ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน – จีน มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2548 โดยมีสินค้าผักและผลไม้ เป็นสินค้านำร่องที่ไทยกับจีนยกเลิกภาษีนำเข้าแล้ว ตั้งแต่ปี 2546 และทยอยยกเลิกภาษีของสินค้าที่เหลือซึ่งรวมแล้วกว่าร้อยละ 90 ของรายการสินค้าทั้งหมด มีอัตราภาษีนำเข้าเป็นศูนย์ โดยจัดกลุ่มการลดภาษีออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
-
สินค้านำร่อง ได้แก่ ผัก ผลไม้ สินค้าประมง ผลิตภัณฑ์นมและไข่ เป็นต้น ทั้งสองฝ่ายลดภาษีเหลือศูนย์แล้วตั้งแต่ปี 2549 โดยสินค้าที่ไทยได้ประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ โดยเฉพาะมันสำปะหลัง ซึ่งมีอัตราการขยายตัวมากกว่าร้อยละ 400 และสินค้าประมง ซึ่งมีอัตราการขยายตัวมากกว่าร้อยละ 290 เป็นต้น.
-
สินค้าปกติ มีจำนวนร้อยละ 90 ของรายการสินค้าทั้งหมด ทั้งสองฝ่ายลดภาษีเหลือศูนย์แล้วตั้งแต่ ปี 2553 โดยสินค้าที่ไทยได้ประโยชน์ เช่น สตาร์ชทำจากมันสำปะหลัง ซึ่งมีอัตราการขยายตัวมากกว่าร้อยละ 120 ส่วนประกอบเลเซอร์ ซึ่งมีอัตราการขยายตัวมากกว่าร้อยละ 2,000 ของผสมน้ำยางธรรมชาติและน้ำยางสังเคราะห์ ซึ่งมีอัตราการขยายตัวมากกว่าร้อยละ 120 ตัวประมวลผลวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีอัตราการขยายตัวมากกว่า ร้อยละ 110 และเม็ดพลาสติก ซึ่งมีอัตราการขยายตัวมากกว่าร้อยละ 45 เป็นต้น.
-
สินค้าอ่อนไหว ซึ่งเป็นสินค้าที่ทั้งสองฝ่ายต้องการเวลาปรับตัว จึงมีระยะเวลาการลดและยกเลิกภาษีนานกว่าสินค้าปกติ โดยลดอัตราภาษีลงเหลือไม่เกินร้อยละ 20 ในวันที่ 1 มกราคม 2555 และในวันที่ 1 มกราคม 2561 จะต้องลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0-5 ครอบคลุมสินค้าของฝ่ายไทย เช่น แป้งข้าวสาลี น้ำผลไม้ โพลีเอสเตอร์ ยางรถยนต์ รองเท้ากีฬา ของเล่น กระจก ตู้เย็น ตู้แช่ เครื่องรับโทรทัศน์ ไมโครเวฟ แบตเตอรี่ เป็นต้น และสินค้าของฝ่ายจีน เช่น กาแฟ ใบยาสูบ ขนสัตว์ ฝ้าย ปลายข้าว แป้งข้าวเจ้า สับปะรดแปรรูป กระดาษ โพลีเอสเตอร์ กระปุกเกียร์สำหรับยานยนต์ และถุงลมนิรภัย เป็นต้น โดยสินค้าที่คาดว่าไทยจะได้ประโยชน์จากการลดภาษีของจีน เช่น ใบยาสูบ กาแฟ ฝ้าย สับปะรดแปรรูป และโพลีเอสเตอร์ เป็นต้น
-
สินค้าอ่อนไหวสูง มีจำนวนรายการสินค้าไม่เกินร้อยละ 40 หรือ 100 รายการของสินค้าอ่อนไหวทั้งหมด (พิกัดศุลกากร 6 หลัก) แล้วแต่ว่าเงื่อนไขใดส่งผลให้มีรายการสินค้าอ่อนไหวสูงน้อยกว่า โดยสามารถคงอัตราภาษีไว้ได้จนถึง 1 มกราคม 2558 หลังจากนั้น ต้องลดภาษีมาอยู่ที่ไม่เกินร้อยละ 50 โดยครอบคลุมสินค้าของฝ่ายไทย เช่น สินค้าเกษตร 23 รายการที่มีโควตาภาษี (อาทิ นม ครีม มันฝรั่ง กระเทียม ไหมดิบ) หินอ่อน เป็นต้น และสินค้าของฝ่ายจีน เช่น ข้าวโพด ข้าว พืชน้ำมัน น้ำตาล กระดาษ ด้ายใยสังเคราะห์ กระดาษแข็ง เป็นต้น
การลดหย่อนภาษี
- สินค้าในตอนที่ 01 - 08 ปัจจุบันอัตราอากรเป็นร้อยละ 0
- ทยอยลดภาษีลงเป็นร้อยละ 0 ภายใน ปี 2555 ดังนี้
- ปี 2552 ประมาณ 3,382 ประเภทย่อย หรือร้อยละ 40.75
- ปี 2553 ประมาณ 7,295 ประเภทย่อย หรือร้อยละ 87.89
- ปี 2555 ประมาณ 7,467 ประเภทย่อย หรือร้อยละ 89.96
- สินค้าที่ไม่ลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 มีจำนวน 654 ประเภท ย่อย หรือร้อยละ7.88
- สินค้าโควตา ผูกพันภายใต้ WTO ในตอนที่ 01 - 08 จำนวน 16 ประเภทย่อย หรือร้อยละ 0.19 ปัจจุบันอัตราอากร ในโควตา เป็นร้อยละ 0 ส่วนที่เหลือ ยังเจรจาไม่เสร็จสิ้น
อัตราอากร และประเทศที่ได้รับการยกเว้น
Rules of Origin
Operation Certification Procedure
ประกาศ / กฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2564
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ฉบับที่2)
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน - จีน ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2560
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากอาเซียน-จีน (30 ธันวาคม 2559)
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ลงวันที่ 6 มกราคม 2555
- ประกาศสำนักพิกัดอัตราศุลกากร ที่ 2/.2554 เรื่อง กรณีระบุข้อมูลในช่องที่ 1 ไม่เพียงพอและไประบุข้อมูลเพิ่มเติมของช่องที่ 1 ในช่องที่ 7 ของ Form E
- ประกาศสำนักพิกัดอัตราศุลกากร ที่ 3/.2554 เรื่อง กรณี Form E หนึ่งฉบับสำแดงรายการเกิน 20 รายการ ภายใต้ประกาศกรมศุลกากรที่ 106/.2553
- ประกาศสำนักพิกัดอัตราศุลกากร ที่ 4/.2554 เรื่อง แนวทางปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหากรณีการใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ภายใต้ประกาศกรมศุลกากรที่ 106/.2553
- ประกาศสำนักพิกัดอัตราศุลกากร ที่ 5/.2554 เรื่อง การระบุข้อความในช่องที่ 3 ของ Form E และการชำระเงินค่าสินค้าไปยังประเทศที่สาม
- ประกาศสำนักพิกัดอัตราศุลกากร ที่ 6/.2554 เรื่อง เพิ่มเติมแนวทางปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหากรณีการใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ภายใต้ประกาศกรมศุลกากรที่ 106/ 2553
- ประกาศสำนักพิกัดอัตราศุลกากร ที่ 2/.2557 เรื่อง การตีความคำว่า “other quantity” ในช่องที่ 9 ของหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน (Form E)
- ประกาศสำนักพิกัดอัตราศุลกากรที่ 1/.2558 เรื่อง การตีความคำว่า “Third Party invoicing” ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน(ACFTA)
- ประกาศกองพิกัดอัตราศุลกากร ที่ 4/.2562 เรื่อง การใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรและลดอัตราอากรสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน
- ประกาศกองพิกัดอัตราศุลกากรที่ 5/.2562 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกองพิกัดอัตราศุลกากรที่ 4/ 2562
- ประกาศกองพิกัดอัตราศุลกากรที่ 8/.2562 เรื่อง การผ่อนผันการใช้หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Form E) รูปแบบเก่าที่ออกตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2562 ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน
- ประกาศกองพิกัดอัตราศุลกากรที่ 9/.2562 เรื่อง หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Form E) รูปแบบใหม่ ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน
- ประกาศกองพิกัดอ้ตราศุลกากร ที่ 3/.2563 เรื่อง เว็บไซต์สำหรับตรวจสอบหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า
- ประกาศกองพิกัดอัตราศุลกากร ที่ 4/.2563 เรื่อง การใช้บัญชีราคาสินค้า (Invoice) ฉบับซื้อขายในประเทศ ประกอบการปฏิบัติพิธีการศุลกากร เพื่อขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรี
Reference :