ราคาขายปลีกแนะนำ คือ ราคาขายที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้นำเข้าประสงค์ จะกำหนดเป็นราคาขายปลีกแนะนำให้ผู้ขายปลีกขาย สินค้าของตนให้แก่ผู้บริโภครายสุดท้ายในตลาดปกติ โดยราคาดังกล่าวเป็นราคาที่กรมสรรพสามิตใช้เป็นฐานภาษีในการคำนวณภาษีในกรณีภาษีตามมูลค่า สำหรับสินค้าที่เสียภาษีสรรพสามิต
การบันทึกข้อมูลราคาขายปลีกแนะนำ
แบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ
- ให้ระบุราคาขายปลีกแนะนำตามที่ได้แจ้งไว้กับกรมสรรพสามิตที่ช่อง Deducted Amount
- กรณีสินค้าที่มีอัตราภาษีตามปริมาณเพียงอย่างเดียว เช่น น้ำมัน และผลิตภัณฑ์น้ำมัน (น้ำมันหล่อลื่นอัตราภาษี 5 บาทต่อลิตร) ให้ระบุ “0.1”
- กรณีสินค้าที่นำเข้าคลังทัณฑ์บน เขตปลอดอากร เขตประกอบการเสรี และของที่ได้รับยกเว้นอากรตามภาค 4 และสินค้าที่กำหนดอัตราภาษีสรรพสามิตตามมูลค่าร้อยละศูนย์ ให้ระบุ “0.2”
โครงสร้างราคาขายปลีกแนะนำ
-
ต้นทุนการผลิต
- ในกรณีสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร หมายถึง ต้นทุนทั้งหมดที่มีอยู่ในการผลิตสินค้า ซึ่งได้แก่ ค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงาน และค่าใช้จ่ายอื่นที่ใช้ในกระบวนการผลิต
- ในกรณีสินค้านำเข้า หมายถึง ราคาของสินค้าและค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการนำเข้าสินค้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งได้แก่ ราคา ซี.ไอ.เอฟ. อากรศุลกากร และค่าใช้จ่ายอื่นที่ใช้ในการดำเนินพิธีการศุลกากร.
-
ค่าบริหารจัดการ หมายถึง ค่าใช้จ่ายในสำนักงาน ซึ่งได้แก่ ค่าโฆษณา ค่าขนส่ง ค่าประกันภัย ค่าภาษีสรรพสามิต ค่าภาษีอื่น ที่จัดเก็บจากการขายสินค้านั้น ค่าธรรมเนียม (ในการรับฝากของในอารักขาศุลกากร) เงินบำรุงกองทุนหรือองค์การตามที่กฎหมาย กำหนดให้เรียกเก็บจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีสำหรับสินค้านั้น และค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการการบริหารการขายสินค้าผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้นำเข้า
-
กำไรมาตรฐาน หมายถึง ให้พิจารณาจากราคาขายปลีกแนะนำหักต้นทุนการผลิตและค่าบริหารจัดการ
หลักเกณฑ์ วิธีการ แจ้งราคาขายปลีกแนะนำ
ประกาศที่เกี่ยวข้อง
ประกาศกรมศุลกากรที่ 114/.2560 เรื่อง การปฏิบัติพิธีการศุลกากรนำเข้าทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้านำเข้าตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต
ประกาศกรมศุลกากรที่ 127/.2560 เรื่อง การปฏิบัติพิธีการศุลกากรนำเข้าทางอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับสินค้านำเข้า ที่กรมสรรพสามิตประกาศขยายกำหนดเวลาการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560
ที่มา : กรมสรรพสามิต