การปฏิบัติพิธีการศุลกากร นำเข้าทางอิเล็กทรอนิกส์ว่าด้วยรถยนต์สำเร็จรูป
ประกาศกรมศุลกากร ที่ 106/.2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการปฏิบัติพิธีการศุลกากร นำเข้าทางอิเล็กทรอนิกส์ว่าด้วยรถยนต์สำเร็จรูป
เพื่อประโยชน์ในการเชื่อมโยงข้อมูลการปฏิบัติพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับรถยนต์สำเร็จรูป ในระบบ National Single Window (NSW) ระหว่างกรมศุลกากรและกรมการขนส่งทางบก ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อตรวจสอบติดตามการนำเข้า การออกใบรับรองการนำเข้า (แบบที่ 32) และการจดทะเบียนรถยนต์สำเร็จรูปให้เป็นไปโดยครบถ้วนถูกต้อง อาศัยอ้านาจตามความในมาตรา 51 มาตรา 52 มาตรา 118 และมาตรา 158 แห่ง พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 อธิบดีกรมศุลกากรจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประกาศนี้เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและขั้นตอนรายละเอียดในการปฏิบัติ
พิธีการศุลกากรนำเข้าทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับรถยนต์สำเร็จรูป
“รถยนต์สำเร็จรูป” หมายความว่า รถยนต์โดยสารตามพิกัดศุลกากร ประเภท 87.02 และ รถยนต์นั่งตามพิกัดศุลกากรประเภท 87.03 และให้หมายความรวมถึงรถยนต์สำเร็จรูปที่นำเข้าเก็บรักษา ในคลังสินค้าทัณฑ์บน หรือเขตปลอดอากร หรือเขตประกอบการเสรี และภายหลังมีการปฏิบัติการโอนย้าย ภายในประเทศ หรือมีการชำระภาษีอากรเพื่อบริโภคภายในประเทศด้วย
ส่วนที่ 1 การจัดทำข้อมูลใบขนสินค้า
ข้อ 3 การจัดทำข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าสำหรับรถยนต์สำเร็จรูป
- ให้ผู้นำของเข้าจัดทำข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าสำหรับรถยนต์สำเร็จรูป หนึ่งคันต่อหนึ่งรายการ ในส่วนรายละเอียดของใบขนสินค้าขาเข้า (Import Declaration Detail)
- ในส่วนควบคุมของใบขนสินค้าขาเข้า (Import Declaration Control) ให้ผู้นำของเข้าทำเครื่องหมาย Y ในช่อง Assessment Request Code ก่อนส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า สู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร เพื่อให้เป็นใบขนสินค้าที่ต้องเปิดตรวจ (Red Line)
- การสำแดงข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดของรถยนต์สำเร็จรูปให้ใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวพิมพ์ใหญ่และตัวเลขอารบิค
- ในส่วนรายละเอียดของสินค้าขาเข้าแต่ละรายการ (Import Declaration Detail) ให้จัดทำข้อมูลรายละเอียด ดังต่อไปนี้
4.1 ในช่อง Brand Name (เครื่องหมายการค้า) ให้ระบุยี่ห้อและรุ่นของรถยนต์ โดยให้เว้นวรรคหนึ่งเคาะ ระหว่างยี่ห้อและรุ่น เช่น TOYOTA HIACE, HONDA CR-V เป็นต้น.
4.2 ในช่อง Product Year (ปีของสินค้า) ให้ระบุปี ค.ศ. ที่ผลิต เช่น 2013, 2014 เป็นต้น.
4.3 ในช่อง Product Code (รหัสสินค้า) ให้ระบุขนาดความจุของกระบอกสูบ เช่น 1600CC ขนาดกำลังของเครื่องยนต์ (Horses Power : HP) เช่น 16oHP และกำลังไฟฟ้า เช่น 120KW โดยแต่ละข้อมูลให้คั่นด้วยเครื่องหมายทวิภาค (:) และสำแดงแยกตามประเภทรถยนต์ โดยข้อมูลใดไม่มีให้ใส่ N/A เช่น.
- รถที่ใช้เชื้อเพลิง ให้บันทึกข้อมูลดังนี้ 1600CC : 160HP:N/A
- รถที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ให้บันทึกข้อมูลดังนี้ N/A 160HP:120KW
- รถที่ใช้ระบบไฮบริด ให้บันทึกข้อมูลดังนี้ 1600CC:160HP:120KW
4.4 ในช่อง Customs Product Code (รหัสสินค้า) ให้ระบุประเภทพลังงานและ ชนิดเชื้อเพลิงที่ใช้กับเครื่องยนต์ เช่น BENZINE, BENZINE Ebo, BENZINE E85, DIESEL, HYBRID, ELECTRIC, NGV เป็นต้น.
4.5 ในช่อง Product Attribute 1 (ลักษณะของสินค้า 1) ให้ระบุหมายเลขตัวถัง (Chassis No.) โดยไม่ต้องใส่คำว่า Chassis No., และห้ามเว้นวรรค ห้ามใช้เครื่องหมายและตัวอักษรพิเศษ เช่น JTFHT02P000137628, ANH208064000 เป็นต้น
4.6 ในช่อง Product Attribute 2 (ลักษณะของสินค้า 2) ให้ระบุหมายเลข เครื่องยนต์ (Engine No.) โดยไม่ต้องใส่คำว่า Engine No. และห้ามเว้นวรรค ห้ามใช้เครื่องหมายและตัวอักษรพิเศษ กรณีที่ยี่ห้อเครื่องยนต์ตรงกับยี่ห้อตัวถัง ไม่ต้องระบุยี่ห้อเครื่องยนต์ ให้ระบุเฉพาะหมายเลขเครื่องยนต์เพียงอย่างเดียว เช่น 1KD2389729 เป็นต้น
กรณีที่ยี่ห้อเครื่องยนต์ไม่ตรงกับยี่ห้อตัวถัง ให้ระบุหมายเลขเครื่องยนต์แล้วตามด้วย เครื่องหมายทวิภาค ( : ) ตามด้วยชื่อยี่ห้อเครื่องยนต์ เช่น KD2389729:TOYOTA เป็นต้น
4.7 ในช่อง Thai Description of Goods (ชนิดของภาษาไทย) และ English Description of Goods (ชนิดของภาษาอังกฤษ) ให้ระบุ ชนิดของ ยี่ห้อ รุ่นของรถยนต์ ปีที่ผลิต ขนาดความจุ ของกระบอกสูบ ขนาดกำลังของเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า ประเภทพลังงานและชนิดเชื้อเพลิงที่ใช้กับเครื่องยนต์ หมายเลขตัวถัง หมายเลขเครื่องยนต์ เช่น รถยนต์นั่งใหม่สำเร็จรูป HONDA CR-V 2013 1600CC:16oHP:N/A BENZINE JTFHT02000137628 1KD2389729 เป็นต้น
- ให้ผู้นำของเข้าจัดทำข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า ตามมาตรฐานที่กรมศุลกากรกำหนดและ เป็นผู้ส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร ได้ทำการตอบรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น ในการปฏิบัติพิธีการศุลกากรถือเป็นการยื่นเอกสารนั้น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากรแล้ว
ข้อ 4 การจัดทำใบรับรองรายละเอียดของรถยนต์สำเร็จรูปนำเข้า
- ให้ผู้นำของเข้าจัดทำใบรับรองรายละเอียดของรถยนต์สำเร็จรูปตามแบบที่กรมศุลกากรกำหนด หนึ่งรายการต่อหนึ่งฉบับ เว้นแต่รถยนต์สำเร็จรูปที่นำเข้า มีข้อมูลเฉพาะของสินค้าและอุปกรณ์พิเศษเหมือนกันทุกรายการ ให้รวมจัดทำใบรับรองรายละเอียดของรถยนต์สำเร็จรูปฉบับเดียวกันได้
- ให้ผู้นำของเข้าเป็นผู้ลงนามรับรองในใบรับรองรายละเอียดของรถยนต์สำเร็จรูปที่นำเข้า.
- รถยนต์สำเร็จรูปที่ได้รับเอกสิทธิ์ ตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ต่อองค์การสหประชาชาติหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือตามสัญญากับนานาประเทศ หรือทางการทูต ซึ่งได้ปฏิบัติต่อกันโดยอัธยาศัยไมตรี ได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดทำใบรับรองรายละเอียดของรถยนต์สำเร็จรูป
ส่วนที่ 2 การตรวจสอบตามกระบวนการทางศุลกากร
ข้อ 5 การตรวจสอบรถยนต์สำเร็จรูปนำเข้า ตามกระบวนการทางศุลกากร
- ให้ผู้นำของเข้าติดต่อโรงพักสินค้าเพื่อเตรียมของให้พนักงานศุลกากรตรวจสอบ
- ให้ผู้นำของเข้ายื่นเอกสารต่อพนักงานศุลกากรตามอำนาจหน้าที่หรือผู้ที่ได้รับ มอบหมาย เพื่อใช้ประกอบการตรวจปล่อยรถยนต์สำเร็จรูป ดังนี้
- ใบรับรองรายละเอียดของรถยนต์สำเร็จรูป
- เอกสารแสดงการได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ ใบอนุญาต ใบทะเบียน หนังสืออนุญาตตามเงื่อนไขของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
- เอกสารที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์สำเร็จรูป เช่น บัญชีราคาสินค้า (Invoice) แคตตาล็อก (Catalogue) เป็นต้น
- การตรวจสอบพิกัด ราคา และของให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ในเรื่องการกำหนดพิกัด อัตราศุลกากร และการกำหนดราคาศุลกากรสำหรับการนำของเข้า
- พนักงานศุลกากรตามอำนาจหน้าที่หรือที่ได้รับมอบหมายตรวจสอบรายละเอียดของ รถยนต์สำเร็จรูป รวมถึงอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ให้ตรงตามข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า และใบรับรองรายละเอียดของ รถยนต์สำเร็จรูป ตามข้อ 5 2. (2.1) หากพบว่าไม่ถูกต้องครบถ้วน ผู้นำของเข้าจะถูกพิจารณาความผิดและ พนักงานศุลกากร ตามอำนาจหน้าที่จะดำเนินการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง
- หน่วยควบคุมทางศุลกากรของแต่ละสำนักงานศุลกากรหรือด่านศุลกากร จะจัด พนักงานศุลกากรร่วมตรวจสอบสินค้ารถยนต์ที่นำเข้าทุกครั้ง โดยลงลายมือชื่อร่วมตรวจสอบในใบรับรอง รายละเอียดของรถยนต์สำเร็จรูป และพนักงานศุลกากรผู้ตรวจปล่อยจะบันทึกชื่อและตำแหน่งของพนักงาน ศุลกากรผู้ร่วมตรวจสอบ ไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรด้วย
ส่วนที่ 3 การตรวจสอบรถยนต์สำเร็จรูปกรณีมีเหตุอันควรสงสัย
ข้อ 6 กรณีสำนักสืบสวนและปราบปราม ขอทำการตรวจสอบรถยนต์สำเร็จรูปที่นำเข้าขณะทำการตรวจปล่อยของ
- พนักงานศุลกากรผู้ร่วมตรวจสอบ จะมีหนังสือขอตรวจสอบพิกัด ราคา และของ ตามใบขนสินค้าขาเข้า ร่วมกับพนักงานศุลกากรผู้ตรวจปล่อยสินค้า
- พนักงานศุลกากรตามอำนาจหน้าที่หรือที่ได้รับมอบหมาย จะแจ้งให้ผู้นำของเข้า ทราบและทำการตรวจสอบรถยนต์สำเร็จรูปที่นำเข้าร่วมกัน โดยจะบันทึกชื่อและตำแหน่งของพนักงานศุลกากรผู้ร่วมตรวจสอบ ไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรด้วย
ข้อ 7 กรณีมีการขนย้ายรถยนต์สำเร็จรูป
จากที่ทำการศุลกากรแห่งหนึ่ง ไปยังที่ทำการศุลกากรอีกแห่งหนึ่ง พนักงานศุลกากรตามอำนาจหน้าที่ และ/หรือที่ได้รับมอบหมาย สามารถทำการตรวจสอบรถยนต์ สำเร็จรูปที่ขนย้ายนั้น ณ ที่ทำการศุลกากรต้นทาง ก่อนการขนย้ายไปยังที่ทำการศุลกากรปลายทางก็ได้
ส่วนที่ 4 การเชื่อมโยงข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้ากับกรมการขนส่งทางบก
ข้อ 8 พนักงานศุลกากรผู้ตรวจปล่อย หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
จะส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้กรมการขนส่งทางบก ผ่านระบบ National Single Window (NSW) เมื่อใบขนสินค้าขาเข้ามีสถานะส่งมอบสินค้าแล้ว ในกรณีที่ของยังอยู่ในอารักขาของศุลกากรและตรวจพบว่ารายการที่ต้องสำแดงตามข้อ 3 (4) ไม่ถูกต้องครบถ้วน พนักงานศุลกากรตามอำนาจหน้าที่ หรือที่ได้รับมอบหมายจะพิจารณาความผิดและ ดำเนินการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง ตามระเบียบปฏิบัติศุลกากรที่เกี่ยวข้อง ก่อนส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าทาง อิเล็กทรอนิกส์ให้กรมการขนส่งทางบก ผ่านระบบ National Single Window (NSW)
ข้อ 9 เมื่อพนักงานศุลกากรได้ส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าทางอิเล็กทรอนิกส์ให้กรมการขนส่งทางบก
ตามข้อ 8 แล้ว หากผู้นำของเข้าร้องขอแก้ไขข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าตามรายการ ในข้อ 3(4) ให้นำเนินการดังนี้
- ให้ผู้นำของเข้าหรือผู้รับมอบอำนาจกระทำการแทนของผู้นำของเข้า ซึ่งได้ยื่น ใบมอบอำนาจเป็นการทั่วไปไว้ตามคำขอลงทะเบียนเป็นผู้ปฏิบัติพิธีการศุลกากร และปรากฏในฐานข้อมูล ระบบทะเบียนผู้มาติดต่อของศุลกากร ยื่นคำร้องขอแก้ไขข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า พร้อมเอกสารหลักฐาน ประกอบการพิจารณาแก้ไข ต่อหน่วยงานตรวจปล่อย
- พนักงานศุลกากรตามอำนาจหน้าที่หรือที่ได้รับมอบหมาย จะพิจารณาความผิด และดำเนินการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติศุลกากรที่เกี่ยวข้อง แล้วจึงส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้แก้ไขแล้ว ให้กรมการขนส่งทางบกผ่านระบบ National Single Window (NSW)
ข้อ 10 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ที่มา : กรมศุลกากร
# รถยนต์สำเร็จรูป # การนำเข้า
Related
- หลักเกณฑ์และพิธีการสำหรับการลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากร ตามมาตรา 12 (ของนําเข้ามาเพื่อการศึกษาและการวิจัยของสถานศึกษา)
- พิธีการศุลกากรนำเข้าทางอิเล็กทรอนิกส์ว่าด้วยการวางประกันปัญหาพิกัดอัตราศุลกากร
- กรณีขอแก้ไขใบขนสินค้าขาเข้า ภายหลังตรวจปล่อยไปจากอารักขาศุลกากรแล้ว
- การนําเข้ารถกอล์ฟภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน
- การปฏิบัติพิธีการศุลกากร นําเข้ารังนก
Last Update : 08-05-2018