ความตกลงการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement-JTEPA)


ความเป็นมา

ในระหว่างการประชุม Boao Forum for Asia ณ มณฑลไหหลำ สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2545 นายกรัฐมนตรีไทยและญี่ปุ่นได้หารือและเห็นควรให้มีการจัดตั้งคณะทำงานร่วม เพื่อศึกษาการเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดไทย-ญี่ปุ่น เพื่อผลักดันความร่วมมือที่ครอบคลุมรอบด้าน ทั้งด้านการค้า การลงทุน อุตสาหกรรม และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งการจัดทำความตกลงการค้าเสรี โดยให้ยึดรูปแบบความตกลง Japan-Singapore for a New-Age Economic Partnership Agreement (JSEPA) เป็น ตัวอย่างในการทำความตกลงไทย-ญี่ปุ่น และต่อมา ในวันที่ 11 ธันวาคม 2546 ผู้นำทั้งสองได้พบหารือทวิภาคีและเห็นชอบให้เริ่มการเจรจาอย่างเป็นทางการ เพื่อจัดทำความตกลง JTEPA โดยให้เริ่มการประชุมเจรจาครั้งแรกที่ประเทศไทยในต้นปี 2547

หลังจากทั้งสองฝ่ายได้เจรจาทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการมากกว่า 10 ครั้ง ก็สามารถบรรลุผลการเจรจาอย่างสมบูรณ์เมื่อเดือนมิถุนายน 2549 นายกรัฐมนตรี (พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์) และนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น (นายชินโช อาเบะ) ได้ลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น หรือ JTEPA เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2550 ณ กรุงโตเกียว โดย JTEPA เริ่มมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายเกริกไกร จีระแพทย์) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (นายอากิระ อะมะริ) ได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมกัน เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2550 ในการดำเนินโครงการความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุน จำนวน 7 เรื่อง ได้แก่ ความร่วมมือเพื่อสนับสนุนครัวไทยสู่โลก ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมรถยนต์ การอนุรักษ์พลังงาน อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เศรษฐกิจสร้างมูลค่า และหุ้นส่วนภาครัฐและเอกชน

Rules of Origin

Operation Certification Procedure

ประกาศ / กฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง

ประกาศกระทรวงการคลัง

ประกาศกรมศุลกากร

เลขที่ประกาศ รายละเอียด
47/2565 การแสดงหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าและคำรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า สำหรับผู้นำของเข้าที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
231/2564 หลักเกณฑ์และพิธีการการยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากญี่ปุ่น
149/2564 การแสดงหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าและคำรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า สำหรับผู้นำของเข้า ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19
50/2564 การแสดงหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า สำหรับผู้นำของเข้าที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(โควิด-19)
203/2563 การแสดงหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า สำหรับผู้นำของเข้าที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
166/2563 การแสดงหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า สำหรับผู้นำของเข้าที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(โควิด-19)
81/2563 การแสดงหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า สำหรับผู้นำของเข้าที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
155/2560 หลักเกณฑ์และพิธีการสำหรับการยกเว้นอากรและลดอัตราศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากญี่ปุ่น
238/2559 หลักเกณฑ์และพิธีการการยกเว้นอากรและการลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากญี่ปุ่น
78/2555 ประกาศกรมศุลกากรที่ ๗๘/๒๕๕๕ เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรมศุลกากรที่ ๕/๒๕๕๕
5/2555 ประกาศกรมศุลกากร ที่ ๕/๒๕๕๕ เรื่อง หลักเกณฑ์และพิธีการสำหรับการยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากญี่ปุ่น
68/2552 แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรมศุลกากรที่ 83/2550
83/2550 หลักเกณฑ์และพิธีการสำหรับการยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากญี่ปุ่น

ประกาศสำนักพิกัดอัตราศุลกากร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ส่วนกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (สกก.) กองพิกัดอัตราศุลกากร (กพก.)

  • หมายเลขโทรศัพท์ : 0-2667-7014 หรือ 0-2667-6459
  • อีเมล์ : 80150000@customs.go.th

ที่มาบทความ : กรมศุลกากร