สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า

บทความวิชาการ - สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า

กรมศุลกากรเผยแพร่เอกสาร บทความวิชาการ - สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า มีรายละเอียดดังนี้

ตลาดยานยนต์ไฟฟ้าของโลกเติบโตขึ้นอย่างมากจากยอดขายประมาณ 7.8 พันคันในปีพ.ศ.2553 มาสู่ยอดขาย 10.2 ล้านคันในปี 2565 โดยมีจีนเป็นผู้ผลิตอันดับหนึ่งของโลกด้วยส่วนแบ่งการตลาดประมาณร้อยละ 58 โดยนอกจากแนวโน้มของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไฟฟ้า จะเติบโตแล้ว ในปัจจุบันยังมีการขยายตัวของการใช้รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ไฟฟ้าด้วย ทั้งนี้ตลาดยานยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ อยู่ที่ประเทศจีน ยุโรป สหรัฐอเมริกา เกาหลีเหนือ ญี่ปุ่น ตามลำดับ โดยมีประเทศจีนเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก

รายงานของธนาคารโลกร่วมกับ International Association of Public Transport (UITP) เรื่องElectric Mobility & Development ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2561 ชี้ให้เห็นว่าตลาดยานยนต์ไฟฟ้าของโลกมีการแทรกแซงโดยรัฐบาลด้วยวิธีการต่าง ๆ ทั้งการส่งเสริมเบื้องต้นอย่างง่ายด้วยมาตรการทางศุลกากรและกฎระเบียบพื้นฐาน หรือมาตรการที่สูงขึ้นไป เช่น การอุดหนุน การให้สิทธิพิเศษ หรือการพัฒนาเครือข่ายประจุแบตเตอรี่ เป็นต้น นอกจากนี้รายงานของธนาคารโลกยังแสดงให้เห็นถึงศักยภาพ ของการสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้าว่าสามารถเป็นการลดปัญหาเรื่องพลังงานและสิ่งแวดล้อมได้ โดยบริหารจัดการการสัญจรด้วยยานยนต์ไฟฟ้า ในเรื่องการใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียน รวมถึงการใช้และการผลิตแบตเตอรี่ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด

ดังนั้น การส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าด้วยมาตรการต่าง ๆ จะเป็นหลักประกันการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ ในประเทศไทย เพื่อประโยชน์ในด้านการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและในด้านสิ่งแวดล้อม ในการนี้กรมศุลกากรได้มีบทบาทในเรื่องนี้ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามมติคณะรัฐมนตรีซึ่งต่อมาได้มีประกาศกระทรวงการคลังเรื่องการลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่สำเร็จรูป และประกาศกรมศุลกากรเรื่องหลักเกณฑ์ และพิธีการสำหรับการยกเว้นอากรศุลกากร สำหรับชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้าหรือเรือแบบพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่

บทความโดย : นางกิจจาลักษณ์ ศรีนุชศาสตร์ รองอธิบดีกรมศุลกากร

ที่มา : กรมศุลกากร
วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 20 กันยายน 2566