การวางประกันเกี่ยวกับปัญหาพิกัดศุลกากร

จากประกาศกรมศุลกากรที่ 28/.2564 เรื่อง พิธีการศุลกากรนำเข้าทางอิเล็กทรอนิกส์ว่าด้วยการวางประกันปัญหาพิกัดอัตราศุลกากร มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความชัดเจนให้กับผู้ประกอบการ ในกรณีที่มีปัญหาข้อโต้แย้งพิกัดอัตราศุลกากร ณ ขณะนำเข้าและผู้ประกอบการประสงค์จะนำของออกไปก่อนโดยการวางประกัน

เพื่อลดข้อโต้แย้งและการวางประกันปัญหาพิกัดอัตราศุลกากร เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับปัญหาพิกัดอัตราศุลกากรสำหรับสินค้า ณ ขณะนำเข้า โดยกำหนดให้สำนักงานศุลกากรแต่งตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญพิกัดอัตราศุลกากรประจำสำนักงาน เพื่อทำหน้าที่ในการให้คำปรึกษา กรณีที่เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจปล่อยสงสัยหรือมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับพิกัดอัตราศุลกากรสำหรับสินค้าที่กำลังผ่านพิธีการศุลกากร ทั้งนี้ เพื่อลดการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจปล่อย และลดภาระผู้ประกอบการในการวางประกันสินค้าที่ไม่มีปัญหาพิกัดอีกด้วย ในกรณีที่ผู้ประกอบการประสงค์ จะวางประกัน หากยังมีข้อโต้แย้งในเรื่องพิกัดอัตราศุลกากร อยู่นั้น กรมศุลกากรได้ออกมาตรการเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการพิจารณาพิกัดอัตราศุลกากร สำหรับสินค้าที่มีปัญหานั้น เพื่อให้ได้ข้อยุติโดยเร็ว โดยกรมศุลกากรสั่งการให้สำนักงานศุลกากรแต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาปัญหาพิกัดอัตราศุลกากรประจำสำนักงาน ทำหน้าที่ในการให้ความเห็นพิกัดอัตราศุลกากรสำหรับสินค้านั้นโดยเร็ว ก่อนส่งให้กองพิกัดอัตราศุลกากรวินิจฉัยในขั้นตอนสุดท้ายต่อไป ทั้งนี้กรมศุลกากรได้มีการกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จในแต่ละขั้นตอนไว้ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว จะช่วยให้การพิจารณาปัญหาพิกัด ภายหลังการนำเข้า มีความรวดเร็ว เป็นมาตรฐาน อันจะเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการในการคำนวณต้นทุนการนำเข้าสินค้า และลดปัญหาข้อโต้แย้ง เรื่องพิกัดอัตราศุลกากรสำหรับสินค้าที่เคยมีปัญหา หากมีการนำเข้ามาอีกในอนาคต

สรุปสาระสำคัญ

“ใบขนสินค้าวางประกัน” หมายความว่า ใบขนสินค้าขาเข้าวางประกันปัญหาพิกัดอัตราศุลกากร

การวางประกัน

“การวางประกัน” หมายความว่า

  1. การวางประกันปัญหาพิกัดอัตราศุลกากรสําหรับของชนิดเดียวกันกับที่ผู้นําของเข้าได้นําเข้ามา และมีการวางประกัน ปัญหาพิกัดอัตราศุลกากรไว้ก่อนแล้ว และยังไม่มีคําวินิจฉัยพิกัดอัตราศุลกากรสําหรับของนั้น หรือมีคําวินิจฉัยพิกัดอัตราศุลกากร สําหรับของนั้นแล้วแต่อยู่ระหว่างการอุทธรณ์ โดยส่งข้อมูลใบขนสินค้าวางประกันเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรโดยสมัครใจ หรือ
  2. ของที่ไม่เคยมีปัญหาพิกัดอัตราศุลกากรมาก่อน แต่ผู้นําของเข้าประสงค์ขอพบพนักงานศุลกากร เพื่อให้พนักงานศุลกากรพิจารณา พิกัดอัตราศุลกากรสําหรับของที่กําลังผ่านพิธีการศุลกากร โดยส่งข้อมูลใบขนสินค้าวางประกันเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร โดยสมัครใจ
“ของทํานองเดียวกัน” หมายถึง ของประเภทเดียวกันที่ทําด้วยวัตถุอย่างเดียวกัน มีองค์ประกอบและการใช้ประโยชน์เหมือนกัน

การจัดทําข้อมูลใบขนสินค้า

การจัดทําข้อมูลใบขนสินค้าวางประกันปัญหาพิกัดอัตราศุลกากร

  1. ผู้นําของเข้าจัดทําข้อมูลใบขนสินค้าวางประกันตามมาตรฐานที่กรมศุลกากรกําหนด ตามคู่มือการปฏิบัติพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าด้วยกระบวนการทางศุลกากรสําหรับการนําเข้า (e-Import)
  2. ให้ระบุเหตุผลของการวางประกันปัญหาพิกัดอัตราศุลกากร ในช่อง Deposit Reason Code เป็นรหัส “D02”
  3. ทําเครื่องหมาย (Y) ในช่อง Assessment Request Code เพื่อแจ้งความ ประสงค์ขอพบพนักงานศุลกากรเพื่อตรวจสอบพิกัด ราคา และของ
  4. กรณีนําของชนิดเดียวกันกับที่ผู้นําของเข้าได้นําเข้ามาและได้วางประกันไว้ก่อนแล้ว และผู้นําของเข้าประสงค์ จะขอวางประกันในลักษณะเดิมต่อเนื่อง ให้ระบุเลขที่ใบขนสินค้าและรายการที่ ในใบขนสินค้าวางประกันฉบับแรก ที่เคยมีปัญหาพิกัดอัตราศุลกากรและวางประกันไว้ ในช่องเลขที่ใบขนสินค้า ที่อ้างถึง (Reference Declaration Number) และช่องรายการที่ในใบขนสินค้าที่อ้างถึง (Reference Declaration Line Number)
  5. ให้ระบุ “ขอชําระอากรในพิกัด/อัตรา (พิกัดศุลกากรที่มีอัตราต่ํา) และขอวาง ประกันอากรในพิกัดอัตรา…(พิกัดศุลกากรที่มีอัตราสูง)” ในช่องหมายเหตุ (Remark)

ข้อควรระวัง

ใบขนสินค้าวางประกันที่ไม่ได้พบพนักงานศุลกากรเพื่อตรวจสอบพิกัด ราคา และของ โดยได้รับมอบของออกจากอารักขาศุลกากรแล้ว กรมศุลกากรจะไม่รับพิจารณาตัวอย่างของนั้น และให้ถือว่าผู้นําของเข้าไม่ประสงค์จะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาวินิจฉัยปัญหาพิกัดอัตราศุลกากร

เอกสารที่เกี่ยวข้อง