ราคาศุลกากร (CUSTOMS VALUATION)

ของที่นำเข้ามาในประเทศไทย (นอกจากของบางอย่างที่ได้รับการยกเว้นแล้ว) จะต้องเสียภาษีศุลกากรและภาษีอื่น ๆ ตามที่ พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2560 และตามที่กฎหมายอื่นกำหนด โดยหากเป็นการชำระอากร ตามราคาแล้ว ภาษีศุลกากรจะคำนวณจากราคาศุลกากรเป็นพื้นฐาน ทั้งนี้การกำหนดราคาศุลกากรเป็นไปตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องอื่นๆ

ในขณะที่การค้าระหว่างประเทศขยายตัวอย่างรวดเร็ว และธุรกรรมทางการค้ามีความซับซ้อนมากขึ้น ทั้งในแง่ของการผลิตสินค้าและ ผู้เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทาน การกำหนดราคาศุลกากรจึงมีความสำคัญมากขึ้นด้วยเช่นกัน ทั้งนี้เพื่อให้การจัดเก็บภาษีอากร เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวกรวดเร็ว ถูกต้อง โปร่งใส เป็นธรรม และสามารถคาดการณ์ได้

Content

  • วิธีการชำระเงิน

    การค้าระหว่างประเทศ มีลักษณะพิเศษไม่เหมือนกับการค้าภายในประเทศอยู่หลายประการ เช่น ผู้ซื้อกับผู้ขายอยู่ห่างไกลกัน คือ อยู่กันคนละประเทศ ดังนั้น การติดต่อกันจึงไม่สะดวกเหมือนกับการค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายในประเทศเดียวกัน หรือในเมืองเดียวกัน ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี การปฏิบัติทางการค้าของทั้งสองฝ่ายแตกต่างกัน ความไว้เนื้อเชื่อใจกันอาจมีน้อยในระยะแรกๆ นอกจากนี้ยังมีอุปสรรคอื่นๆ เช่น ต้องมีการส่งสินค้าข้ามเขตแดนจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง การบรรจุสินค้า และจัดหาพาหนะที่บรรทุกสินค้าต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือข้อบังคับต่างๆ เกี่ยวกับการโอนเงินข้ามประเทศ เป็นต้น เมื่อผู้ซื้อและผู้ขายได้มีการตกลงเกี่ยวกับข้อสัญญาซื้อขายกันแล้ว กล่าวคือ ได้มีการตกลงเรื่องคุณภาพและปริมาณสินค้า ราคา กำหนดเวลา สถานที่ส่งมอบสินค้า และเงื่อนไขการชำระเงิน ฯลฯ ผู้ขายก็มีหน้าที่ต้องส่งสินค้าตามที่ตกลง ส่วนผู้ซื้อนั้นมีหน้าที่จะต้องชำระเงินค่าสินค้าที่ซื้อตามสัญญา วิธีการชำระเงินค่าสินค้าที่พบเห็นกันบ่อยในการค้าระหว่างประเทศมี 4 วิธี ได้แก่ 1. การชำระเงินค่าสินค้าโดยตรงด้วยการโอนเงิน (Telegraphic Transfer หรือ T/T) ผู้ซื้อต้องชำระเงินหรือโอนเงินให้ผู้ขายก่อน แล้วผู้ขายจึงจะส่งสินค้าให้ โดยผู้ขายจะเป็นคนจัดทำเอกสารการส่งออกส่งให้ผู้ซื้อ แต่วิธีนี้ความเสี่ยงจะตกอยู่ที่ผู้ซื้อเพราะว่าจ่ายเงินให้ผู้ขายไปแล้ว อาจได้สินค้าไม่ตรงสเป็ก สินค้าจัดส่งช้า หรืออาจไม่ได้รับสินค้าเลย ซึ่งผู้ซื้อสามารถป้องกันได้โดยการให้ผู้ขายทำหนังสือค้ำประกัน (Advance Payment Standby / Guarantee)​ 2. การเปิดบัญชีขายเชื่อ (Open Account หรือ O/A) ผู้ขายต้องส่งสินค้าไปก่อน แล้วผู้ซื้อถึงจะชำระเงิน ผู้ขายจะเป็นคนจัดทำเอกสารการส่งออกส่งให้ผู้ซื้อ วิธีนี้ผู้ขายต้องแบกรับความเสี่ยงโดยตรงเพราะต้องส่งสินค้าไปก่อน แต่อาจได้รับเงินช้าหรือไม่ได้รับเงินเลยก็ได้ ซึ่งผู้ขายสามารถป้องกันความเสี่ยงด้วยการให้ผู้ซื้อทำหนังสือค้ำประกัน (Commercial Standby / Guarantee)

  • เงื่อนไขการชำระเงิน

    เงื่อนไขการชำระเงินที่มีกำหนดระยะเวลา (Deferred Payment) หมายความว่า ผู้ซื้อ (buyer) ไม่ต้องชำระเงินต่อผู้ขายทันทีที่เห็นตั๋ว แต่ให้ทำการรับรองตั๋วแลกเงิน (accept bill) เพื่อที่จะชำระเงินตามเวลาที่ตกลงกันไว้ในอนาคต ประเภทของเงื่อนไขการชำระเงินที่มีกำหนดเวลา (Deferred payment) เงื่อนไข รายละเอียด 30,60,90 days after sight ผู้ซื้อต้องชำระเงินค่าสินค้าภายใน 30 วันหรือ 60 วัน หรือ 90 วัน (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง) หลังจากวันที่เห็นตั๋ว (วันที่ยอมรับสภาพหนี้) 30,60,90 days after date ผู้ซื้อต้องชำระเงินค่าสินค้าภายใน 30 วันหรือ 60 วัน หรือ 90 วัน (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง) หลังจากวันที่ออกตั๋วแลกเงิน (date of bill of exchange) 90,120,360 days after B/L day ผู้ซื้อต้องชำระเงินค่าสินค้าภายใน 90 วันหรือ 120 วันหรือ 360 วัน หลังจากที่ออกใบตราส่งทางเรือ 2 months after airway bill ผู้ซื้อต้องชำระเงินค่าสินค้าภายใน 2 เดือนนับจากวันที่ออกใบรับขนส่งทางอากาศ 30 days after goods pass Food and Drug Administration ผู้ซื้อต้องชำระเงินค่าสินค้าภายใน 30 วันหลังจากที่วันสินค้าผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากองค์การอาหารและยา 2 months after arrival goods ผู้ซื้อต้องชำระเงินค่าสินค้าภายใน 2 เดือนหลังจากวันที่สินค้าปลายทาง 60 days after first ผู้ซื้อต้องชำระค่าสินค้าภายใน 60 วันหลังจาก presentation วันที่ธนาคารยื่นเอกสารให้ครั้งแรก 60 days after customs clearance ผู้ซื้อต้องชำระเงินค่าสินค้าภายใน 60วันหลังจากวันที่ทำพิธีศุลกากรรับสินค้าไปเรียบร้อยแล้ว 60 days after invoice date ผู้ซื้อต้องชำระเงินค่าสินค้าภายใน 60 วันหลังจากวันที่ออกใบกำกับสินค้า 60 days after acceptance ผู้ซื้อต้องชำระเงินค่าสินค้าภายใน 60 วันหลังจากวันที่เซ็นรับรองตั๋วแลกเงิน 60 days after on-board date ผู้ซื้อต้องชำระเงินค่าสินค้าภายใน 60 วันหลังจากวันที่บรรทุกสินค้าลงสู่ระวางเรือ

  • ระบบราคาแกตต์

    Table of Contents วิธีการกำหนดราคาศุลกากร ข้อควรทราบในการสำแดงราคาศุลกากร ในกรณีของนำเข้า หมายถึง ราคาของของเพื่อความมุ่งหมายในการจัดเก็บอากร ปัจจุบันประเทศไทยใช้ราคาศุลกากรที่เรียกว่า “ระบบราคาแกตต์ (GATT Valuation)” ขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ในการกำหนดราคาสินค้าขาเข้า ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามพันธกรณีความตกลงว่าด้วยการนำมาตรา 7 ของความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า 1994 มาถือปฏิบัติ (Agreement on Implementation of Article VII of the General Agreement on tariffs and Trade 1994)

  • Incoterms®2010

    Incoterms (International Commercial Terms) เป็นข้อกำหนดการส่งมอบสินค้า (Term of Shipment) ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายที่เป็นสากล ซึ่งกำหนดขึ้นโดยหอการค้านานาชาติ (International Chamber Of Commerce - ICC) ได้มีการประชุมบรรดาสมาชิกของหอการค้า นานาชาติทุก 10 ปี เพื่อวางกฎเกณฑ์ข้อตกลงในการส่งมอบสินค้าระหว่างประเทศ (International Commercial Terms: INCOTERMS)

  • Incoterms®2020

    สภาหอการค้านานาชาติ (International Chamber of Commerce :ICC) เป็นผู้กำหนดคำเฉพาะทางการค้า (Trade term) เป็นคำเฉพาะ ที่ใช้ระบุในสัญญาซื้อขาย สินค้าระหว่างประเทศ ที่สามารถกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบในการจัดส่ง การขนส่ง การประกันภัยการรับมอบสินค้าที่ตกลงซื้อขาย ระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขาย ตลอดจนความเสี่ยงภัยของสินค้าที่ผู้ขายรับผิดชอบ จะเปลี่ยนไปเป็นความรับผิดชอบของผู้ซื้อเมื่อใด ที่เรียกว่า Incoterms.

  • ราคาศุลกากรสำหรับสินค้าไม้

    กรมศุลกากรเผยแพร่ ประกาศกรมศุลกากร เรื่อง กำหนดราคาศุลกากรสำหรับสินค้าไม้เป็นเกณฑ์ประเมินเงินอากรขาออก อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกําหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2543 อธิบดีกรมศุลกากรเห็นควรกําหนดราคาศุลกากรสําหรับสินค้าไม้ดังต่อไปนี้ และให้ถือราคาที่ประกาศนี้ เป็นเกณฑ์ประเมินเงินอากรขาออก ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป

.