มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-dumping)


ข้อมูลขจากวิกิพีเดีย ได้อธิบายความหมายของ การทุ่มตลาด ไว้ว่า การทุ่มตลาด (dumping) ในทางเศรษฐศาสตร์ คือการกำหนดราคาเพื่อขจัดคู่แข่งขันรูปแบบหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทการค้าระหว่างประเทศ การทุ่มตลาดเกิดขึ้นเมื่อผู้ผลิต ส่งผลิตภัณฑ์ออกไปยังอีกประเทศหนึ่ง ที่ราคาต่ำกว่าราคาที่ตั้งในตลาดในประเทศ หรือในปริมาณที่ไม่สามารถอธิบายได้ในการแข่งขันตลาดตามปกติ นิยามทางเทคนิคมาตรฐานของการทุ่มตลาด คือ การที่กำหนดราคาสินค้าชนิดหนึ่งในตลาดต่างประเทศ ต่ำกว่าราคาสินค้าชนิดเดียวกันที่ตั้งในตลาดในประเทศเพื่อการบริโภคของผู้ส่งออก มักเรียกว่า ขายน้อยกว่า มูลค่าปกติ ในการค้าระดับเดียวกันในทางการค้าปกติ ภายใต้ความตกลงองค์การการค้าโลก การทุ่มตลาดถูกประณาม (แต่ไม่ถูกห้าม) หากกระทำหรือคุกคามจะก่อความเสียหายอย่างสำคัญต่ออุตสาหกรรมในประเทศในประเทศผู้นำเข้า คำว่า การทุ่มตลาด มีความหมายโดยนัยเชิงลบ เพาะผู้สนับสนุนตลาดแข่งขันมองการทุ่มตลาดว่าเป็นลัทธิคุ้มครองรูปแบบหนึ่ง ยิ่งไปกว่านั้น ผู้สนับสนุนกรรมกรและผู้ใช้แรงงานเชื่อว่า การปกป้องธุรกิจจากพฤติกรรมการขจัดการแข่งขัน เช่น การทุ่มตลาด ช่วยบรรเทาผลร้ายแรงบางประการของพฤติการณ์เช่นนั้นระหว่างเศรษฐกิจที่ขั้นการพัฒนาต่าง ๆ กัน

กองปกป้องและตอบโต้ทางการค้า ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในเรื่องดังกล่าว ได้นิยามความหมายไว้ว่า มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-dumping: AD) เป็นมาตรการทางการค้าที่ประเทศผู้นำเข้า ใช้เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายในที่ได้รับความเสียหาย หรือมีแนวโน้มที่จะได้รับความเสียหายจากการทุ่มตลาด อันเกิดจากการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศที่ไม่เป็นธรรม

การทุ่มตลาด (Dumping) คือ การส่งออกสินค้าจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งเพื่อประโยชน์ในทางพาณิชย์ โดยที่ราคาส่งออกนั้นต่ำกว่ามูลค่าปกติของสินค้าชนิดเดียวกันที่จำหน่ายเพื่อการบริโภคภายในประเทศผู้ส่งออก / ผู้ผลิตเอง

ราคาส่งออก (Export Price) คือ ราคาสินค้าที่ผู้ส่งออกขายให้แก่ผู้นำเข้า หรือตัวแทนจำหน่ายในต่างประเทศ ซึ่งไม่มีความสัมพันธ์กัน โดยราคานั้นต้องเป็นราคาที่ขายให้แก่ผู้ซื้ออิสระทอดแรก (First Independent Buyer)

มูลค่าปกติ (Normal Value) คือ

  • ราคาของสินค้าชนิดเดียวกันที่ขายในประเทศผู้ส่งออก / ผู้ผลิต หรือ
  • ราคาส่งออกไปยังประเทศที่สาม (Third Countries) หรือ
  • ราคาที่คำนวณจากต้นทุนการผลิต + ค่าใช้จ่ายอื่นๆ + กำไรที่เหมาะสม

ความเสียหายคืออะไร

ความเสียหาย (Injury) คือ ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมภายในประเทศ ผู้นำเข้าที่ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันกับสินค้าทุ่มตลาดหรือสินค้าที่ได้รับการอุดหนุน โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น

  • สินค้าในประเทศถูกตัดหรือกดราคาหรือไม่สามารถขยับราคาให้สูงขึ้น
  • ปริมาณการผลิตสินค้าภายในประเทศลดลง
  • ปริมาณสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้น
  • อัตรากำไรลดลง
  • ส่วนแบ่งตลาดลดลง
  • การจ้างงานลดลง
  • อัตราการนำเข้าสินค้าทุ่มตลาดเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
  • แนวโน้มที่ผู้ผลิตสินค้าทุ่มตลาดจะส่งสินค้าไปยังประเทศผู้นำเข้าสูงขึ้น

ลักษณะอย่างไรที่เข้าข่ายจะใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด

  • พบว่ามีการทุ่มตลาด (Dumping)
  • เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายในของประเทศผู้นำเข้า (Injury)
  • ความเสียหายของอุตสาหกรรมภายในนั้นเป็นผลมาจากการทุ่มตลาด (Causal Link Between Dumping and Injury)

สรุปสถานะมาตรการ AD

ข้อกฎหมาย

กฎกระทรวง

ประกาศกระทรวงพาณิชย์

ขั้นตอนการไต่สวน

การแก้ต่างเมื่อสินค้าไทยถูกประเทศคู่ค้าใช้มาตรการ AD

กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จะร่วมกับผู้ส่งออกและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ ในการกำหนดกลยุทธ์และแนวทางการแก้ต่าง และให้ข้อแนะนำในการต่อสู้ในแต่ละขั้นตอนของการไต่สวนตามกฎหมายของประเทศคู่ค้า

  1. หากสินค้าไทยถูกฟ้อง ประเทศผู้เปิดการไต่สวนจะ

    • มีหนังสือแจ้งเปิดการไต่สวนมายังผู้ผลิต / ผู้ส่งออกไทยที่ถูกกล่าวหาโดยตรง
    • มีหนังสือแจ้งเปิดการไต่สวนมายังสถานทูตไทยประจำประเทศนั้น
    • มีประกาศแจ้งใน Website ของประเทศที่เปิดการไต่สวน / องค์การการค้าโลก (WTO)
  2. การดำเนินการแก้ต่างของผู้ส่งออก

    • ติดต่อกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เพื่อให้ข้อมูลประกอบการกำหนดกลยุทธ์ในการแก้ต่าง / ต่อสู้
    • รวบรวมข้อมูล สถิติการส่งออกและราคาขายสินค้าของบริษัททั้งในและต่างประเทศในช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา และข้อมูลอื่นๆ เพื่อเตรียมการตอบแบบสอบถามของประเทศคู่ค้าที่ ฟ้อง
    • จัดเตรียมบุคลากรในการตอบแบบสอบถาม
    • จัดเตรียมระบบบัญชีต้นทุน แยกเป็นรายประเภทสินค้า หรือพิกัดที่ถูกกล่าวหา และเตรียมการชี้แจงเมื่อผู้แทนของหน่วยงานผู้ไต่สวนเดินทางมาตรวจสอบข้อมูลที่บริษัทตอบแบบสอบถามไว้
  3. ผลกระทบหากถูกใช้มาตรการ AD

    • การชะลอตัวทางการค้า / การส่งออกลดลง
    • กระทบต่อการผลิต / การจ้างงาน
    • เสียความสามารถในการแข่งขัน และเสียส่วนแบ่งตลาดในประเทศคู่ค้า
    • เสียอำนาจการต่อรองกับผู้นำเข้าในประเทศคู่ค้า
    • หากประเทศที่ใช้มาตรการเป็นตลาดหลัก และเรียกเก็บอากรในอัตราสูงจนไม่มีการสั่งซื้อสินค้าจากประเทศนั้น ผู้ประกอบการจะถูกกระทบอย่างรุนแรงจนไม่สามารถดำรงธุรกิจอยู่ได้
  4. บทบาทของภาครัฐในการแก้ต่าง

จัดเตรียมเจ้าหน้าที่ในการให้คำแนะนำ หลักเกณฑ์ ขั้นตอนต่างๆ ในการดำเนินการแก้ต่างของประเทศคู่ค้า พร้อมทั้งร่วมยกประเด็นโต้แย้งในการเปิดไต่สวน AD ต่อประเทศคู่ค้า และเข้าร่วมในกระบวนการตรวจสอบข้อมูลข้อเท็จจริง (Verification)

ขั้นตอนการไต่สวนเพื่อใช้มาตรการ AD ของออกเตรเลีย

ออสเตรเลียมีการทบทวนอื่นๆ อีก ดังนี้

  1. Continuation of Measure or Expiry Review

    • เป็นการเปิดทบทวนเพื่อขยายระยะเวลาการใช้มาตรการ AD ของออสเตรเลีย
    • หน่วยงานไต่สวนมีประกาศให้ยื่นคำขอเพื่อต่ออายุมาตรการก่อนมาตรการหมดอายุไม่น้อยกว่า 9 เดือน
    • ผู้ยื่นคำขอต้องยื่นคำขอภายใน 60 วันหลังจากมีประกาศ
    • หากคำขอมีมูล จึงประกาศเปิดการทบทวนโดยมีขั้นตอนเหมือนการไต่สวน แต่จะไมมีการออก PAD
    • หน่วยงานไต่สวนเสนอ final recommendation ให้ minister ตัดสิน ในช่วงประมาณ 155 วันหลังจากเปิดการไต่สวน
    • ประกาศผลก่อนระยะเวลาการใช้มาตรการ 5 ปีแรกสิ้นสุด
  2. Initiation of a Review of Measures เป็นการเปิดทบทวนการใช้มาตรการโดยพิจารณาการเปลี่ยนแปลงไปของมูลค่าปกติ ราคาส่งออก หรือมูลค่าความเสียหาย โดยการทบทวนจะมุ่งไปที่การพิจารณาว่าควรมีมาตรการต่อไปหรือไม่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงอัตราอากรที่เรียกเก็บหรือไม่ ซึ่งจะพิจารณาเฉพาะรายผู้ส่งออกหรือผู้ส่งออกทุกรายก็ได้ (เทียบได้กับของไทยคือ change in circumstance review ที่จะมีการทบทวนเมื่อมีสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งก็เป็นไปได้หลายแบบ เช่น เปลี่ยนแปลง dumping เปลี่ยนแปลง injury หรือควรยุติการใช้มาตรการหรือไม่ ขึ้นอยู่กับผู้ยื่นขอทบทวนว่าจะยื่นมาลักษณะแบบใด และมีหลักฐานการเปลี่ยนแปลงในเรื่องใด)

    • ยื่นคำขอทบทวนได้หลังจากมีประกาศผล original case ไปแล้วอย่างน้อย 12 เดือน
    • กำหนดออกร่างผลการทบทวน (Statement of Essential Facts: SEF) ประมาณ 110 วัน หลังจากวันเปิดทบทวน
    • หน่วยงานไต่สวนเสนอ final recommendation ให้ minister ตัดสิน ในช่วงประมาณ 155 วันหลังจากเปิดการทบทวน
    • Minister พิจารณาตัดสินผลการทบทวน ไม่เกิน 30 วัน หลังจากได้รับข้อเสนอ
    • ประกาศผลการทบทวน
  3. Initiation of an Accelerated Review เป็นการเปิดทบทวนสำหรับผู้ส่งออกรายใหม่ เทียบเท่ากับ New shipper review (ADA 9.5)

  4. Initiation of exemption inquiry เป็นการทบทวนขอบเขตหรือกำหนดข้อยกเว้นของสินค้าที่ถูกใช้มาตรการ