ภาษีสรรพสามิต

enter image description here


ภาษีสรรพสามิต คือ ภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการซึ่งมีเหตุผลสมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น บริโภคแล้วอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ และศีลธรรมอันดี มีลักษณะฟุ่มเฟือย และสินค้าและบริการที่ได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากกิจการของรัฐ เป็นต้น เพื่อเป็นรายได้ให้รัฐบาลนำไปบริหารประเทศ และทะนุบำรุงท้องถิ่นต่าง ๆ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย โดยสรุปการจําแนกเป็นกลุ่มสินค้าและบริการ ดังนี้

พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560

พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 16 กันยายน 2560 เป็นการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างของระบบกฎหมายภาษีสรรพสามิตและแนวทางการจัดเก็บภาษีแบบใหม่ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม โปร่งใส เป็นสากล และลดการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ส่งผลให้กฎหมายภาษีสรรพสามิตสามารถแก้ไขปัญหาที่ เกิดขึ้น ในการบริหารการจัดเก็บภาษีได้ทั้งระบบ และทําให้การจัดเก็บภาษีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้กรมสรรพสามิตได้ออกกฎหมายลําดับรองประมาณ 80 ฉบับ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายแม่บท โดยเฉพาะอัตรา การจัดเก็บภาษีสินค้าและบริการต่าง ๆ

1. จัดเก็บภาษีสินค้าน้ํามันและผลิตภัณฑ์น้ํามันในอัตราตามปริมาณเพียงอย่างเดียว.

  • กําหนดอัตราเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ น้ํามันเบนซินและดีเซล
  • กําหนดอัตราใหม่ ได้แก่สินค้า ดังนี้.
    • น้ํามันเชื้อเพลิงสําหรับเครื่องบินไอพ่น
    • น้ํามันเตา

2. มีการปรับลดอัตราภาษีให้สอดคล้องกับราคาขายปลีกแนะนํา

ได้แก่สินค้าดังนี้

  • รถยนต์
  • แบตเตอรี่
  • จักรยานยนต์
  • ผลิตภัณฑ์เครื่องหอมและเครื่องสําอาง

3. จัดเก็บภาษีเครื่องดื่มตามปริมาณความหวาน

  • จัดเก็บอัตราตามมูลค่าและตามปริมาณความหวานของเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์รวมทั้ง จัดเก็บภาษี ตามปริมาณความหวานของเครื่องดื่มผงและเครื่องดื่มเข้มข้นเพิ่มเติม เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนัก ถึงผลกระทบตอส่ ุขภาพหากบริโภคเครื่องดมดื่ ังกล่าว โดยในระยะแรกจะไม่เพิ่มภาระภาษีมากนัก แต่หลังจาก 2 ปีภาระภาษีจะเพิ่มขึ้น และปรับเพิ่มภาษีทุก 2 ปีจนถึงปี 2566
  • ดําเนินมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีที่มีความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนไปพร้อมกัน ซึ่งจะช่วยสงผลให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการลดการบริโภคเครื่องดื่มที่มีความหวาน เช่น การจัดทําเครื่องหมาย ทางเลือกเพื่อสุขภาพ ุ การผลิตเครื่องดื่มที่มีน้ําตาลน้อยหรือไม่มีน้ำตาล การจําหน่ายสินค้าให้เข้าถึงง่าย การ จัดทําฉลากโภชนาการแบบ GDA เป็นต้น

4. กําหนดอัตราศูนย์สําหรับสินค้าที่จัดเก็บรายได้น้อย

เนื่องจากไม่มีความคุ้มค่าในการบริหารการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพสามิต ได้แก่สินค้าดังนี้

  • เครื่องไฟฟ้า (โคมระย้าคริสตัล)
  • แก้วและเครื่องแก้ว
  • พรมและสิ่งทอปูพื้นอื่น ๆ

5. อัตราภาษีในหมวดบริการ

  • คงอัตราตามเดิม
    • ไนต์คลับ ดิสโกเธค ผับ บาร์ค็อกเทลเลาจน์โดยให้หมายรวมถึงสถานที่ที่จําหน่าย อาหาร และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์โดยจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง ซึ่งปิดทําการ หลังเวลา 24.00 นาฬิกา จัดเก็บจากรายรับ
    • สถานอาบน้ําหรืออบตัว และนวด จัดเก็บตามรายรับ
    • สนามแข่งม้า จัดเก็บจากค่าผ่านประตูและรายรับ
    • สลากกินแบ่ง ไม่มีการจัดเก็บภาษี (จากเดิมได้รับการยกเว้นปรับใหม่เป็นเสียภาษีใน อัตราศูนย์)
    • กําหนดอัตราศูนย์เช่นเดิม ได้แก่ กิจการโทรคมนาคม

6. การจัดเก็บภาษีสุรา

  • คงการจัดเก็บภาษีแบบระบบผสม ทั้งในอัตราตามมูลค่าเพื่อสะท้อนถึงความฟุ่มเฟือย และอัตราตามปริมาณเพื่อสะท้อนถึงหลักสขภาพ ุ ซึ่งสร้างความโปร่งใสและเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีมากยิ่งขึ้น
  • ปรับลดภาษีตามมูลค่าและเพิ่มอัตราภาษีตามปริมาณ (แรงแอลกอฮอล์) เพื่อให้สอดคล้อง กับหลักสากล โดยคํานึงถึงสขภาพมากย ุ ิ่งขึ้น โดยอัตราภาษีใหม่จะไม่ทําให้มีภาระภาษเพี ิ่มขึ้นมากนัก ตามหลัก รายได้คงที่ (Revenue Neutrality)
  • ส่งเสริมให้ประชาชนบริโภคสุราที่มีดีกรีต่ํา และลดปัญหาสุราเถื่อน
  • ปรับลดอัตราภาษีตามมูลค่า เนื่องจากฐานภาษีได้ปรับจากราคาขายส่งช่วงสุดท้ายเป็น ราคาขายปลีกแนะนํา

7. การจัดเก็บภาษียาสูบ

  • จัดเก็บภาษีแบบระบบผสม ทั้งในอัตราตามมูลค่าเพื่อสะท้อนถงความฟุ่มเฟือย และอัตรา ตามปริมาณ เพื่อสะท้อนถึงหลักคุณภาพ จากเดิมที่จัดเก็บภาษีตามมูลค่าหรือตามปริมาณที่ให้ภาระภาษสูงกว่า ส่งผลใหราคาขายปลีกบุหรี่มีความแตกต่างอยางเห็นได้ชัด
  • จัดเก็บภาษีตามมูลค่าใน 2 อัตราที่แตกต่างกัน ระหว่างบุหรี่ที่มีราคาขายปลีกไม่เกิน 60 บาทต่อซอง และเกิน 60 บาทต่อซอง เป็นเวลา 2 ปีเพื่อให้เวลาในการปรับตัวของอุตสาหกรรมบุหรี่ หลังจากนั้น จะจัดเก็บภาษตามมูลค่าในอัตราเท่ากัน
  • จัดเก็บภาษีตามปริมาณในอัตราเดียวกัน ซึ่งจะช่วยลดปญหาการบริโภคบุหรี่ราคาถูก
  • ขยายฐานภาษียาสูบให้ครอบคลุมถึงยาเส้นพันธุ์พื้นเมือง
  • ลดการเข้าถึงการบริโภคยาสูบ โดยยึดหลักสากลในการสร้างความเท่าเทียมในการจัดเก็บ ภาษีของบุหรี่

สินค้าและบริการที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต

ตัวอย่างสินค้าและบริการที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต เช่น

  • สุรา
  • ยาสูบ
  • ไพ่
  • น้ำหอม หัวน้ำหอมและน้ำมันหอม
  • แบตเตอรี่
  • น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน
  • เครื่องดื่ม
  • เครื่องไฟฟ้า (เฉพาะเครื่องปรับอากาศและโคมระย้าที่ทำจากแก้วเลดคริสตัลและแก้ว- คริสตัลอี่น ๆ )
  • แก้วเลดคริสตัล และแก้วคริสตัลอื่น ๆ
  • รถยนต์ (รถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน)
  • เรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญ
  • พรมและสิ่งทอปูพื้นอื่น (เฉพาะที่ทำด้วยขนสัตว์)
  • รถจักรยานยนต์
  • สถานบริการ (สนามแข่งม้า สนามกอล์ฟ) ฯลฯ

กฎหมาย / ประกาศที่สำคัญ