ความตกลงการค้าเสรีไทย-นิวซีแลนด์ (Thailand - New Zealand Closer Economic Partnership - TNZCEP)
ความเป็นมา
ประเทศไทย และประเทศนิวซีแลนด์มีการลงนามความตกลงฯ ในเดือนเมษายน 2548 เพื่อให้ความตกลงฯ มีผลใช้บังคับในวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 ซึ่งครอบคลุมทั้งเรื่องการเปิดตลาดด้านการค้าสินค้า บริการ การลงทุน และความร่วมมือที่เกี่ยวข้องกับการค้า เช่น พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทรัพย์สินทางปัญญา การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ และนโยบายการแข่งขัน เป็นต้น.
ความตกลง FTA ไทย-ออสเตรเลีย และไทย-นิวซีแลนด์ ถือเป็นความตกลง FTA ลำดับต้นๆ ของไทยที่มีผลใช้บังคับมาตั้งแต่ปี 2548 โดยปัจจุบันออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ได้ลดภาษีสินค้าทุกรายการให้กับไทยเหลือศูนย์แล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 ส่วนไทยได้ลดภาษีสินค้าเกือบทั้งหมด ให้ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เหลือศูนย์แล้วเช่นกัน แต่ยังคงเหลือสินค้าเกษตรบางรายการ ซึ่งรวมถึงสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมที่ไทยยังใช้มาตรการโควตาภาษีและมาตรการปกป้องพิเศษ เพื่อให้ภาคการผลิตและอุตสาหกรรมโคนมของไทยมีเวลาในการปรับตัว โดยปัจจุบันกลุ่มผลิตภัณฑ์นมไทยที่เปิดตลาดลดภาษีเหลือศูนย์แล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 คือ นมและครีมข้นไม่หวาน และบัตเตอร์มิลล์ แต่ยังคงเหลือสินค้าที่ไทยจะต้องทยอยเปิดตลาดให้กับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ได้แก่ สินค้านมผงที่มีไขมันเกิน 1.5% (ไม่ใช้เลี้ยงทารก) ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของนม หางนม (เวย์) เนย ไขมันเนย (AMF)และกลุ่มสินค้าเนยแข็ง จะต้องไม่มีการจำกัดโควตาและลดภาษีเป็นศูนย์ ในปี 2564 และสินค้านมและครีม เครื่องดื่มประเภทนมปรุงแต่ง นมผงขาดมันเนย ที่จะต้องไม่มีโควตาและลดภาษีเป็นศูนย์ในปี 2568
วัตถุประสงค์
เพื่อความร่วมมือในทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและนิวซีแลนด์ ที่จะขยายการค้าระหว่างกันโดยการปรับลดภาษีให้ต่ำลงและเป็นศูนย์ เพื่อเกิดการค้าอย่างเสรีในที่สุด
ระยะเวลา
เริ่มมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548
ขอบเขตของสินค้า
- นิวซีแลนด์ให้สิทธิพิเศษฯ แก่สินค้าทุกรายการ (7,433 รายการ) (รายการสินค้าและอัตราภาษี)
- ไทยให้สิทธิพิเศษฯ แก่สินค้าทุกรายการ (5,505 รายการ) (รายการสินค้าและอัตราภาษี)
การลดหย่อนภาษี
- นิวซีแลนด์
- ลดเป็น 0 ทันที จำนวน 5,878 รายการ
- ลดเป็น 0 ภายในปี 2553 จำนวน 697 รายการ
- ลดเป็น 0 ภายในปี 2558 จำนวน 898 รายการ
- ไทย
- ลดเป็น 0 ทันที จำนวน 2,978 รายการ
- ลดเป็น 0 ภายในปี 2553 จำนวน 1,961 รายการ
- ลดเป็น 0 ภายในปี 2558 จำนวน 520 รายการ
- ลดเป็น 0 ภายในปี 2563 จำนวน 42 รายการและ ปี 2568 จำนวน 4 รายการ
กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า
- กฎทั่วไป ซึ่งเป็นกฎหลักหรือกฎทั่วไปใช้กับทุกสินค้า
ภายใต้ข้อตกลง FTA ไทย-นิวซีแลนด์ ไม่กำหนดให้ใช้กฎทั่วไป
- กฎเฉพาะสินค้า เป็นกฎที่ใช้กับสินค้าเฉพาะรายการ หรือ กฎที่ยกเว้นจากกฎทั่วไป
(ดูกฎแหล่งกำเนิดเฉพาะสินค้า)
สินค้าภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีไทย-นิวซีแลนด์ จัดอยู่ในกฎนี้ เกณฑ์ที่ใช้มีดังนี้ เกณฑ์ที่ใช้มีดังนี้
-
กฎการผลิตหรือการได้มาจากวัตถุดิบในประเทศทั้งหมด (Wholly Obtained Goods)
-
การเปลี่ยนพิกัดศุลกากร (Chang in Tariff Classification) หรือการเกิดปฏิกิริยาเคมี(Chemical Reaction) ซึ่งสินค้าภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีไทย-นิวซีแลนด์ใช้กฎข้อนี้เป็นส่วนใหญ่
-
กฎสัดส่วนมูลค่าวัตถุดิบวัตถุดิบภายในประเทศไทย /นิวซีแลนด์ (Regional Value Content : RVC) ซึ่งใช้กับสินค้าในกลุ่มสิ่งทอ เสื้อผ้าและรองเท้าโดยกำหนดไว้ที่ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของราคาสินค้า F.O.B.
สูตร
RVC = FOB – VNM x 100
FOB
FOB = Free On Board (ราคาสินค้าตาม เอฟโอบี)
VNM = Value of Non-Originating Material (มูลค่าวัตถุดิบที่นำเข้ามาเพื่อใช้ผลิตภายในประเทศโดยราคา CIF)
การขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษีภายใต้ FTA ไทย-นิวซีแลนด์
มีหน่วยงานราชการรับรอง เพื่อส่งไปให้ลูกค้าแสดงต่อศุลกากรของนิวซีแลนด์ในการลดอัตราภาษีศุลกากรนำเข้า (หลักเกณฑ์การรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง)
Rules of Origin
ประกาศ / กฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง
ประกาศกระทรวงการคลัง
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากนิวซีแลนด์ ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2564
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากนิวซีแลนด์ ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2560
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากนิวซีแลนด์ (30 ธันวาคม 2559)
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากนิวซีแลนด์
- การยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากนิวซีแลนด์ (ฉบับที่ 2)
- การยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากนิวซีแลนด์ (ฉบับที่ 3)