พิธีการสำหรับสินค้าถ่ายลำ/ผ่านแดน
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 เป็นกฎหมายที่ได้มีการปรับปรุงให้มีความทันสมัย และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน อันเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งมีผล ใช้บังคับเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2560 ทั้งนี้ กฎหมายศุลกากรฉบับนี้ยังคงกําหนดบทบัญญัติที่ เกี่ยวข้องกับการผ่านแดนและการถ่ายลําไว้เช่นเดิม เพื่อให้การผ่านแดนและการถ่ายลําเป็นไปตาม มาตรฐานสากล ตามความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (General Agreement on Tariffs and Trade : GATT) 2494 ใน Article V Freedom of Transit และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในอนุสัญญา ระหว่างประเทศว่าด้วยพิธีการศุลกากรที่เรียบง่ายและสอดคล้องกัน (The International on the Simplification and Harmonization of Customs Procedures) อนุสัญญาบาร์เซโลนาว่าด้วยเสรีภาพ ในการผ่านแดน (Barcelona Convention and Statue on Freedom of Goods in transit) ค.ศ.2523.
ความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางถนนระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและ รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2542 และความตกลงว่าด้วยการขนส่งสินค้าจากฝั่งตะวันออก ไปยังฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรมาเลเซีย และกลับกันผ่านแดนไทยโดยการรถไฟแห่ง ประเทศไทย เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2522 เพื่อเป็นการอํานวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการโดยให้ ใช้อาณาเขตของประเทศไทยเป็นเส้นทางขนส่ง ภายใต้การควบคุมของศุลกากร กฎหมายศุลกากรฉบับนี้ได้กําหนดคํานิยามของคําว่า “การผ่านแดน” ไว้ตามหลักการเดิมแห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557 โดยเป็นการขนส่งของผ่านราชอาณาจักร จากด่านศุลกากรแห่งหนึ่งที่ขนส่งของเข้ามาไปยังด่านศุลกากรอีกแห่งหนึ่งที่ขนส่งของออกไป ภายใต้การ ควบคุมของศุลกากร โดยมีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของการขนส่งอยู่นอกราชอาณาจักร นอกจากนั้นยังเพิ่มเติมให้การผ่านแดนจะต้องไม่มีการใช้ประโยชน์ใด ๆ ซึ่งของนั้นหรือมีพฤติกรรมใด ๆ เพื่อประโยชน์ทางการค้า เกี่ยวกับของดังกล่าวในราชอาณาจักรด้วย ก็เพื่อเป็นการป้องกันมิให้อาศัยการปฏิบัติพิธีการ ศุลกากรผ่านแดน ซึ่งมีเจตนารมณ์ในการใช้อาณาเขตของประเทศไทย เป็นเส้นทางในการนําผ่านเท่านั้น มาเพื่อใช้ประโยชน์ซึ่งสินค้าดังกล่าวในทางการค้า ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4
ความรับผิดในเรื่องอากร
ความรับผิดในเรื่องอากรขาเข้า และ อากรขาออก
- ของผ่านแดน หรือ ถ่ายลำ ที่ได้ยื่นใบขนสินค้าตามแบบ และ ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด และได้นำของออกไปนอกประเทศไทยภายใน 30 วัน นับแต่วันที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ของนั้นไม่อยู่ภายใต้ความรับผิดที่จะต้องเสียอากร กล่าวคือ ไม่ต้องชำระอากรขาเข้า และ อากรขาออก
- ของผ่านแดน หรือ ถ่ายลำที่มีการยื่นคำขอเปลี่ยนเป็นการนำเข้าภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร และได้ปฏิบัติครบถ้วนตามกฎหมายศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับการนำเข้า ของนั้นต้องชำระอากรขาเข้าโดยคำนวณตามสภาพของ ราคาของ และพิกัดอัตราศุลกากร ที่เป็นอยู่ในเวลาที่นำของนั้นเข้ามาในราชอาณาจักร
- ของผ่านแดนตามความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางถนน ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่ไม่ได้นำออกไปนอกประเทศไทย หรือ ไม่มีการยื่นคำขอเปลี่ยนเป็นการนำเข้า ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ของนั้นตกเป็นของตกค้าง
- ของผ่านแดนตามความตกลง GATT 1994 หรือ ของถ่ายลำ ที่ไม่ได้นำออกไปนอกประเทศไทย หรือ ไม่มีการยื่นคำขอเปลี่ยนเป็นการนำเข้า ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ของนั้นตกเป็นของแผ่นดิน
การจดทะเบียนเป็นผู้ขอผ่านแดน
การขอเป็นผู้ขนส่งผ่านแดน ผู้ขอผ่านแดน ผู้ขอถ่ายลำ
ผู้ที่ประสงค์จะขอเป็นผู้ขนส่งผ่านแดน หรือ ผู้ขอผ่านแดน หรือ ผู้ขอถ่ายลำ ต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตามที่กรมศุลกากรกำหนดและยื่นคำขออนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติแล้วต้องทำสัญญาประกันทัณฑ์บน และวางหลักประกันเป็นเงินสดหรือหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นประกันการดำเนินการ โดยผู้ขอผ่านแดนที่จดทะเบียนเป็นผู้ขอถ่ายลำด้วยสามารถใช้หลักประกันจำนวนเดียวกันค้ำประกันการดำเนินการทั้งสองประเภทได้ และ หากเป็นผู้ประกอบการ AEO สามารถใช้หลักประกันของ AEO ค้ำประกันได้ด้วย แต่เฉพาะผู้ขอผ่านแดนที่ขอเป็นผู้ขนส่งผ่านแดนด้วยต้องวางหลักประกันแยกกัน โดยหลักประกันดังกล่าว ครอบคลุมการดำเนินการทุกครั้งที่มีการขนส่ง ทั้งนี้ผู้ได้รับอนุมัติเป็นผู้ขนส่งผ่านแดน หรือ ผู้ขอผ่านแดน หรือ ผู้ขอถ่ายลำ อาจเลือกการวางหลักประกัน เป็นแบบรายเที่ยวก็ได้
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
พิธีการศุลกากร
พิธีการศุลกากรในการขนย้ายของผ่านแดน และ ถ่ายลำ
ผู้ขนส่งผ่านแดน หรือ ผู้ขอผ่านแดน หรือ ผู้ขอถ่ายลำ ที่ได้รับอนุมัติ ต้องจัดทำใบขนสินค้าผ่านแดนหรือใบขนสินค้าถ่ายลำในระบบอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสารตามที่กรมศุลกากรกำหนด ยกเว้น การผ่านแดนทางรถไฟตามความตกลงว่าด้วยการขนส่งสินค้าผ่านแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย ให้ใช้ใบขนสินค้าผ่านแดนในรูปแบบกระดาษ เรียกว่า แบบ 448
ข้อควรทราบ
การผ่านแดนตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 102 วรรคสาม กำหนดให้ “การผ่านแดนที่มีการข้ามแดนทางบกให้กระทำได้ต่อเมื่อมีความตกลงระหว่างประเทศ” หมายความว่า การผ่านแดนที่มีการข้ามแดนทางบกไม่ว่าจะมีการผ่านเข้าหรือผ่านออกจะต้องมีการทำความตกลงกับประเทศที่มีเขตแดนทางบกติดต่อกับประเทศไทย หากยังไม่มีความตกลงจะไม่สามารถปฏิบัติพิธีการผ่านแดน ต่อกันได้
ปัจจุบันประเทศไทยมีความตกลงเกี่ยวกับการผ่านแดนอยู่ 2 ความตกลง คือ การผ่านแดนตามความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางถนนระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และการผ่านแดนความตกลงว่าด้วยการขนส่งสินค้าจากฝั่งตะวันออกไปยังฝั่งตะวันตกของคาบสมุทร มาเลเซียและกลับกันผ่านแดนไทยโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (90 วัน)MOU (Memorandum of Understanding) หรือเรียกกันว่า บันทึกความเข้าใจ หมายถึง เอกสารที่บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ หรือความเข้าใจระหว่างองค์กร หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ซึ่งเมื่อทั้งสองฝ่าย มีความเห็นตรงกัน รับทราบถึงรายละเอียดในบันทึกข้อตกลง และยอมรับข้อตกลงที่ทำร่วมกันแล้ว ตัวแทนผู้มีอำนาจของทั้งสองฝ่ายจะลงนามในบันทึกข้อตกลงนั้น เพื่อรับรองว่า ทั้งสองฝ่ายพึงพอใจกับข้อตกลงที่ทำร่วมกัน และ MOU ฉบับนี้ก็จะมีผลบังคับใช้เมื่อทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในเอกสารนั้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว (30 วัน)
กรมศุลกากรเพิ่มการตรวจสอบข้อมูล [24/12/62]
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ขอแจ้งการปรับปรุงระบบ โปรแกรมรับใบขนสินค้าถ่ายลำผ่านแดน และใบเคลื่อนย้ายของผ่านแดน นำขึ้นใช้งานจริง ภายในวันที่ 3 มกราคม 2563 โดยระบบมีเงื่อนไขการตรวจสอบข้อมูลที่ยื่นทำใบขนสินค้าถ่ายลำ/ผ่านแดน และใบเคลื่อนย้ายของผ่านแดน ดังนี้
- ตรวจสอบค่า Port สถานที่ตรวจปล่อยที่ยื่นทำใบขนสินค้าถ่ายลำ/ผ่านแดน และใบเคลื่อนย้ายของผ่านแดน ต้องมีค่า Indicator สอดคล้องกับค่า Area Code ใน Reference File ที่กรมศุลกากรกำหนดว่า Port Code นั้นเป็นสถานที่ตรวจปล่อยขาเข้า หรือขาออก หากค่าที่ส่งมานั้นไม่ถูกต้องระบบจะทำการ Reject
- ตรวจสอบการหมดอายุของการวางค้ำประกันแบบหนังสือ สำหรับพิธีการถ่ายลำผ่านแดน หากหนังสือการวางค้ำประกันหมดอายุจะไม่สามารถส่งข้อมูลใบขนสินค้าถ่ายลำผ่าน ผ่านแดนได้
- สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : สำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ (สทก.) กรมศุลกากร เลขที่ 1 ถ.สุนทรโกษา คลองเตย กทม. 10110
- หมายเลขโทรศัพท์ : 0-2667-7000 ต่อ 20-5604
- อีเมล์ : 70000100@customs.go.th
- ที่มา : กรมศุลกากร.
- วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 6 กรกฎาคม 2561