ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ฮ่องกง (ASEAN – Hong Kong, China Free Trade Agreement)


ความเป็นมา

เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2554 ฮ่องกงยื่นหนังสือแสดงเจตจํานงขอเข้าร่วมความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA) อย่างเป็นทางการต่อสํานักเลขาธิการอาเซียน ในช่วงการประชุมผู้นําอาเซียน-จีน

สํานักเลขาธิการอาเซียนได้ว่าจ้าง Singapore’s National University ทําการศึกษาผลกระทบต่อประเทศสมาชิกอาเซียน ผลการศึกษาเบื้องต้นระบุว่า ในภาพรวมการเข้าเป็นสมาชิก ACFTA ของฮ่องกงจะก่อให้เกิดเป็นประโยชน์ในด้านการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ Welfare และ Flow ของสินค้าที่จะเข้าสู่ตลาดจีนได้สะดวกขึ้น พร้อมทั้งยังก่อให้เกิดผลทางบวกกับการรวมกลุ่มในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม อาเซียนจะได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น จากเดิมเพียงเล็กน้อย หากการเข้าเป็นภาคีของฮ่องกงจะเป็นลักษณะ EqualTreatment (คือจีนจะต้องเปิดตลาดให้อาเซียนเพิ่มเติมจนเท่ากับที่จีนเปิดให้ฮ่องกง) และอาเซียนจะเสียประโยชน์ หากจีนเปิดตลาดให้อาเซียนได้เพียงร้อยละ 80 ของที่จีนเปิดให้ฮ่องกง และไทยอาจได้รับผลกระทบในภาคบริการ ด้านการเงิน ธนาคาร และประกันภัย ซึ่งเป็นสาขาที่ฮ่องกงมีศักยภาพ ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วคงเป็นไปได้ยากที่จีนจะเปิดตลาดให้กับอาเซียนในระดับดังกล่าว

ที่ประชุมรัฐมนตรีการค้าอาเซียน (AEM-Retreat) เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2556 ณ ประเทศเวียดนาม มีมติเสนอให้อาเซียนจัดทําเขตการค้าเสรีกับฮ่องกง (ASEAN-Hong Kong FTA) แทนการรับฮ่องกงเข้าเป็น ภาคีสมาชิกความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ที่ประชุมผู้นําอาเซียนได้รับรองมติของ AEM ให้อาเซียนจัดทํา เขตการค้าเสรีกับฮ่องกง (ASEAN-Hong Kong FTA) เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2556 ณ ประเทศบรูไน

  • ในการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเศรษฐกิจอาเซียน–ฮ่องกง (SEOM–Hong Kong Consultations) ครั้งที่ 1 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2556 ที่ประชุมมีมติว่าฮ่องกงและอาเซียนควรจะเริ่มการเจรจาในปี 2557
  • รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและฮ่องกง ได้ลงนามความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อาเซียน (AHKFTA) และความตกลงด้านการลงทุนอาเซียน-ฮ่องกง (AHKIA) เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2560
  • เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2561 ไทยได้มอบสัตยาบันสารให้แก่สํานักเลขาธิการอาเซียน
  • ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อาเซียน (AHKFTA) มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2562 (เฉพาะฮ่องกง ไทย สิงคโปร์ เวียดนาม และเมียนมา) และความตกลงการลงทุนอาเซียน-ฮ่องกง (AHKIA) มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2562 ซึ่งความตกลง AHKFTA และความตกลง AHKIA จะก่อให้เกิดประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย ด้านการค้าสินค้า ฮ่องกงจะได้ประโยชน์จากการที่อาเซียนลดภาษีศุลกากร และสามารถส่งสินค้ามาอาเซียนในอัตราภาษีที่ต่ําลง ในขณะที่อาเซียนจะได้ ประโยชน์จากการที่ฮ่องกงตกลงว่าในอนาคตจะไม่ขึ้นภาษีสินค้าที่มีอัตราภาษีเป็น 0 ทุกรายการภายใต้ AHKFTA

กฏว่าด้วยถิ่นกําเนิดสินค้า

สินค้านําเข้าที่จะขอใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรภายใต้ความตกลง AHKFTA จะต้องเป็นสินค้าที่ผลิตได้ ตามกฎว่าด้วยถิ่นกําเนิดสินค้า (Rules of Origin: ROO) ข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้

  1. กฎการใช้วัตถุดิบภายในประเทศทั้งหมด (Wholly Obtained or Produced Goods: WO) เป็นสินค้าที่ได้มาทั้งหมดหรือมีการผลิตทั้งหมดในภาคีผู้ส่งออก หรือ
  2. เกณฑ์การผลิตทั้งหมดในภาคีนั้นจากวัตถุดิบที่ได้ถิ่นกําเนิดของภาคีใดภาคีหนึ่งหรือมากกว่า (Produced Exclusively: PE)
  3. กฎทั่วไป คือ เกณฑ์สัดส่วนมูลค่าการผลิตในภูมิภาค (Regional Value Content: RVC) โดยสินค้าที่ได้มาหรือผลิตขึ้นโดยมิได้ใช้วัตถุดิบภายในประเทศทั้งหมด แต่มีสัดส่วนของวัตถุดิบที่ได้ถิ่นกําเนิดภายในกลุ่มประเทศอาเซียนและฮ่องกง ไม่น้อยกว่า 40% ของราคา F.O.B. (RVC ≥ 40%)
  4. กฎถิ่นกําเนิดเฉพาะรายสินค้า (Product Specific Rules: PSRs) สินค้า 237 รายการ หากสินค้านั้นผลิตได้ตามกฎเฉพาะรายสินค้าตามที่ระบุไว้ในภาคผนวก 3-2 ซึ่งประกอบด้วยกฎ (1) WO (2) กฎทางเลือกระหว่าง RVC ≥ 40% หรือ เกณฑ์การเปลี่ยนพิกัดอัตราศุลกากร (Change in Tariff Classification: CTC) (3) เกณฑ์กระบวนการผลิตเฉพาะ (Specific Process: SP) (Annex 3-2)
  5. สินค้าที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ 557 รายการ ซึ่งปรากฏในตารางภาคผนวก 3-3 อาทิสินแร่และแร่ธาตุ พลาสติก อัญมณีสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องให้เจรจาให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปีหลังจากที่ความตกลง AHKFTA มีผลใช้บังคับ ซึ่งในระหว่างที่ยังไม่ได้ข้อยุตินี้ อาเซียนและฮ่องกงตกลงใช้เกณฑ์ถิ่นกําเนิดสินค้า (1) WO หรือ (2) PE หรือ (3) RVC ≥ 40% สําหรับสินค้า 557 รายการ (Annex 3-3)

ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับหนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้า

1. สินค้าที่ใบกำกับสินค้าออกโดยบุคคลที่สาม (Third Party Invoicing)

กรณีที่ผู้ส่งออกมีความประสงค์จะขอหนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้า (Form AHK) สําหรับสินค้าที่ใบกํากับสินค้า (invoice) ออกโดยบุคคลที่สาม ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

  • ทําเครื่องหมาย ( P ) หน้าข้อความ “Third Party Invoicing” ในช่อง 13 ของหนังสือรับรองถิ่นกําเนิด สินค้า (Form AHK)
  • ระบุชื่อ และประเทศ ของบุคคลที่สามที่ออกใบกํากับสินค้า (the company issuing the invoice) ในช่อง 7 ของหนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้า (Form AHK)

2. ยืนยันการเคลื่อนย้ายสินค้า (Movement Confirmation: MC)

กรณีที่ผู้ส่งออกได้นําเข้าสินค้าจากภาคีสมาชิกเพื่อส่งออก (Re-export) ไปยังภาคีสมาชิกใดภาคีสมาชิกหนึ่ง และมีความประสงค์ จะขอหนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้า (Form AHK) เพื่อยืนยันการเคลื่อนย้ายสินค้า (Movement Confirmation: MC) ให้ทําเครื่องหมาย (P) หน้าข้อความ “Movement Confirmation” ในช่อง 13 ของหนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้า (Form AHK) และผู้ส่งออกต้องแสดงเอกสารหลักฐานประกอบการขอ หนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้า (Form AHK) เพื่อยืนยันการเคลื่อนย้ายสินค้า (MC) ดังนี้

  • ต้นฉบับหนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้า (Form AHK) จากภาคีสมาชิกต้นทางที่ยังไม่หมดอายุ
  • ต้นฉบับหรือสําเนาใบกํากับสินค้า (Invoice) ที่ใช้ในการนําเข้าและส่งออก
  • สําเนาใบตราส่งสินค้าทางเรือ (Bill of Lading) หรือสําเนาใบตราส่งสินค้าทางอากาศ (Air Waybill) หรือเอกสารหลักฐานอื่น ที่แสดงการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่ใช้ในการนําเข้าและส่งออก
  • ต้นฉบับหรือสําเนาใบขนสินค้าขาเข้า

การขอใชสิทธิยกเว้น/ลดหย่อนภาษีภายใต้ความตกลงทางการค้า

การขอใช้สิทธิยกเว้น/ลดหย่อนภาษีภายใต้ความตกลงฯ สินค้าที่กําเนิดหรือผลิตได้ดังกล่าวจะต้องมี หนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้า (Form AHK) ไปแสดงต่อศุลกากรประเทศผู้นําเข้า โดยจะต้องระบุข้อมูลขั้นต่ํา (List of Data Requirement) ลงใน Form AHK

นอกจากนี้ทางที่ประชุมได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการว่าด้วยกฎถิ่นกําเนิดสินค้า เพื่อเจรจาจัดทํากฎถิ่นกําเนิดสินค้าเฉพาะรายสินค้าให้แล้วเสร็จในปี 2563 ซึ่งในปัจจุบันยังใช้กฎแบบชั่วคราวอยู่ เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะการผลิตและการค้าของผู้ประกอบการอาเซียนและฮ่องกง รวมทั้งจัดตั้งคณะอนุกรรมการด้านการ ลงทุน เพื่อเจรจาให้แล้วเสร็จภายในปี 2563

ปัจจุบัน ฮ่องกงเป็นคู่ค้าอันดับ 9 ของไทย โดยในครึ่งแรกของปี 2562 (ม.ค.-มิ.ย.) การค้าระหว่างไทยกับฮ่องกง มีมูลค่า 7,079.67 ล้านเหรียญสหรัฐ แบ่งเป็นมูลค่าการส่งออกสินค้าจากไทยไปฮ่องกง 5,741.81 ล้านเหรียญสหรัฐ และมูลค่าการนําเข้าสินค้าจากฮ่องกงมาไทย 1,337.86 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าส่งออกสําคัญของไทยไปฮ่องกง เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ แผงวงจรไฟฟ้า ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง เครื่องโทรสาร โทรศัพท์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้านําเข้าจากฮ่องกง เช่น เครื่องเพชรพลอย อัญมณีเงินแท่งและทองคํา เครื่องประดับอัญมณีเครื่องจักรไฟฟ้าและ ส่วนประกอบ ผ้าผืน เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เคมีภัณฑ์เป็นต้น

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

  • เอกสารประกอบการสัมมนา การยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน- ฮ่องกง เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2562 [ดาวน์โหลดเอกสาร]

การลดภาษี แต่ละประเทศ

ที่มาข้อมูล : กรมการค้าต่างประเทศ

ประกาศ / กฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง

ประกาศกรมศุลกากร

เลขที่ รายละเอียด
45/.2565 การแสดงหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าและคำรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า สำหรับผู้นำของเข้าที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
30/.2565 แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรมศุลกากรที่ 233/2564
233/.2564 หลักเกณฑ์และพิธีการการยกเว้นอากรและลดอัตราศุลกากรสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน-ฮ่องกง
193/.2564 แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรมศุลกากรที่ 89/2562
149/.2564 การแสดงหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าและคำรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า สำหรับผู้นำของเข้า ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19
50/.2564 การแสดงหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า สำหรับผู้นำของเข้าที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(โควิด-19)
27/.2564 แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรมศุลกากรที่ 89/2562
203/.2563 แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรมศุลกากรที่ 89/2562
107/.2563 แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรมศุลกากรที่ 89/2562
93/.2563 แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรมศุลกากรที่ 89/2562
57/.2563 แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรมศุลกากรที่ 89/2562
89./2562 - หลักเกณฑ์และพิธีการการยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน-ฮ่องกง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ส่วนกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (สกก.) กองพิกัดอัตราศุลกากร (กพก.)

  • หมายเลขโทรศัพท์ : 0-2667-7014 หรือ 0-2667-6459
  • อีเมล์ : 80150000@customs.go.th

ที่มา : กรมศุลกากร