หมวดที่ 4 กระบวนการทางศุลกากรเกี่ยวกับการนำของเข้า
ข้อ 33 ในหมวดนี้
- การนำของเข้ามาในราชอาณาจักร หมายถึง การนำของใด ๆ จากภายนอกราชอาณาจักรเข้ามาในราชอาณาจักร โดยการขนส่งทางเรือ ทางอากาศยาน ทางรถไฟ ทางบก ทางท่อ ทางสายส่งไฟฟ้า ทางไปรษณีย์ เป็นต้น
- ในการปฏิบัติพิธีการศุลกากรหรือดำเนินการในกระบวนการทางศุลกากรกับของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรนั้น ให้ดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ณ ด่านศุลกากร หรือสนามบิน ที่เป็นด่านศุลกากรที่ระบุไว้ในบัญชีสินค้าว่ามีชื่อส่งของถึง
- เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติพิธีการหรือดำเนินการในกระบวนการทางศุลกากรกับของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรและจะขนเข้าเก็บในคลังสินค้าทัณฑ์บน หรือนำเข้าไปในเขตปลอดอากรและ / หรือ นำเข้าไปในเขตประกอบการเสรี ให้ดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ณ ด่านศุลกากร หรือสนามบินที่เป็นด่านศุลกากรที่ระบุไว้ในบัญชีสินค้าว่ามีชื่อส่งของถึง
ส่วนที่ 1 การปฏิบัติพิธีการใบขนสินค้าขาเข้าทางอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ 34 การส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า
- ให้ผู้นำของเข้าจัดทำข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าตามมาตรฐานที่กรมศุลกากรกำหนด แล้วเป็นผู้ส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร
- ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะตรวจสอบความถูกต้องเบื้องต้นกับแฟ้มข้อมูลอ้างอิง ตรวจสอบกับข้อมูลการอนุมัติ/อนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลบัญชีสินค้าสำหรับเรือ
- 2.1 ถ้าพบข้อผิดพลาดในการตรวจสอบความถูกต้องเบื้องต้นกับแฟ้มข้อมูลอ้างอิงระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะตอบรหัสข้อผิดพลาดกลับไปให้ผู้ส่งข้อมูล ให้ผู้นำของเข้าทำการแก้ไขข้อมูล และส่งข้อมูลการแก้ไขข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า (Version) เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร
- 2.2 ในการตรวจสอบความถูกต้องเบื้องต้นกับแฟ้มข้อมูลการอนุมัติ / อนุญาต ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หากพบข้อผิดพลาดระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะตอบรหัสข้อผิดพลาด กลับไปให้ผู้ส่งข้อมูล ให้ผู้นำของเข้าทำการแก้ไขข้อมูลและส่งข้อมูลการแก้ไขข้อมูลใบขนสินค้าเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร
- 2.3 ถ้าไม่พบข้อผิดพลาดระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะกำหนดเลขที่ใบขนสินค้าขาเข้าทางอิเล็กทรอนิกส์จำนวนสิบสี่หลัก ในสถานะพร้อมชำระค่าภาษีอากร และแจ้งเลขที่ใบขนสินค้าาเข้าทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ตอบกลับไปยังผู้ส่งข้อมูล โดยมีประเภทของเอกสารหลักมีค่าเป็น 0 = ใบขนสินค้าขาเข้า โดยถือเป็นการยื่นใบขนสินค้าขาเข้าโดยถูกต้องต่อกรมศุลกากรแล้ว
- กรณีผู้นำของเข้าส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรล่วงหน้า
- 3.1 กรณีที่ยังไม่มีการรายงานเรือเข้าสำเร็จ ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร จะตรวจสอบความถูกต้องเบื้องต้นกับแฟ้มข้อมูลอ้างอิง ตรวจสอบกับข้อมูลการอนุมัติ / อนุญาต ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และตอบกลับไปให้ผู้ส่งข้อมูลว่า ”ยังไม่มีการรายงานเรือเข้าสำเร็จ” โดยระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะไม่ออกเลขที่ใบขนสินค้าให้ จนกว่าระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะได้รับข้อมูลรายงานเรือเข้าสำเร็จ ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจึงจะตอบกลับเลขที่ใบขนสินค้าขาเข้าไปให้ผู้ส่งข้อมูลโดยอัตโนมัติ
- 3.2 กรณีมีการรายงานเรือเข้าแล้ว แต่ข้อมูลบัญชีสินค้าสำหรับเรือไม่ถูกต้องตรงกันกับใบขนสินค้าขาเข้า ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะตอบกลับไปให้ผู้ส่งข้อมูลว่า “ยังไม่พบข้อมูลบัญชีสินค้า” ให้ผู้นำของเข้าทำการตรวจสอบเพื่อแจ้งตัวแทนเรือแก้ไขบัญชีสินค้าสำหรับเรือ โดยระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะไม่ออกเลขที่ใบขนสินค้าให้ จนกว่าระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะได้รับข้อมูลบัญชีสินค้าสำหรับเรือที่ถูกต้องตรงกันกับใบขนสินค้าขาเข้า ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจึงจะตอบกลับเลขที่ใบขนสินค้าขาเข้าไปให้ผู้ส่งข้อมูลโดยอัตโนมัติ
- 3.3 ก่อนที่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะออกเลขที่ใบขนสินค้าให้ ผู้นำของเข้าสามารถส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรเพื่อแก้ไขข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าได้โดยไม่ต้องพิจารณาความผิด
- 3.4 กรณีตรวจพบความผิดพลาดในข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าที่ได้รับเลขที่แล้ว ให้ยื่นคำร้องต่อหน่วยงานบริการศุลกากรพิจารณาเป็นการเฉพาะกรณี
ข้อ 35 การชำระค่าภาษีอากร
ส่วนที่ 2 การรับของนำเข้าจากอารักขาศุลกากร
ข้อ 36 การตัดบัญชีสินค้าเพื่อตรวจปล่อยสินค้าจากอารักขาศุลกากร
- ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะทำการตรวจสอบข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าสถานะ พร้อมตัดบัญชีเพื่อตรวจปล่อยกับบัญชีสินค้า สำหรับเรือหรือบัญชีสินค้าสำหรับอากาศยานหรือบัญชียานพาหนะทางบกตามรายการ (Field Name) ที่กำหนดไว้ว่ามีข้อมูลถูกต้องตรงกันแล้วจึงทำการตัดบัญชีสินค้าให้โดยอัตโนมัติ
- ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะทำการตรวจสอบเงื่อนไข (Profile) ตามหลักการบริหารความเสี่ยงที่กรมศุลกากรกำหนดและจะแจ้งการประมวลผลการตัดบัญชีตรวจปล่อยหลังการชำระภาษีอากรแล้วให้ผู้ส่งข้อมูลทราบคำสั่งการตรวจ
- 2.1 กรณีใบขนสินค้าขาเข้าที่มีคำสั่ง “ยกเว้นการตรวจ” ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะบันทึกข้อมูล “ไม่ต้องตรวจสอบพิกัด ราคา และของ” (Green Line) พร้อมกับเปลี่ยนสถานะใบขนสินค้าขาเข้าเป็น “ใบขนสินค้าขาเข้าพร้อมส่งมอบของ” โดยอัตโนมัติ และระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะแจ้งข้อมูลการสั่งปล่อยสินค้าไปยังโรงพักสินค้าหรือที่มั่นคง เพื่อส่งมอบของให้แก่ผู้นำของเข้า และตอบกลับให้ผู้ส่งข้อมูลทราบถึงการสั่งปล่อยสินค้าออกจากอารักขาศุลกากรแล้ว
- 2.2 กรณีใบขนสินค้าขาเข้าที่มีคำสั่ง “ให้เปิดตรวจ” ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะบันทึกข้อมูล “ต้องตรวจสอบพิกัด ราคา และของ” (Red Line) และระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะส่งข้อมูลเตรียมของไปยังโรงพักสินค้าหรือที่มั่นคง และตอบกลับให้ผู้ส่งข้อมูลทราบถึงการให้เปิดตรวจเพื่อมาติดต่อโรงพักสินค้าหรือที่มั่นคงต่อไป
ข้อ 37 ให้ผู้นำของเข้าดำเนินการในกระบวนการทางศุลกากรให้ครบถ้วนก่อนการรับของออกจากโรงพักสินค้าหรือที่มั่นคง
- กรณีใบขนสินค้าขาเข้าที่มีคำสั่งยกเว้นการตรวจ
- 1.1. ให้ผู้นำของเข้าแจ้งเลขที่ใบตราส่งให้เจ้าหน้าที่โรงพักสินค้าหรือที่มั่นคงทราบ เพื่อติดต่อรับสินค้ากับโรงพักสินค้า หรือที่มั่นคง
- 1.2. กรณีไม่สามารถดำเนินกระบวนการทางศุลกากรโดยระบบการให้บริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียวได้ ให้ผู้นำของเข้ายื่นเอกสารในรูปแบบเอกสารแก่หน่วยงานบริการศุลกากร เช่น เอกสารแสดงการได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ ใบอนุญาต / ใบทะเบียน / หนังสืออนุญาตตามเงื่อนไขของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ก่อนการนำของออกจากโรงพักสินค้า หรือที่มั่นคง
- 1.3. หน่วยงานบริการศุลกากรจะลงรับเอกสารไว้ และจัดพนักงานศุลกากรเพื่อทำการตรวจสอบเบื้องต้นกับข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าในระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร หากตรวจพบว่าเอกสารไม่ตรงกับข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าจะพิจารณาดำเนินการเป็นการเฉพาะรายทันที
- กรณีใบขนสินค้าขาเข้าที่มีคำสั่งให้ตรวจสอบพิกัด ราคา และของ
- 2.1 ให้ผู้นำของเข้าติดต่อโรงพักสินค้า หรือที่มั่นคงเพื่อเตรียมของให้ตรวจสอบ
- 2.2 การตรวจสอบพิกัด ราคา และของ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในเรื่องการกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรและการกำหนดราคาศุลกากร
- 2.3 เมื่อตรวจสอบพิกัด ราคา และของแล้วเสร็จ พนักงานศุลกากรจะทำการบันทึกการตรวจในระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร และตอบกลับให้ผู้ส่งข้อมูลทราบถึงการตรวจปล่อยสินค้าออกจากอารักขาศุลกากรแล้ว เพื่อติดต่อรับของกับโรงพักสินค้า หรือที่มั่นคงต่อไป
ข้อ 38 การตรวจสอบพิกัด ราคา และของก่อนการตรวจปล่อยทางศุลกากร
- กรณีต้องตรวจสอบพิกัด ราคา และของ
- 1.1. ของตามข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าติดเงื่อนไขความเสี่ยงต้องตรวจสอบตามกฎหมายศุลกากร และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากร
- 1.2. กรณีที่ผู้นำของเข้าแจ้งความประสงค์ขอตรวจสอบพิกัดและ / หรือราคา ในขณะส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร
- 1.2.1 เนื่องจากได้มีการวางประกันสำหรับของชนิดและประเภทเดียวกันที่ได้นำเข้ามาก่อนหน้านี้
- 1.2.2 เนื่องจากได้มีการชำระภาษีอากรในตามพิกัดอัตราศุลกากรหรือตามราคา ที่สูงกว่า และบันทึกข้อมูลในช่องบันทึกอื่น ๆ (Remark) ของรายการในใบขนสินค้าขาเข้าว่าขอโต้แย้งพิกัด และ / หรือ ราคา จากที่สำแดงเป็นพิกัด / ราคาใด
- ในกรณีที่การตรวจสอบการแสดงราคาศุลกากร
- 2.1 หากพบว่ามีเหตุอันควรสงสัยในความจริงและความถูกต้องของรายละเอียด หรือเอกสารหรือข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อการปฏิบัติพิธีการศุลกากรนั้น
- (2.1.1) ให้พนักงานศุลกากรดำเนินการตรวจสอบความจริงหรือความถูกต้องของข้อความในเอกสารหรือการแสดงใด ๆ ที่ยื่นเพื่อความมุ่งหมายของการกำหนดราคาศุลกากร
- (2.1.2 )ใบขนสินค้าขาเข้าที่พบว่ามีเหตุอันควรสงสัยข้างต้น ให้หลุดพ้นจากเงื่อนไขการประกันเวลาการให้บริการ
- (2.2) ให้พนักงานศุลกากรแจ้งให้ผู้นำของเข้าจัดหาคำชี้แจงเกี่ยวกับราคาสำแดง คำอธิบายเพิ่มเติม รวมทั้งเอกสารหรือหลักฐานอื่น
- (2.3) ผู้นำของเข้าต้องยื่นคำชี้แจง อธิบายเพิ่มเติมรวมทั้งเอกสารหลักฐานอื่น ๆ เกี่ยวกับราคาที่แสดง ต่อพนักงานศุลกากรผู้ตรวจสอบราคาภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งดังกล่าว
- (2.4) ในกรณีที่ผู้นำของเข้าเพิกเฉยไม่ให้คำชี้แจงเกี่ยวกับราคาแสดงและเอกสารสนับสนุน ภายในเจ็ดวันนับแต่ได้รับหนังสือแจ้ง ให้ถือว่าราคาศุลกากรสำหรับของนำเข้านั้น ไม่อาจกำหนดได้ตามวิธีที่หนึ่ง ราคาซื้อขายของที่นำเข้า
- (2.5) เมื่อพนักงานศุลกากรผู้ตรวจสอบราคาได้รับคำอธิบายเพิ่มเติมรวมทั้งเอกสาร และหลักฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จนเพียงพอแก่การกำหนดราคาของของนั้นครบถ้วน พนักงานศุลกากรผู้ตรวจสอบราคาจะพิจารณากำหนดราคาศุลกากรให้แล้วเสร็จภายในห้าวันทำการ
- (2.6) กรณีที่ราคาตามแสดงสามารถกำหนดราคาศุลกากรตามวิธีที่หนึ่ง ราคาซื้อขายของนำเข้าได้ โดยราคาที่แสดงนั้นเป็นราคาซื้อขายของที่นำเข้าตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนด และการใช้ราคาศุลกากร พ.ศ. 2560 จะรับราคาตามแสดงเป็นราคาซื้อขายของที่นำเข้า
- (2.7) กรณีที่ผู้นำของเข้าประสงค์จะเพิ่มราคา
- (2.7.1) ให้ผู้นำของเข้าแจ้งให้พนักงานศุลกากรทราบว่าประสงค์จะเพิ่มราคา จากราคาที่แสดงให้ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ของการกำหนดราคาศุลกากรตามวิธีที่หนึ่ง ราคาซื้อขายของที่นำเข้า
- (2.7.2) พนักงานศุลกากรจะทำการบันทึกข้อมูลการเพิ่มราคาแต่ละรายการ ในแต่ละรายการในใบขนสินค้าขาเข้าใบขนสินค้าขาเข้าในระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร และเสนอให้หัวหน้าหน่วยงานบริการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายทำการบันทึกอนุมัติให้รับราคาที่ได้มีการเพิ่มเติมดังกล่าวเป็นราคาศุลกากรตามวิธีที่หนึ่ง โดยไม่ต้องพิจารณาความผิด
- (2.7.3) ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะแจ้งข้อมูลค่าภาษีอากรที่ต้องชำระเพิ่มให้ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ของการกำหนดราคาศุลกากรตามวิธีที่หนึ่ง ราคาซื้อขายของที่นำเข้าของใบขนสินค้าขาเข้ากลับไปให้ผู้ส่งข้อมูล
- (2.7.4) ให้ผู้นำของเข้าชำระค่าภาษีอากรเพิ่ม ณ หน่วยการเงินของด่านศุลกากร หรือสนามบินที่เป็นด่านศุลกากรที่นำของเข้าได้ เมื่อผู้นำของเข้าชำระภาษีอากรแล้ว ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะออกเลขชำระค่าภาษีอากร พร้อมกับเปลี่ยนสถานะใบขนสินค้าขาเข้าเป็น “ใบขนสินค้า ที่สามารถบันทึกผลการตรวจได้” โดยอัตโนมัติ
- (2.8) กรณีที่พนักงานศุลกากรยังมีเหตุอันควรสงสัยในความจริงและความถูกต้องของราคาที่แสดงและราคาของของนำเข้าตามแสดงไม่สามารถกำหนดเป็นราคาศุลกากรตามวิธีที่หนึ่ง ราคาซื้อขายของที่นำเข้าได้ ให้ถือเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นที่ทำให้การกำหนดราคาศุลกากรขั้นสุดท้ายต้องล่าช้าออกไป
- (2.8.1) หากผู้นำของเข้าประสงค์จะขอวางประกันเพิ่มเติมจนครบจำนวนค่าภาษีอากรสูงสุดที่อาจต้องเสียสำหรับของนั้น ให้นำของที่นำเข้านั้นออกไปจากอารักขาของศุลกากรได้ โดยตกลงกันยอมให้เอาแต่ตัวอย่าง รูปภาพ หรือรายละเอียดของของไว้วินิจฉัยปัญหา
- (2.8.2) พนักงานศุลกากรจะทำการบันทึกการประเมินราคาใหม่ และบันทึกที่มาของราคาที่ใช้ในการวางประกันแต่ละรายการของข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าในระบบคอมพิวเตอร์องศุลกากรและเสนอให้หัวหน้าหน่วยงานบริการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายทำการบันทึกอนุมัติการประเมินราคาใหม่ดังกล่าว
- (2.8.3) ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะแจ้งข้อมูลค่าภาษีอากรที่ต้องวางประกันเพิ่มเติมเพื่อนำของออกไปจากอารักขาศุลกากรกลับไปให้ผู้ส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า
- (2.8.4) ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะส่งข้อมูลการประเมินราคาเพิ่ม เพื่อการวางประกันออกของไปก่อนดังกล่าวเข้าสู่ระบบงานคดี โดยระบบจะให้เลขที่แฟ้มคดีโดยอัตโนมัติ แล้วให้พนักงานศุลกากรหน่วยคดีของด่านศุลกากร หรือสนามบินที่เป็นด่านศุลกากรที่นำเข้า ทำการกำหนดค่าเปรียบเทียบปรับภาษีอากร เบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือเบี้ยปรับภาษีอื่น ๆ (ถ้ามี) และบันทึกลงในระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรเพื่อการวางประกันออกของไปก่อนของผู้นำของเข้า
- (2.8.5) ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะแจ้งข้อมูลค่าภาษีอากรพร้อมค่าเปรียบเทียบปรับ/เบี้ยปรับภาษีอากรต่าง ๆ ที่ต้องวางประกันเพิ่มเติมเพื่อนำของออกไปจากอารักขาศุลกากรกลับไปให้ผู้ส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าทราบเพื่อมาติดต่อชำระ ณ หน่วยการเงินต่อไป
- (2.8.6) ให้ผู้นำของเข้าวางประกันค่าภาษีอากร พร้อมวางประกันค่าเปรียบเทียบปรับภาษีอากร ชำระเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม และ / หรือ วางประกันเบี้ยปรับภาษีอื่น ๆ (ถ้ามี) ณ หน่วยการเงินของด่านศุลกากร หรือสนามบินที่เป็นด่านศุลกากรที่นำของเข้าได้ เมื่อผู้นำของเข้าวางประกันเพิ่มออกของไปก่อนแล้วระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะออกเลขชำระค่าภาษีอากร พร้อมกับเปลี่ยนสถานะใบขนสินค้าขาเข้าเป็น “ใบขนสินค้าที่สามารถบันทึกผลการตรวจได้” โดยอัตโนมัติ
- (2.8.7) พนักงานศุลกากรจะตรวจปล่อยของออกจากอารักขาของศุลกากร โดยชักตัวอย่าง หรือรูปภาพ หรือหลักฐานอื่น เพื่อการพิจารณากำหนดราคาศุลกากรในภายหลัง
- (2.8.8) เมื่อพนักงานศุลกากรหน่วยงานบริการทำการบันทึกผลการตรวจปล่อยแล้ว ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าเข้าสู่ระบบคดีเพื่อพิจารณาต่อไป
- 2.1 หากพบว่ามีเหตุอันควรสงสัยในความจริงและความถูกต้องของรายละเอียด หรือเอกสารหรือข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อการปฏิบัติพิธีการศุลกากรนั้น
- ในกรณีที่การการตรวจสอบพบความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรและกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีศุลกากร หรือกฎหมายอื่นใด
- (3.1) เมื่อมีการตรวจพบความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรและกฎหมายว่าด้วย พิกัดอัตราภาษีศุลกากร หรือกฎหมายอื่นใด และของยังไม่ได้ตรวจปล่อยพ้นไปจากอารักขาของศุลกากร พนักงานศุลกากรจะทำการบันทึกข้อมูลการตรวจพบความผิดในระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร
- (3.2) ในกรณีที่ผู้นำของเข้ามีความประสงค์จะ ขอให้ตรวจปล่อยของออกไปก่อนแล้วพิจารณาภายหลัง
- (3.2.1) พนักงานศุลกากรจะทำการบันทึกการประเมินภาษีอากรใหม่ และบันทึกที่มา เช่น พิกัดอัตราอากรของการพิจารณาค่าภาษีอากรใหม่ แต่ละรายการของข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า ในระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร และเสนอให้หัวหน้าหน่วยงานบริการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ทำการบันทึกอนุมัติการประเมินภาษีอากรใหม่ดังกล่าว
- (3.2.2) ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะแจ้งข้อมูลค่าภาษีอากรที่ต้องวางประกันเพิ่มเติมเพื่อนำของออกไปจากอารักขาศุลกากรกลับไปให้ผู้ส่งข้อมูล
- (3.2.3) ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าดังกล่าว ให้หน่วยคดีของด่านศุลกากร หรือสนามบินที่เป็นด่านศุลกากรที่นำเข้าทราบ เพื่อตั้งแฟ้มคดีและทำการบันทึกค่าเปรียบเทียบปรับภาษีอากร เบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือเบี้ยปรับภาษีอื่น ๆ (ถ้ามี) ในระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรเพื่อการวางประกันออกของไปก่อนของผู้นำของเข้า เว้นแต่ของนั้นเป็นของต้องห้ามหรือของต้องกำกัดที่ให้ปฏิบัติตามระเบียบหรือตามกฎหมายที่กำหนดไว้สำหรับของนั้น ๆ ด้วย
- (3.2.4) ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะแจ้งข้อมูลค่าภาษีอากรพร้อมค่าเปรียบเทียบปรับ / เบี้ยปรับภาษีอากรต่าง ๆ ที่ต้องวางประกันเพิ่มเติมเพื่อนำของออกไปจากอารักขาศุลกากรกลับไปให้ผู้ส่งข้อมูล
- (3.2.5) ให้ผู้นำของเข้าวางประกันค่าภาษีอากร พร้อมวางประกันค่าภาษีอากรชำระเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม และ / หรือวางประกันเบี้ยปรับภาษีอื่น ๆ (ถ้ามี) ณ หน่วยการเงิน ของด่านศุลกากร หรือสนามบินที่เป็นด่านศุลกากรที่นำของเข้าได้ เมื่อผู้นำของเข้าวางประกันเพิ่ม ออกของไปก่อนแล้วระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะออกเลขชำระค่าภาษีอากร พร้อมกับเปลี่ยนสถานะใบขนสินค้าขาเข้าเป็น “ใบขนสินค้าที่สามารถบันทึกผลการตรวจได้” โดยอัตโนมัติ
- (3.2.6) พนักงานศุลกากรจะตรวจปล่อยของออกจากอารักขาของศุลกากร โดยชักตัวอย่างหรือรูปภาพ หรือหลักฐานอื่น เพื่อการพิจารณาในภายหลัง
- (3.2.7) เมื่อบันทึกผลการตรวจปล่อยแล้ว ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าเข้าสู่ระบบคดีเพื่อพิจารณาต่อไป
ข้อ 39 การรับมอบของไปจากโรงพักสินค้าหรือที่มั่นคง
- ให้ผู้นำของเข้าตรวจสอบว่าของที่นำเข้าตรงตามข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าที่ส่งเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร
- หากพบว่าของไม่ตรงตามแสดงให้แจ้งต่อส่วนบริการศุลกากร เพื่อขอแก้ไขก่อนการรับของไปจากโรงพักสินค้า หรือที่มั่นคง
- เมื่อส่วนบริการศุลกากรอนุญาตให้แก้ไขได้ ให้ผู้นำของเข้าส่งข้อมูลการแก้ไขข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรได้ โดยถือเป็นกรณีผู้นำของเข้าตรวจพบเอง
ข้อ 40 ของที่ได้ตรวจปล่อยออกจากอารักขาของศุลกากรแล้ว
- ของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรและได้ปล่อยออกจากอารักขาของศุลกากรแล้ว ให้ถือว่ามีชนิด คุณภาพ ปริมาณ น้ำหนัก ราคา หรือเกี่ยวกับอัตราอากร ถูกต้องตรงตามที่ผู้นำของเข้าได้ส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร
- ของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรและได้ยื่นใบขนสินค้าเพื่อขนเข้าเก็บในคลังสินค้าทัณฑ์บน เมื่อได้ทำการปล่อยออกจากอารักขาศุลกากรแล้ว ให้ถือว่าได้จดแจ้งรายละเอียดแห่งของที่ขนขึ้นเก็บในคลังสินค้าทัณฑ์บน ทั้งชนิด คุณภาพ ปริมาณ น้ำหนัก ราคา หรือเกี่ยวกับอัตราอากร ถูกต้องตรงตามที่ผู้นำของเข้าได้ส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร
- ของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อนำเข้าไปในเขตปลอดอากร และ / หรือ เขตประกอบการเสรี เมื่อได้ทำการปล่อยออกจากอารักขาศุลกากรแล้ว ให้ถือว่าของที่นำเข้าไปในเขตปลอดอากร และ / หรือ เขตประกอบการเสรีมี ชนิด คุณภาพ ปริมาณ น้ำหนัก ราคา หรือเกี่ยวกับอัตราอากร ถูกต้องตรงตามที่ผู้นำของเข้าได้ส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร
ข้อ 41 ให้โรงพักสินค้าหรือที่มั่นคงดำเนินกระบวนการทางศุลกากร ดังนี้
- กรณียกเว้นการตรวจ
- 1.1. เมื่อผู้นำของเข้าแจ้งเลขที่ใบตราส่งให้เจ้าหน้าที่โรงพักสินค้าหรือที่มั่นคงทราบ เพื่อติดต่อรับสินค้ากับโรงพักสินค้าหรือที่มั่นคง ให้โรงพักสินค้าหรือที่มั่นคงทำการตรวจสอบของที่จะทำการส่งมอบให้ตรงตามข้อมูลการสั่งปล่อย
- 1.2. ในกรณีของที่จะส่งมอบแก่ผู้นำของเข้าไม่ตรงตามข้อมูลการสั่งปล่อย หรือกรณีมีเหตุอันควรสงสัยด้วยประการใด ๆ ก็ตาม ให้เจ้าหน้าที่โรงพักสินค้าหรือที่มั่นคงแจ้งให้หน่วยงานบริการศุลกากรทราบเพื่อตรวจสอบโดยพลัน
- 1.3. เมื่อโรงพักสินค้าหรือที่มั่นคง ได้ส่งมอบของให้กับผู้นำของเข้าแล้ว ให้โรงพักสินค้า หรือที่มั่นคง แจ้งข้อมูลการส่งมอบของกลับเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร
- กรณีต้องตรวจสอบพิกัด ราคา และของ
- 2.1 เมื่อผู้นำของเข้าแจ้งเลขที่ใบตราส่งให้เจ้าหน้าที่โรงพักสินค้าหรือที่มั่นคงทราบ เพื่อติดต่อรับสินค้ากับโรงพักสินค้าหรือที่มั่นคง ให้โรงพักสินค้าหรือที่มั่นคงทำการเตรียมของให้พนักงานศุลกากรตรวจสอบ
- 2.2 เมื่อโรงพักสินค้าหรือที่มั่นคงเตรียมของแล้วเสร็จ ให้โรงพักสินค้าหรือที่มั่นคง แจ้งข้อมูลการเตรียมของพร้อมให้ตรวจแล้วเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร
- 2.3 ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะกำหนดพนักงานศุลกากรหน่วยงานบริการผู้ทำการตรวจสอบพิกัด ราคา และของโดยอัตโนมัติ
- 2.4 เมื่อตรวจสอบพิกัด ราคา และของแล้วเสร็จพนักงานศุลกากรจะทำการบันทึก การตรวจในระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร และแจ้งข้อมูลการสั่งปล่อยสินค้าให้โรงพักสินค้าหรือที่มั่นคงทราบ เพื่อส่งมอบของให้แก่ผู้นำของเข้า
- 2.5 เมื่อโรงพักสินค้าหรือที่มั่นคงได้ส่งมอบของให้กับผู้นำของเข้าแล้ว ให้โรงพักสินค้าหรือที่มั่นคงแจ้งข้อมูลการส่งมอบของกลับเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร
ด่านศุลกากร หรือสนามบินที่เป็นด่านศุลกากรที่นำของเข้าในขณะส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าเข้าสู่ระบบ
คอมพิวเตอร์ของศุลกากรข้อ 42 ในกรณีผู้นำของเข้าแจ้งความประสงค์ขอขนย้ายสินค้าไปตรวจปล่อยนอกเขต
ส่วนที่ 3 การขอแก้ไขข้อมูลการนำของเข้า
ข้อ 43 การขอแก้ไขข้อมูลให้ผู้นำของเข้า
- กรณีการขอยกเลิกใบขนสินค้าซึ่งได้รับการตอบกลับเลขที่ใบขนสินค้าขาเข้าไปยังผู้ส่งข้อมูลแล้ว ให้ยื่นคำร้องต่อหน่วยงานบริการศุลกากร ณ ด่านศุลกากร หรือสนามบินที่เป็นด่านศุลกากรที่นำของเข้าเพื่อพิจารณาเป็นการเฉพาะเป็นราย ๆ ไป
- กรณีก่อนรับของจากอารักขาศุลกากรพบว่าข้อมูลที่เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรแล้วมีความผิดพลาด คลาดเคลื่อนไม่ตรงตามความจริง ให้ยื่นคำร้องต่อหน่วยงานบริการศุลกากร ณ ด่านศุลกากร หรือสนามบินที่เป็นด่านศุลกากรที่นำของเข้าเพื่อพิจารณาเป็นการเฉพาะเป็นราย ๆ ให้ถือเป็นการตรวจพบความผิดเอง
- กรณีขอแก้ไขข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าในเรื่องใด ๆ ภายหลังการตรวจปล่อยไปจากอารักขาศุลกากรแล้ว ให้ยื่นคำร้องต่อหน่วยควบคุมทางศุลกากร ณ ด่านศุลกากร หรือ สนามบินที่เป็นด่านศุลกากรที่นำของเข้า หรือที่ทำการตรวจปล่อยของเพื่อพิจารณาเป็นการเฉพาะเป็นราย ๆ ไป