ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (Thailand - Australia Free Trade Agreement - TAFTA)


  • มีผล 1 มกราคม 2548
  • ไทย ปี 2560 สินค้า 99.09% ลดภาษีเป็นศูนย์แล้ว (สินค้าทุกรายการจะลดภาษีเป็นศูนย์ภายในปี 2568)
  • บางสินค้ามีมาตรการปกป้องพิเศษจนถึงปี 2563 (เช่นเนื้อวัว เครื่องในวัว/หมู นมและครีมแบบผง เป็นต้น) และในรูปโควตาภาษีจนถึงปี 2568 (เช่น นมผง กาแฟ มันฝรั่ง น้าตาล เป็นต้น)
  • เปิดให้ต่างชาติถือหุ้นได้ถึง 60% ในบางบริการ เช่น ศูนย์แสดงสินค้านานาชาติ หอประชุม และเหมืองแร่
  • ออสเตรเลียสินค้าทุกรายการลดภาษีเป็นศูนย์แล้วตั้งแต่ปี 2558 เปิดให้ลงทุนทุกประเภท ยกเว้นหนังสือพิมพ์ การกระจายเสียง การขนส่งทางอากาศ และท่าอากาศยาน

ความเป็นมา

ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย หรือ Thailand-Australia Free Trade Agreement (TAFTA) มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2548 โดยกำหนดให้ไทยและออสเตรเลียเริ่มเปิดเสรีการค้าทั้งในด้านสินค้า การบริการ และการลงทุน ระหว่างกัน รวมทั้งร่วมมือกันแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี เช่น มาตรการด้านสุขอนามัยที่เข้มงวดของออสเตรเลีย และมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด และในสาขาต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้า อาทิ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทรัพย์สินทางปัญญา การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ และนโยบายการแข่งขัน เป็นต้น

ความตกลง FTA ไทย-ออสเตรเลีย และไทย-นิวซีแลนด์ ถือเป็นความตกลง FTA ลำดับต้นๆ ของไทยที่มีผลใช้บังคับมาตั้งแต่ปี 2548 โดยปัจจุบันออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ได้ลดภาษีสินค้าทุกรายการให้กับไทยเหลือศูนย์แล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 ส่วนไทยได้ลดภาษีสินค้าเกือบทั้งหมดให้ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เหลือศูนย์แล้วเช่นกัน แต่ยังคงเหลือสินค้าเกษตรบางรายการ ซึ่งรวมถึงสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมที่ไทยยังใช้มาตรการโควตาภาษีและมาตรการปกป้องพิเศษ เพื่อให้ภาคการผลิตและอุตสาหกรรมโคนมของไทยมีเวลาในการปรับตัว โดยปัจจุบันกลุ่มผลิตภัณฑ์นมไทยที่เปิดตลาดลดภาษีเหลือศูนย์แล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 คือ นมและครีมข้นไม่หวาน และบัตเตอร์มิลล์ แต่ยังคงเหลือสินค้าที่ไทยจะต้องทยอยเปิดตลาดให้กับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ได้แก่ สินค้านมผงที่มีไขมันเกิน 1.5% (ไม่ใช้เลี้ยงทารก) ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของนม หางนม (เวย์) เนย ไขมันเนย (AMF)และกลุ่มสินค้าเนยแข็ง จะต้องไม่มีการจำกัดโควตาและลดภาษีเป็นศูนย์ ในปี 2564 และสินค้านมและครีม เครื่องดื่มประเภทนมปรุงแต่ง นมผงขาดมันเนย ที่จะต้องไม่มีโควตาและลดภาษีเป็นศูนย์ในปี 2568

การลดหย่อนภาษี

ออสเตรเลีย

  1. ลดเป็น 0 ทันที จำนวน 5,083 รายการ
  2. ลดเป็น 0 ภายในปี 2553 จำนวน 786 รายการ
  3. ลดเป็น 0 ภายในปี 2558 จำนวน 239 รายการ

ไทย

  1. ลดเป็น 0 ทันที จำนวน 2,724 รายการ
  2. ลดเป็น 0 ภายในปี 2553 จำนวน 2,411 รายการ
  3. ลดเป็น 0 ภายในปี 2558 จำนวน 313 รายการ
  4. ลดเป็น 0 ภายในปี 2563 จำนวน 53 รายการ และปี 2568 จำนวน 4 รายการ

การขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษี

สินค้าที่กำเนิดหรือผลิตได้ดังกล่าวข้างต้น จะต้องมีหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (ดูตัวอย่าง Form FTA) ไปแสดงต่อศุลกากรประเทศผู้นำเข้า

Rules of Origin


ประกาศ / กฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง

ประกาศกระทรวงการคลัง

ประกาศกรมศุลกากร

เลขที่ประกาศ รายละเอียด
216/.2564 หลักเกณฑ์และพิธีการการยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากออสเตรเลีย
81/.2563 การแสดงหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า สำหรับผู้นำของเข้าที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
40/.2562 แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรมศุลกากรที่ 151/.2560
151/.2560 หลักเกณฑ์และพิธีการการยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากออสเตรเลีย
233/.2559 หลักเกณฑ์และพิธีการการยกเว้นอากรและการลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากออสเตรเลีย
77/.2556 แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรมศุลกากรที่ 6/.2555
6/.2555 หลักเกณฑ์และพิธีการการยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากออสเตรเลีย
127/.2549 หลักเกณฑ์และพิธีการการยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากออสเตรเลีย
79/.2548 เพิ่มเติมระเบียบพิธีการสำหรับการยกเว้นอากรและการลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดออสเตรเลีย ตามข้อผูกพันตามความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย(Thailand-Australia Free Trade Agreement)
111/.2547 แก้ไขเพิ่มเติมรหัสสถิติสินค้า*ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย

ปริมาณการนำเข้าสินค้าตามมาตรการปกป้อง ตามความตกลง ไทย-ออสเตรเลีย (Thailand - Australia FTA)

ที่มาบทความ:

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :.

  • ส่วนกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (สกก.) กองพิกัดอัตราศุลกากร (กพก.)
  • หมายเลขโทรศัพท์ : 0-2667-7014 หรือ 0-2667-6459
  • อีเมล์ : 80150000@customs.go.th