มาตรการปกป้องการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น (Safeguard Measure)

มาตรการปกป้องการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น เป็นมาตรการทางการค้าที่ประเทศผู้นำเข้า ใช้ในการคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในที่ได้รับความเสียหาย หรือมีแนวโน้มที่จะได้รับความเสียหาย จากการนำข้าที่เพิ่มมากขึ้นมากกว่าปกติ เพื่อเปิดโอกาสให้อุตสาหกรรมภายในของประเทศดังกล่าว สามารถปรับตัวให้สามารถแข่งขันกับสินค้านำเข้าได้

การใช้มาตรการ SG ของไทย

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ปัจจัยสำคัญในการพิจารณาใช้มาตรการ SG

  1. ปริมาณการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นปริมาณเพิ่มขึ้นจริง อย่างชัดเจน (Absolute Increased) หรือ ปริมาณเพิ่มขึ้นโดยเปรียบเทียบ (Relative Increased) ระหว่างปริมาณนำเข้ากับปริมาณการผลิตในประเทศ

  2. การนำเข้าที่เพิ่มขึ้นนั้น เป็นผลจากเหตุการณืที่ไม่อาจคาดการณืล่วงหน้าได้ (Unforeseen Development)

  3. การนำเข้าที่เพิ่มขึ้นนั้นก่อให้เกิดหรือคุกคามให้เกิด ‘ความเสียหายอย่างร้ายแรง’ (Serious Injury or Threat thereof) ต่ออุตสาหกรรมภายใน ทั้งนี้ ปัจจัยหลักในการพิจารณาความเสียหายได้แก่

    • อัตราและปริมาณของการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น
    • ส่วนแบ่งตลาดของสินค้านำเข้าที่เพิ่มขึ้น
    • การเปลี่ยนแปลงของระดับการขาย
    • การเปลี่ยนแปลงของระดับผลผลิต
    • การเปลี่ยนแปลงของระดับผลิตภาพ
    • การเปลี่ยนแปลงของระดับกำลังการผลิตที่ใช้จริง
    • การเปลี่ยนแปลงของระดับกำไรและขาดทุน
    • การเปลี่ยนแปลงของระดับการจ้างงาน

ประเภทของมาตรการ Safeguards

​​​​​​​1. Global Safeguards (SG) คือ มาตรการ SG ภายใต้ความตกลงว่าด้วยมาตรการ SG ของ WTO และ Article X ของ GATT 1994 ที่ใช้บังคับกับสินค้านำเข้าจากทุกประเทศโดยไม่คำนึงถึงแหล่งที่มาของสินค้า Bilateral Safeguards หรือ Transitional Safeguards คือ มาตรการ SG สองฝ่ายภายใต้ความตกลงการค้าเสรี หรือความตกลงสองฝ่ายอื่นๆ ซึ่งใช้บังคับกับสินค้านำเข้าเฉพาะจากประเทศคู่ภาคี และใช้กับสินค้าที่อยู่ในรายการสินค้าลด / เลิกอากรศุลกากรระหว่างกัน

  1. Special Safeguards (SSG) คือ
  • มาตรการปกป้องพิเศษภายใต้ความตกลงเกษตรของ WTO ที่ใช้บังคับกับสินค้าเกษตรที่ผูกพันไว้กับ WTO ซึ่งนำเข้าจากทุกประเทศ
  • มาตรการปกป้องพิเศษ ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีที่ใช้บังคับกับสินค้าที่มีความอ่อนไหว (sensitive) ที่ภาคี 2 ฝ่ายกำหนดร่วมกัน

ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ใช้มาตรการ SG คือ

  1. อุตสาหกรรมภายในผู้ผลิตสินค้าชนิดเดียวกัน (Like product) หรือแข่งขันโดยตรง (directly competitive) กับสินค้านำเข้าที่ถูกพิจารณา (product under consideration) ซึ่งมี ปริมาณการผลิตเป็นสัดส่วนใหญ่ (a major proportion) ของปริมาณการผลิตรวมทั้งประเทศ โดยอาจเป็นผู้ผลิตรายใหญ่รายเดียว หรือหลายรายที่มีผลผลิตรวมกันเป็นสัดส่วนใหญ่
  2. หน่วยงานผู้มีอำนาจในการไต่สวน (กรมการค้าต่างประเทศ) เปิดไต่สวนเอง (กรณีที่ไม่มีการยื่นคำร้องขอของอุตสาหกรรมภายในตาม 4.1) หากกรมการค้าต่างประเทศเห็นว่ามีการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้น และมีหลักฐานว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมภายใน ซึ่งเป็นผลจากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้นนั้น

ข้อกำหนดในการใช้มาตรการ SG

  1. มาตรการ SG จะใช้บังคับกับสินค้านำเข้าจากทุกประเทศโดยไม่คำนึงถึงแหล่งที่มาของสินค้า ซึ่งเป็นไปตามหลักการปฏิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง (Most-Favored Nation: MFN) ยกเว้นมาตรการ Bilateral SG และ Special SG ภายใต้การค้าเสรี จะใช้บังคับเฉพาะสินค้าจากประเทศคู่ภาคี
  2. ให้ใช้มาตรการ SG เท่าที่จำเป็นเพื่อป้องกันหรือบำบัดความเสียหาย และเพื่อให้อุตสาหกรรมภายในมีระยะเวลาในการปรับตัว
  3. เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามข้อ 5.2 อุตสาหกรรมภายในที่ยื่นคำร้องขอให้ไต่สวน ต้องทำแผนการปรับตัวยื่นต่อกรมการค้าต่างประเทศภายในกำหนด 3 เดือนนับแต่วันประกาศใช้มาตรการ SG
  4. มาตรการ Global SG มีข้อยกว้นว่าไม่ให้ใช้มาตรการGlobal SG กับสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากประเทศกำลังพัฒนา ตราบเท่าที่ส่วนแบ่งการนำเข้าจากประเทศนั้น ไม่เกินร้อยละ 3 ของปริมาณการนำเข้าสินค้านั้นโดยรวม แต่ทั้งนี้สินค้าที่นำเข้าจากประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายที่มีส่วนแบ่งการนำเข้าไม่เกินร้อยละ 3 นั้น รวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 9 ของปริมาณการนำเข้าสินค้านั้นโดยรวม

รูปแบบและระยะเวลาในการบังคับใช้มาตรการ SG

  1. มาตรการปกป้องชั่วคราว (Provisional Measure) หากพิจารณาในเบื้องต้นพบว่า การนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้นได้ก่อให้เกิดความเสียหายและเป็นสถานการณ์วิกฤต ซึ่งหากดำเนินการล่าช้าจะก่อให้เกิดผลเสียหาย ยากต่อการแก้ไข ประเทศผู้ใช้มาตรการสามารถใช้มาตรการปกป้องชั่วคราวได้ โดยมีเงื่อนไขดังนี้
  • มาตรการที่ใช้ควรอยู่ในรูปของการเพิ่มอากรขาเข้า เพื่อให้ง่ายต่อการคืนในกรณีที่ไต่สวนแล้วไม่พบความเสียหาย.
  • ระยะเวลาที่ใช้ต้องไม่เกิน 200 วัน
  • หากผลการไต่สวนพบว่าการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้นไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหาย จะต้องคืนอากรที่เรียกเก็บเพิ่มให้แก่ผู้นำเข้า
  1. มาตรการปกป้องทั่วไป (Global SG)
  • สามารถดำเนินการใช้มาตรการทางภาษี หรือจำกัดปริมาณการนำเข้า
  • ใช้บังคับได้ในระยะเวลาที่จำเป็น แต่ไม่เกินครั้งละ 4 ปีนับแต่วันประกาศบังคับใช้
  • กรณีจำเป็น สามารถขยายระยะเวลาการใช้มาตรการ ทั้งนี้ ระยะเวลาที่บังคับใช้ทั้งหมดซึ่งรวมทั้งระยะเวลาที่บังคับใช้มาตรการชั่วคราวแล้วต้องไม่เกิน 10 ปี สำหรับประเทศกำลังพัฒนา และ 8 ปีสำหรับประเทศพัฒนาแล้ว

ขั้นตอนและกระบวนการใช้มาตรการ SG

  • อุตสาหกรรมภายในยื่นคำร้องขอตามแบบที่กำหนดต่อกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เพื่อขอให้เปิดการไต่สวน
  • กรมการค้าต่างประเทศ พิจารณาคำร้องขอว่ามีมูลหรือไม่ หากมีมูลจะประกาศเปิดการไต่สวน โดยจะต้องแจ้ง WTO เพื่อแจ้งเวียนประเทศสมาชิกทราบ และแจ้งรัฐบาลประเทศ ผู้ส่งออก รวมทั้งจัดส่งแบบสอบถามให้ผู้มีส่วนได้เสีย
  • กรมการค้าต่างประเทศดำเนินการไต่สวนความเสียหาย โดยพิจารณาจากปัจจัยหลัก 8 ปัจจัยที่กล่าวไว้ข้างต้น และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) และนำเสนอผลการไต่สวนต่อคณะกรรมการพิจารณามาตรการปกป้อง (คปป.) เพื่อวินิจฉัย
  • คปป. วินิจฉัยผลการไต่สวนและนำเสนอ รมว. พาณิชย์พิจารณาเห็นชอบ
  • รมว. พาณิชย์พิจารณาคำวินิจฉัย หากเห็นชอบ กรมการค้าต่างประเทศจะออกประกาศบังคับใช้มาตรการ

สรุปสถานะมาตรการ SG

ข้อกฎหมาย

ประกาศกระทรวงพาณิชย์

ขั้นตอนการไต่สวน

การแก้ต่างเมื่อสินค้าไทยถูกประเทศคู่ค้าฟ้องภายใต้มาตรการ SG

ในกรณีที่สินค้าจากไทยถูกปรเทศคู่ค้าไต่สวนเพื่อใช้มาตรการ SG กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบทั้งด้านไต่สวนประเทศคู่ค้าและแก้ต่างเมื่อถูกประเทศคู่ค้าไต่สวน จะร่วมกับผู้ส่งออกและหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อกำหนดกลยุทธ์และแนวทางการแก้ต่าง และยกประเด็นต่อสู้ตามกระบวนการในแต่ละขั้นตอนของการไต่สวน

  1. การดำเนินการของประเทศที่ฟ้องสินค้าไทย

    • แจ้งประกาศเปิดไต่สวนพร้อมเหตุผลในการเปิดต่อ WTO เพื่อให้เวียนประเทศสมาชิกทราบ
    • มีหนังสือแจ้งการเปิดไต่สวนและแบบสอบถามมายังผู้ผลิต / ผู้ส่งออก (ที่ทราบ) โดยตรง
    • มีหนังสือแจ้งการเปิดไต่สวนไปยังสถานทูตไทยประจำประเทศที่เปิดไต่สวน
  2. การแก้ต่างของผู้ส่งออก / ผู้ผลิต

    • ประสานกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เพื่อหารือกำหนดกลยุทธ์ในการแก้ต่าง / ต่อสู้
    • รวบรวมข้อมูลปริมาณการส่งออกและข้อมูลการนำเข้าสินค้าที่ถูกฟ้องของประเทศที่เปิดไต่สวนในเวลา 3-5 ปี (ตามระยะเวลาของข้อมูลที่ใช้ในการไต่สวน) เพื่อตรวจสอบว่าสินค้าไทยที่ถูกฟ้อง อยู่ในข่ายได้รับการยกเว้นจกการใช้มาตรการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่
    • รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการตอบแบบสอบถาม และเตรียมบุคลากรในการตอบแบบสอบถามดังกล่าว
    • ตรวจสอบกรอบเวลาในการตอบแบบสอบถาม และการเข้าร่วมให้ข้อคิดเห็น เพื่อให้ทันระยะเวลาที่กำหนด