส่งของกลับออกไปนอกราชอาณาจักร (Re-Export) ใบขนสินค้าขาเข้า ใบขนสินค้าขาออก และใบอนุญาตนำเข้า ณ ห้องปฏิบัติพิธีการศุลกากร ท่าที่นำเข้า
    • ดำเนินการตรวจปล่อยสินค้าขาเข้าและขาออก.
  2. กรณีไม่มีใบอนุญาตให้นำเข้า ผู้นำเข้าต้องติดต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อขอใบอนุญาตนำเข้าและส่งออกก่อน.
    • กรณีไม่ได้รับใบอนุญาต จะไม่สามารถดำเนินพิธีการใด ๆ ได้ เนื่องจากถือเป็นของต้องห้ามในการนำเข้า ให้ยกของกลางให้เป็นของแผ่นดิน
    • กรณีได้รับใบอนุญาตถือเป็นการได้รับใบอนุญาตหลังวันนำเข้า ให้ดำเนินพิธีการศุลกากรตามข้อ 1 แต่เนื่องจากได้รับใบอนุญาตหลังวันนำเข้า เจ้าหน้าที่จะจัดส่งเรื่องไปพิจารณาความผิด ณ ฝ่ายคดี โดยเสียค่าปรับร้อยละ 10 ของราคาของ ไม่น้อยกว่า 1,000 บาท แต่ไม่เกิน 20,000 บาท



คำตอบ :

การยื่นสูตรการผลิตจะต้องยื่นก่อนการส่งออกสินค้า เพื่อนำเลขที่สูตรการผลิต ไปบันทึกในใบขนสินค้าขาออกของผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ไปต่างประเทศ

  • ที่มา : กรมศุลกากร
  • วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 8 สิงหาคม 2562



คำตอบ :

ใบขนสินค้าขาเข้า ในส่วนรายการแต่ละรายการที่ใช้สิทธิการคืนอากรตามมาตรา 29 ต้องสำแดงเลข e-tax incentive ของผู้นำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศที่ได้รับอนุมัติหลักการคืนอากรตามมาตรา 29 และในใบขนสินค้าขาออกต้องสำแดงเลข e-tax incentive ของผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ไปต่างประเทศ

  • ที่มา : กรมศุลกากร
  • วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 8 สิงหาคม 2562



คำตอบ :



คำตอบ :



คำตอบ :

โดยทั่วไป ของที่นำเข้ามาใน หรือ ส่งออกนอกราชอาณาจักร หากเป็นของที่มีกฎหมายควบคุมการนำเข้ามาในหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร ผู้นำเข้า ผู้ส่งออกต้องดำเนินการให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายอื่นกำหนด เขตปลอดอากร เป็นพื้นที่พิเศษที่มีกฎหมายศุลกากร ยกเว้นหลักการดังกล่าวไว้ตามมาตรา 152 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 ดังนี้

  1. ของที่มีบทกฎหมายอื่นควบคุมเกี่ยวกับมาตรฐานหรือคุณภาพ การประทับตรา หรือ เครื่องหมายใด ๆ หากนำของนั้นจากนอกราชอาณาจักรเข้าไปในเขตปลอดอากรทุกพื้นที่ในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ผลิต ผสม ประกอบ บรรจุ หรือดำเนินการอื่นใดเพื่อการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ผู้นำเข้า และผู้ส่งออก ไม่ต้องขออนุญาตหน่วยงานที่กำกับควบคุม การบันทึกข้อมูลในใบขนสินค้าขณะนำเข้า / ส่งออก ในส่วนข้อมูล “ใบอนุญาตฯ” ให้บันทึกดังนี้

    • ช่อง “เลขที่ใบอนุญาต” ให้สำแดง EXEMPT152
    • ช่อง “เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร” ให้สำแดงเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของกรมศุลกากร คือ 4101035398
    • ช่อง “วันที่อนุญาต” ให้สำแดงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2560
  2. ของที่มีบทกฎหมายอื่นควบคุมเกี่ยวกับการนำเข้ามาในราชอาณาจักร การส่งออกไปนอกราชอาณาจักร การครอบครองหรือการใช้ประโยชน์ซึ่งของนั้น หากนำของนั้นเข้าไปในเขตปลอดอากรเฉพาะพื้นที่ที่กำหนดในกฎกระทรวง เท่านั้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ผลิต ผสม ประกอบ บรรจุ หรือดำเนินการอื่นใดเพื่อการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ผู้นำเข้า / ผู้ส่งออก ไม่ต้องขออนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เขตปลอดอากรที่กำหนดในกฎกระทรวง คือ

    • เขตปลอดอากรที่ตั้งอยู่ ณ สนามบินดอนเมือง
    • เขตปลอดอากรที่ตั้งอยู่ ณ สนามบินสุวรรณภูมิ
    • เขตปลอดอากรที่ตั้งอยู่ ณ สนามบินอู่ตะเภา ระยอง พัทยา
    • เขตปลอดอากรที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
    • เขตปลอดอากรที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก

    การบันทึกข้อมูลในใบขนสินค้าขณะนำเข้า / ส่งออก ในส่วนข้อมูล “ใบอนุญาต” สำหรับของที่ต้องมีใบอนุญาตฯ ไม่ต้องบันทึกข้อมูลใดๆ ระบบคอมพิวเตอรของกรมศุลกากรจะตรวจสอบความถูกต้องในเรื่องใบอนุญาตฯ จากเลขทะเบียนสิทธิประโยชน์ทางภาษ๊อากร (Tax Incentive ID)

  3. กรณีที่มีการปล่อยของที่ได้รับยกเว้นใบอนุญาตฯ ตามข้อ 1 และ ข้อ 2 ออกจากเขตปลอดอากรเพื่อใช้หรือจำหน่ายในราชอาณาจักร กฎหมายศุลกากรกำหนดให้ผู้นำเข้า ต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องนับแต่วันที่นำออกจากเขตปลอดอากร โดยถือเสมือนของนั้นได้นำเข้ามาในราชอาณาจักรในวันที่นำออกจากเขตปลอดอากร ดังนั้น ผู้นำเข้าที่จะนำของออกจากเขตปลอดอากรต้องดำเนินการเรื่องการขออนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยวิธีการเดียวกันกับกรณีของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร

อย่างไรก็ดี หากผู้นำเข้าประสงค์จะดำเนินการในเรื่องการอนุญาตนำเข้า ก่อนการนำของเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ใช้บทยกเว้นดังกล่าว ก็สามารถดำเนินการได้ตามปกติเช่นเดียวกับการนำเข้าอื่น ๆ การบันทึกข้อมูลขณะนำเข้าในใบขนสินค้าขาเข้าที่นำของเข้าเขตปลอดอากรให้บันทึกเช่นเดียวกับการนำเข้าปกติ ในกรณีที่มีการนำของดังกล่าวออกจากเขตปลอดอากรไม่ว่าในสภาพใดก็ตาม ในใบขนสินค้าขาเข้าที่ขอนำของออกจากเขตปลอดอากรประเภท “P” ให้บันทึกข้อมูลในส่วนต่างๆดังนี้

ในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาต บันทึกดังนี้

  • ช่อง “เลขที่ใบอนุญาต” ให้สำแดง EXEMPT88
  • ช่อง “เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร” ให้สำแดงเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของกรมศุลกากร คือ 4101035398
  • ช่อง “วันที่อนุญาต” ให้สำแดงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2560

ในส่วนรายละเอียดรายการสินค้าแต่ละรายการ

  • ช่อง “เลขที่ใบขนสินค้าและรายการที่อ้างถึง” ให้สำแดง เลขที่ใบขนสินค้าขาเข้า และลำดับรายการที่นำของนั้นเข้ามา ในราชอาณาจักรและนำเข้าเขตปลอดอากร





สิทธิพิเศษทางการค้า


คำตอบ :

ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2564

ข้อ 3 (5) ในกรณีที่ผู้นำของเข้าไม่สามารถแสดงหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Form E) ก่อนนำของออกจากอารักขาของศุลกากร แต่ประสงค์จะใช้สิทธิพิเศษทางอากรศุลกากรในการขอยกเว้นอากรหรือลดอัตราอากร ให้แจ้งความประสงค์และชำระค่าอากรในอัตราปกติไปก่อน
ตามประกาศกรมศุลกากรที่ 218/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์และพิธีการสำหรับการยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากร สำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน

หมวด 3 การปฏิบัติพิธีการศุลกากรสำหรับผู้นำของเข้า

ข้อ 8 กรณีผู้นำของเข้าไม่สามารถแสดงหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Form E) ณ ขณะนำของเข้า

ในกรณีผู้นำของเข้าไม่สามารถแสดงหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Form E) และ/หรือหนังสือรับรองการได้รับสิทธิ ต่อสำนักงานศุลกากรหรือด่านศุลกากรหรือที่นำของเข้า แต่ประสงค์จะใช้สิทธิพิเศษทางอากรศุลกากร ในการขอยกเว้นอากรหรือลดอัตราอากรศุลกากรให้ปฏิบัติดังนี้

  1. การจัดทำข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าให้ผู้นำของเข้าแจ้งความประสงค์และชำระค่าอากรในอัตราปกติก่อนนำของออกจากอารักขาศุลกากร และจัดทำข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าตามมาตรฐานที่กรมศุลกากรกำหนด ดังนี้
    1.1 ช่อง Argumentative Reason Code ให้ระบุรหัสเหตุผล “P14”
    1.2 ช่อง Argumentative Privilege Code ให้ระบุรหัสสิทธิพิเศษ “ACN” ของแต่ละรายการในใบขนสินค้าขาเข้านั้น
    1.3 ส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร

หากผู้นำของเข้าได้ส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรแล้ว แต่ไม่ได้บันทึกข้อมูลแจ้งความประสงค์จะขอใช้สิทธิพิเศษทางอากรตามข้อ 8(1) (1.1) และ (1.2) ในการขอการขอยกเว้นอากร หรือลดอัตราอากรศุลกากรของแต่ละรายการในใบขนสินค้าขาเข้านั้น ให้ผู้นำเข้ายื่นคำร้องขอแก้ไขใบขนสินค้า โดยคำร้องนั้นต้องมีคำชี้แจงเหตุผลประกอบ ก่อนนำของออกจากอารักขาของศุลกากร

  1. การแสดงหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Form E) และ/หรือหนังสือรับรองการได้รับสิทธิเพื่อขอคืนอากร ภายหลังการนำของเข้าต่อสำนักงานศุลกากรหรือด่านศุลกากรหรือที่นำของเข้า”

ที่มา : กรมศุลกากร
วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 6 ธันวาคม 2566