ความตกลงการค้าเสรีไทย-เปรู (Thailand - Peru Closer Economic Partnership - TPCEP)


ประเทศไทยกับสาธารณรัฐเปรูมีความสัมพันธ์ที่ราบรื่นและฉันมิตรนับตั้งแต่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2508 โดยได้ร่วมกันจัดกิจกรรมฉลองครบรอบ 55 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อปี 2563 นอกจากนี้ ที่ผ่านมากระทรวงการต่างประเทศได้ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเปรูประจำประเทศไทยจัดทำหนังสือที่ระลึกแห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันในโอกาสการครบรอบ 40 ปี (2548) 45 ปี (2553) และ 50 ปี (2558) ขณะที่ทั้งสองฝ่ายมีการแลกเปลี่ยนการเยือนและหารือทวิภาคีระดับสูงระหว่างกันเป็นระยะ ๆ

ปัจจุบัน สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลิมา มีเขตอาณาครอบคลุมสาธารณรัฐเปรู สาธารณรัฐโคลอมเบีย สาธารณรัฐเอกวาดอร์ และสาธารณรัฐโบลีวาร์แห่งเวเนซุเอลา โดยมีนายสรยุทธ ชาสมบัติ ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ กรุงลิมา ส่วนสาธารณรัฐเปรูเปิดสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยเมื่อปี 2535 โดยปัจจุบันนายเฟอร์นันโด ฆูลิโอ อันโตนิโอ กีโรส กัมโปส (Mr. Fernando Julio Antonio Quiros Campos) ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเปรูประจำประเทศไทย ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2560 นอกจากนี้ รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเปรูได้แต่งตั้งให้หม่อมหลวงปรียพรรณ ศรีธวัช ดำรงตำแหน่งกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ จังหวัดเชียงใหม่ นายณัฐพล ประคุณศึกษาพันธ์ ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ จังหวัดขอนแก่น และนายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ อำเภอหาดใหญ่

การค้า

สาธารณรัฐเปรูเป็นคู่ค้าอันดับ 5 ของประเทศไทยในภูมิภาคลาตินอเมริกาและแคริบเบียน โดยเมื่อปี 2563 มีมูลค่าการค้ารวม 407 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งลดลงร้อยละ 23.66 จากปี 2562 (ประเทศไทยส่งออกคิดเป็นมูลค่า 260.84 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้า 146.16 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า 114.68 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

สินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศไทย ได้แก่ (1) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (2) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป (3) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (4) เครื่องซักผ้า เครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ (5) ผลิตภัณฑ์ยาง ส่วนสินค้านำเข้าที่สำคัญจากสาธารณรัฐเปรู ได้แก่ (1) สินแร่โลหะและผลิตภัณฑ์ (2) สัตว์น้ำสด แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป (3) ก๊าซธรรมชาติ (4) ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผักผลไม้ (5) เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ

นอกจากนี้ สองฝ่ายมีความตกลงว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น (ลงนามเมื่อปี 2546) และพิธีสารระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐเปรูเพื่อเร่งเปิดเสรีการค้าสินค้าและอำนวยความสะดวกทางการค้า (ลงนามเมื่อปี 2548) โดยปัจจุบันร้อยละ 70 ของสินค้าที่ค้าขายกันมีอัตราภาษีที่ร้อยละ 0

Rules of Origin

ประกาศ / กฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง

ประกาศกรมศุลกากร

ลขที่ประกาศ รายละเอียด
164/2566 หลักเกณฑ์และพิธีการการยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากสาธารณรัฐเปรู
47/2565 การแสดงหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าและคำรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า สำหรับผู้นำของเข้าที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
226/2564 หลักเกณฑ์และพิธีการการยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากสาธารณรัฐเปรู
149/2564 การแสดงหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าและคำรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า สำหรับผู้นำของเข้า ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19
50/2564 การแสดงหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า สำหรับผู้นำของเข้าที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(โควิด-19)
203/2563 การแสดงหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า สำหรับผู้นำของเข้าที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
166/2563 การแสดงหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า สำหรับผู้นำของเข้าที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(โควิด-19)
81/2563 การแสดงหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า สำหรับผู้นำของเข้าที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
156/2560 หลักเกณฑ์และพิธีการเกี่ยวกับการยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากสาธารณรัฐเปรู
231/2559 หลักเกณฑ์และพิธีการการยกเว้นอากรและการลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากสาธารณรัฐเปรู
11/2555 ประกาศกรมศุลกากรที่ 11/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์และพิธีการเกี่ยวกับการยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนินจากสาธารณรัฐเปรู
95/2554 ประกาศกรมศุลกากร ที่ 95/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์และพิธีการเกี่ยวกับการยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากสาธารณรัฐเปรู
                                                                                                                                                |

ที่มาบทความ:

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ส่วนกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (สกก.) กองพิกัดอัตราศุลกากร (กพก.)

  • หมายเลขโทรศัพท์ : 0-2667-7014 หรือ 0-2667-6459
  • อีเมล์ : 80150000@customs.go.th