สิทธิประโยชน์และสิทธิพิเศษทางศุลกากร สำหรับผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอ (AEO-MRA)

บทความวิชาการ - สิทธิประโยชน์และสิทธิพิเศษทางศุลกากร ภายใต้ความตกลงยอมรับร่วมกัน สำหรับผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอ (AEO-MRA)

กรมศุลกากรเผยแพร่เอกสาร บทความวิชาการ - สิทธิประโยชน์และสิทธิพิเศษทางศุลกากร ภายใต้ความตกลงยอมรับร่วมกัน สำหรับผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอ (AEO-MRA) มีรายละเอียดดังนี้

องค์การศุลกากรโลก (World Customs Organization: WCO) ให้ความสำคัญในกระบวนการรักษาความปลอดภัยทางโลจิสติกส์ และการค้าระหว่างประเทศตั้งแต่ต้นทางของการขนส่งจึงได้กำหนดกรอบมาตรฐานในการรักษาความปลอดภัยและการอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างประเทศ เรียกว่า SAFE Framework of Standards to Secure and Facilitate Global Trade (SAFE Framework) หนึ่งในกลไกสำคัญของ SAFE Framework คือ โครงการ Authorized Economic Operator (AEO) ซึ่งหมายถึงองค์กรหรือบริษัทที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้าที่ได้รับการรับรองจากศุลกากรของแต่ละประเทศว่าได้ปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานขององค์การศุลกากรโลกหรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า ในเรื่องการรักษาความปลอดภัยในห่วงโซ่อุปทาน ทั้งนี้ผู้เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทาน รวมถึง ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ตัวแทนออกของ ผู้ขนส่ง ผู้รวบรวมสินค้า ท่าเรือ ท่าอากาศยาน ผู้ประกอบการกิจการท่ารถ เจ้าของโรงพักสินค้าและตัวแทนจำหน่ายสินค้า เป็นต้น

กรมศุลกากรในฐานะสมาชิกองค์การศุลกากรโลกได้ลงนามใน Letter of Intent เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2549 เพื่อแสดงเจตนารมณ์ในการนำกรอบมาตรฐานความปลอดภัยขององค์การศุลกากรโลก (SAFE Framework) มาใช้เพื่อให้หน่วยงานศุลกากรและภาคเอกชนตระหนักถึงความปลอดภัยในห่วงโซ่อุปทาน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศ และอำนวยความสะดวกทางการค้าในการปฏิบัติพิธีการศุลกากร โดยได้เริ่มดำเนินโครงการผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอตั้งแต่ปี 2550 ซึ่งผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอ จะได้รับสิทธิประโยชน์และสิทธิพิเศษในด้านต่าง ๆ ได้แก่ด้านพิธีการศุลกากร ด้านสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร หรือด้านคดี

บทความโดย : นางกิจจาลักษณ์ ศรีนุชศาสตร์ รองอธิบดีกรมศุลกากร

ที่มา : กรมศุลกากร
วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 27 กันยายน 2566