เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area AFTA)
เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) เกิดจากความต้องการร่วมมือทางการค้าจากประเทศต่างๆในอาเซียน เพื่อให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจ และเพิ่มอำนาจในการต่อรองทางด้านเศรษฐกิจในเวทีโลก พร้อมกันนี้อาเซียนยังมีความต้องการที่จะดึงดูดประเทศต่างๆให้เข้ามาลงทุน เพื่อความเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องภายในภูมิภาค โดย AFTA นั้นจะทำให้การค้าขายสินค้าในอาเซียนเป็นไปอย่างเสรี มีการคิดอัตราภาษีระหว่างกันในระดับที่ต่ำและปราศจากข้อกำหนดทางการค้า อันจะส่งผลให้ประเทศสมาชิกจะมีต้นทุนการผลิตสินค้าที่ลดลง อีกทั้งเป็นการเพิ่มปริมาณทางด้านการค้าในภูมิภาคให้มีมากขึ้น ทำให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและมั่นคง
อาเซียนดำเนินการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) โดยมุ่งเน้นไปที่การขจัดอุปสรรคทางการค้าทั้งหลายภายในภูมิภาค ทั้งในด้านภาษีและเครื่องกีดขวางทางการค้าต่างๆที่มิใช่ภาษี ยกตัวอย่างเช่นการจำกัดโควต้าการนำเข้า เป็นต้น
โดยจะยกเว้นแต่เพียงสินค้าที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง ศีลธรรม ชีวิต และศิลปะ เท่านั้น ซึ่งมาตรการที่สำคัญที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้นมาตรการทางภาษี โดยอาเซียนมีเป้าหมายในการลดภาษีในบัญชีลดภาษี (IL) ให้เหลือร้อยละ 0-5 ภายในค.ศ.2002 และตั้งเป้าให้เหลือร้อยละ 0 ภายใน ค.ศ.2010 สำหรับประเทศ ASEAN 6 (ประเทศไทย ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงคโปร์ ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศบรูไน) ยกเว้น สินค้าอ่อนไหว (SL) เช่น กลุ่มสินค้าประเภทมันฝรั่ง กาแฟของประเทศไทย หรือ กลุ่มสินค้าประเภท กาแฟ ชา ของประเทศบรูไน เป็นต้น โดยสินค้าประเภทนี้กำหนดให้ต้องลดภาษีเหลือ 0-5% ภายใน ค.ศ.2010 และยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษี และยกเว้นรายการสินค้าอ่อนไหวสูง (HSL) เช่น กลุ่มสินค้าประเภทข้าวของมาเลเซีย ที่จะต้องลดภาษีจากร้อยละ 40 ให้เหลือร้อยละ 20 ในค.ศ.2010 สำหรับกลุ่มประเทศ CLMV (ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม ประเทศเมียนมาร์ และประเทศกัมพูชา) นั้น ได้มีเป้าหมายในการลดภาษีในบัญชีลดภาษี (IL) ให้เหลือ ร้อยละ 0-5 ภายใน ค.ศ.2010 และตั้งเป้าให้เหลือร้อยละ 0 ภายใน ค.ศ.2015 ยกเว้นสินค้าอ่อนไหว (SL) และสินค้าอ่อนไหวสูง (HSL) เช่นเดียวกัน
โดยการกำหนดมาตรการดังกล่าวก็เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่มุ่งเป็นตลาดเดียวและฐานการผลิตร่วมกัน และเป้าหมายในการเชื่อมโยงเศรษฐกิจอาเซียนกับเศรษฐกิจโลกด้วย
ประเทศสมาชิก
- ประเทศกัมพูชา
- ไทย
- บรูไน
- ประเทศพม่า
- ฟิลิปปินส์
- มาเลเซีย
- ลาว
- เวียดนาม
- สิงคโปร์
- อินโดนีเซีย
หลักเกณฑ์และพิธีการศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากอาเซียน
ประกาศกรมศุลกากร ที่ 229/.2564 เรื่อง หลักเกณฑ์และพิธีการการยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากอาเซียน
หมวด 1 เกณฑ์การได้ถิ่นกำเนิดสินค้าและข้อกำหนดการส่งมอบ
หมวด 2 การรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า
หมวด 3 การปฏิบัติพิธีการศุลกากรสำหรับผู้นำของเข้า
เอกสารแนบ
- บทที่ 3 กฏว่าด้วยถิ่นกําเนิดสินค้า
- ภาคผนวก 5 หลักเกณฑ์และแนวทางสําหรับการคํานวณสัดส่วนมูลค่าการผลิต ในภูมิภาค
- ภาคผนวก 6 แนวทางการปฏิบัติสําหรับการสะสมถิ่นกําเนิดแบบบางส่วน (Partial Cumulation) ภายใต้ข้อ 30 (2) ของกฏว่าด้วยถิ่นกําเนิดสินค้าแบบ สะสมของอาเซียน
- ภาคผนวก 3 กฏเฉพาะรายสินค้า
- เอกสารแนบ 1 ของภาคผนวก 3 การเปลี่ยนรูปสินค้าในสาระสําคัญ สําหรับสิ่งทอและผลิตภัณฑ์สิ่งทอ
- ภาคผนวก 4 สินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามพิกัดศุลกากรฮาร์โมในซ์อาเซียน (AHTN) ฉบับปี 2017
- ภาคผนวก 8 ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับหนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้า
- ภาคผนวก 7 หนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้า
- Electronic ATIGA Form D Process Specification and Message Implementation Guideline
ภาคผนวก
ประกาศ / กฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง
ประกาศกระทรวงการคลัง
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากอาเซียน ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2564
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากอาเซียน ลงวันที่ 18 กันยายน 2563 (ฉบับที่ 2)
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากอาเซียน ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2560
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากอาเซียน (30 ธันวาคม 2559)
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากอาเซียน (ฉบับที่ 2)
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากอาเซียน
ประกาศกรมศุลกากร
ประกาศสำนักพิกัดอัตราศุลกากร
- ประกาศสำนักพิกัดอัตราศุลกากร ที่่ 8/2554 เรื่อง การยื่น Invoice Declaration จากประเทศบรูไน ดารูซาลาม มาเลเซีย และสิงคโปร์ เพื่อผ่านพิธีการศุลกากรในการใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรในระบบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองของอาเซียน โดยการวางประกัน
- ประกาศสำนักพิกัดอัตราศุลกากร ที่ 2/2559 การระบุใน Form D กรณีการซื้อขายผ่านนายหน้าโดยนายหน้าและผู้ผลิตอยู่ในประเทศเดียวกัน
- ประกาศสำนักพิกัดอัตราศุลกากร ที่่ 1/2561เรื่อง การสะสมถิ่นกำเนิดสินค้าระหว่าง Form D กับโครงการนำร่องการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองของภูมิภาคโครงการที่ 1และโครงการที่ 2 ภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน
- ประกาศสำนักพิกัดอัตราศุลกากรที่ 3/2561 เรื่องการตีความคำว่า ‘other quanity’ ในช่องที่ 9 ของหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Form D) ภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน
- ประกาศกองพิกัดอัตราศุลกากรที่ 10/2562 เรื่อง การใช้ Back-to-Back CO ควบคู่กับการใช้ใบกำกับราคาสินค้า Third Country invoicing ภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน
- ประกาศกองพิกัดอัตราศุลกากร ที่ 4/2563 เรื่อง การใช้บัญชีราคาสินค้า (Invoice) ฉบับซื้อขายในประเทศ ประกอบการปฏิบัติพิธีการศุลกากร เพื่อขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรี
- ประกาศกองพิกัดอัตราศุลกากรที่ 8/2563 เรื่อง รายชื่อประเทศสมาชิกอาเซียนที่สามารถออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Form D) ที่มีตราประทับและลายมือชื่อของผู้มีอำนาจลงนามอยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน
- ประกาศกองพิกัดอัตราศุลกากรที่ 7/2564 เรื่อง รายชื่อประเทศสมาชิกอาเซียนที่สามารถออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Form D) ที่มีตราประทับและลายมือชื่อของผู้มีอำนาจลงนามอยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน
- ประกาศกองพิกัดอัตราศุลกากร ที่5/2565 เรื่อง รายชื่อประเทศสมาชิกอาเซียนที่สามารถออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Form D) ที่มีตราประทับและลายมือชื่อของผู้มีอำนาจลงนามอยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน
- ประกาศกองพิกัดอัตราศุลกากร ที่ 9/2565 เรื่อง ตารางปัญหาและแนวทางแก้ไขการใช้หลักฐานการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าภายใต้ความตกลงการค้าเสรี
เอกสารเพิ่มเติม
Reference :