การคืนอากรตามมาตรา 29 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 กับการอุดหนุน

บทความทางวิชาการ - การคืนอากรตามมาตรา 29 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 กับการอุดหนุน

โลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจเสรีไร้พรมแดน จะเห็นได้ว่า มีการจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีโดยการลดอัตราอากรศุลกากรเป็นศูนย์ รวมถึงมีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศเพื่อสร้างอำนาจการต่อรองทางการค้าให้มากขึ้น ดังนั้นมาตรการทางการค้าด้านภาษีต่าง ๆ จึงลดความสำคัญลงเรื่อย ๆ โดยมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Measure: NTM) จะเพิ่มบทบาทมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม มาตรการทางภาษีถือได้ว่าเป็นเครื่องมือที่ดีและมีประโยชน์อย่างมากในการช่วยส่งเสริม สนับสนุน และคุ้มครองผู้ประกอบการ หรืออุตสาหกรรมภายในประเทศ ให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก

ประเทศไทยได้ใช้นโยบายการค้าเสรี มุ่งเน้นการผลิตเพื่อการส่งออกในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีกลไกตลาดเป็นเครื่องชี้ประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขัน ภารกิจหลักของกรมศุลกากร นอกเหนือจากการจัดเก็บภาษีอากร คือ การสนับสนุน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันโดยอาศัยมาตรการ ทางภาษีอากร ตลอดจนการอำนวยความสะดวกทางการค้า การใช้มาตรการทางภาษีอากรดังกล่าวข้างต้นอาจจะเป็นการละเมิดต่อความตกลงว่าด้วยการอุดหนุน (Subsidy) ภายใต้กรอบขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) ที่ไทยเป็นภาคีด้วย ดังนั้น การที่รัฐบาลไทยในฐานะเป็นผู้ให้การสนับสนุนดังกล่าว อาจถูกประเทศสมาชิกอื่น ๆ ที่เป็นผ้้นำเข้าสินค้าไทยตอบโต้ว่า เป็นการละเมิดข้อตกลงในเรื่องนี้ เนื่องจากการอุดหนุนของรัฐบาลถือว่าเป็นการนำไปสู่การแข่งขันทางการค้า ที่ไม่เป็นธรรม (Distorted Competition) เพราะการอุดหนุน เป็นการจัดสรรทรัพยากรที่ไม่ถูกต้อง (Disallcotion of Resources) และก่อให้เกิดการได้เปรียบในการแข่งขัน ทางด้านราคาแก่ผู้ส่งออกของประเทศที่ให้การอุดหนุน

ที่มา : กรมศุลกากร