การปฏิบัติพิธีการศุลกากรในการขนย้ายตู้คอนเทนเนอร์โดยรถไฟ ระหว่างสำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ และสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง

ประกาศกรมศุลกากร ที่ 166/2567 เรื่อง การปฏิบัติพิธีการศุลกากรในการขนย้ายตู้คอนเทนเนอร์โดยรถไฟ ระหว่างสำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพและสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง

กรมศุลกากรเผยแพร่ประกาศกรมศุลกากร ที่ 166/2567 เรื่อง การปฏิบัติพิธีการศุลกากรในการขนย้ายตู้คอนเทนเนอร์โดยรถไฟ ระหว่างสำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ และสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง มีรายละเอียดดังนี้

เพื่อให้การปฏิบัติพิธีการศุลกากรในการขนย้ายตู้คอนเทนเนอร์โดยรถไฟระหว่างสำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพและสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบังเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มทางเลือกในการขนย้ายตู้คอนเทนเนอร์ให้แก่ผู้ประกอบการ และตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในเรื่องการส่งเสริมระบบขนส่งสินค้าทางรางของประเทศ อธิบดีกรมศุลกากรออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 2 ในประกาศนี้
“รถไฟ” หมายความว่า รถไฟที่ใช้บรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ที่ขนส่งระหว่างสำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ และสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง
“ผู้ขนส่งตู้คอนเทนเนอร์” หมายความว่า ผู้ทำการขนย้ายตู้คอนเทนเนอร์โดยรถไฟระหว่าง สำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพและสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบังที่ได้รับอนุญาตจากการรถไฟแห่งประเทศไทย

ข้อ 3 ประกาศนี้ใช้บังคับกับการปฏิบัติพิธีการศุลกากรในการขนย้ายตู้คอนเทนเนอร์ โดยรถไฟระหว่างสำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ และสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง


ส่วนที่ 2

การปฏิบัติพิธีการศุลกากรในการขนย้ายตู้คอนเทนเนอร์ขาเข้า โดยรถไฟจากสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง ไปยังสำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ

ข้อ 8 ของที่นำเข้ามาทางสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบังซึ่งทำการขนถ่ายจากเรือที่สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง และขนส่งโดยรถไฟเพื่อนำมาตรวจปล่อย ในเขตพื้นที่ของสำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ ให้ถือว่าความรับผิดในอันจะต้องเสียอากร สำหรับของนั้น เกิดขึ้นในเวลาที่เรือ ซึ่งนำของนั้นได้เข้ามาในเขตท่าเรือแหลมฉบัง

ข้อ 9 การขนย้ายตู้คอนเทนเนอร์ขาเข้าโดยรถไฟจาก สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง ไปยังสำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ ต้องมี บัญชีสินค้าสำหรับเรือ (Manifest) และใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading) ที่ระบุท่าที่มีชื่อส่งของถึง (Place of Delivery) เป็นท่าเรือกรุงเทพเท่านั้น

ข้อ 10 ให้นายเรือหรือตัวแทนเรือจัดทำคำร้องขออนุญาตขนย้ายตู้คอนเทนเนอร์ขาเข้าตาม แบบแนบท้ายประกาศนี้ พร้อมสำเนาบัญชีสินค้าสำหรับเรือที่ระบุท่าที่มีชื่อส่งของถึงเป็นท่าเรือกรุงเทพ ยื่นต่อสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบังไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง ก่อนการขนย้ายตู้คอนเทนเนอร์บรรทุกขึ้นรถไฟ

ข้อ 11 ให้ผู้ขนส่งตู้คอนเทนเนอร์จัดทำใบกำกับการขนย้ายตู้คอนเทนเนอร์ขาเข้าตามแบบ แนบท้ายประกาศนี้ ยื่นต่อสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบังไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง ก่อนรถไฟเดินทางออก จากสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง และอำนวยความสะดวกแก่พนักงานศุลกากรในการตรวจสอบตู้คอนเทนเนอร์ มัดลวดประทับตราตะกั่ว กศก. หรือติดตั้งอุปกรณ์อื่นใดที่กรมศุลกากรกำหนดที่ตู้คอนเทนเนอร์

ข้อ 12 ให้ผู้ขนส่งตู้คอนเทนเนอร์เป็นผู้รับผิดชอบควบคุมการเคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์ ที่ผ่านการตรวจสอบ และได้รับอนุญาตจากสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง บรรทุกขึ้นรถไฟผ่านการตรวจสอบตู้คอนเทนเนอร์ทางรถไฟ ด้วยเครื่องเอกซเรย์

      กรณีมีเหตุจำเป็นที่ต้องขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์นอกเส้นทางหรือจุดที่จะทำการขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ ตามที่การรถไฟแห่งประเทศไทยได้แจ้งไว้ต่อกรมศุลกากร ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยแจ้งสำนักงานศุลกากร ท่าเรือแหลมฉบังทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง ก่อนการขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์นอกเส้นทางหรือจุดที่ จะทำการขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อพิจารณาอนุมัติและกำหนดวิธีการควบคุมทางศุลกากรเป็นรายกรณีไป หรือในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยแจ้งสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบังทราบในโอกาสแรกด้วย เพื่อให้พนักงานศุลกากรพิจารณาและกำหนดวิธีการควบคุมทางศุลกากรเป็นรายกรณีเช่นเดียวกัน

ข้อ 13 ให้ผู้ขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ใช้สำเนาคำร้องขออนุญาตขนย้ายตู้คอนเทนเนอร์ขาเข้า และสำเนาใบกำกับการขนย้ายตู้คอนเทนเนอร์ขาเข้า เป็นเอกสารกำกับการขนย้ายตู้คอนเทนเนอร์ขาเข้าโดยรถไฟ เมื่อรถไฟมาถึงสำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ ให้ผู้ขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ ยื่นสำเนาคำร้องขออนุญาตขนย้ายตู้คอนเทนเนอร์ขาเข้า และสำเนาใบกำกับการขนย้ายตู้คอนเทนเนอร์ขาเข้า ต่อสำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ เพื่อตรวจสอบและควบคุมการขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ และให้ผู้นำของเข้าปฏิบัติพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กรมศุลกากรกำหนดต่อไป

ข้อ 14 การตรวจปล่อยสินค้าขาเข้าให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของหน่วยงานบริการศุลกากร ประจำสถานที่ตรวจปล่อยของสำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ


ส่วนที่ 3

การปฏิบัติพิธีการศุลกากรในการขนย้ายตู้คอนเทนเนอร์ขาออก โดยรถไฟจากสำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพไปยังสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง

ข้อ 15 ในการจัดทำใบขนสินค้าขาออกให้ผู้ส่งของออกระบุรหัสสถานที่ตรวจปล่อย (Release Port) เป็นท่าบริการรถไฟสำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ รหัส 0255 และ รหัสสถานที่รับบรรทุก (Load Port) เป็นสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง รหัส 2801

ข้อ 16 การขนย้ายตู้คอนเทนเนอร์ขาออกโดยรถไฟจากสำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ ไปยังสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง ต้องมีใบขนสินค้าขาออกสถานะพร้อมรับบรรทุกที่ผ่านการตรวจ ปล่อยโดยสำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพแล้วเท่านั้น

ข้อ 17 ให้ผู้ขนส่งตู้คอนเทนเนอร์จัดทำรายงานตู้คอนเทนเนอร์ขาออกตามแบบแนบท้าย ประกาศนี้ ยื่นต่อสำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ ก่อนการขนย้ายตู้คอนเทนเนอร์บรรทุกขึ้นรถไฟไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง ก่อนรถไฟเดินทางออกจากสำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ และอำนวยความสะดวกแก่พนักงาน ศุลกากรในการตรวจสอบตู้คอนเทนเนอร์ หรือติดตั้งอุปกรณ์อื่นใดที่กรมศุลกากรกำหนดที่ตู้คอนเทนเนอร์

ข้อ 18 ให้ผู้ขนส่งตู้คอนเทนเนอร์เป็นผู้รับผิดชอบควบคุมการขนย้ายตู้คอนเทนเนอร์ ที่ผ่านการตรวจสอบและได้รับอนุญาตจากสำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพแล้ว บรรทุกขึ้นรถไฟผ่านการตรวจสอบ ตู้คอนเทนเนอร์ทางรถไฟด้วยเครื่องเอกซเรย์ ณ สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง กรณีมีเหตุจำเป็นที่ต้องขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์นอกเส้นทางหรือจุดที่จะทำการขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ ตามที่การรถไฟแห่งประเทศไทยได้แจ้งไว้ต่อกรมศุลกากรให้การรถไฟแห่งประเทศไทยแจ้งสำนักงานศุลกากร ท่าเรือกรุงเทพทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง ก่อนการขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์นอกเส้นทางหรือจุดที่จะ ทำการขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อพิจารณาอนุมัติและกำหนดวิธีการควบคุมทางศุลกากรเป็นรายกรณีไป หรือ ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยแจ้งสำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพทราบในโอกาสแรกด้วย เพื่อให้พนักงานศุลกากรพิจารณาและกำหนดวิธีการควบคุมทางศุลกากรเป็นรายกรณีเช่นเดียวกัน

ข้อ 19 ให้ผู้ขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ใช้สำเนารายงานตู้คอนเทนเนอร์ขาออกเป็นเอกสารกำกับ การขนย้ายตู้คอนเทนเนอร์ขาออกโดยรถไฟ เมื่อรถไฟมาถึงสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง ให้ผู้ขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ยื่นสำเนารายงานตู้คอนเทนเนอร์ขาออกต่อสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อตรวจสอบและควบคุมการขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์จากรถไฟ เข้าเก็บ ณ จุดรับบรรทุก เพื่อรอการบรรทุกลงเรือต่อไป


ส่วนที่ 4

พิธีการศุลกากรเฉพาะเรื่อง

ข้อ 20 กรณีของที่จะส่งออกไม่ได้บรรทุกลงในเรือ หรือบรรทุกลงในเรือไม่ครบจำนวน ให้นายเรือหรือตัวแทนเรือแจ้งเหตุที่ไม่สามารถนำของนั้นบรรทุกลงในเรือต่อสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง ภายในกำหนดสามวันนับแต่วันที่เรือออกจากท่า และดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  1. กรณีเปลี่ยนเรือ ให้นายเรือหรือตัวแทนเรือยื่นคำขออนุญาตต่อสำนักงานศุลกากร ท่าเรือแหลมฉบัง เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ให้นายเรือหรือตัวแทนเรือดำเนินการแก้ไขข้อมูลการส่งออกตามที่กำหนดไว้ในประกาศกรมศุลกากรว่าด้วยการปฏิบัติพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์

  2. กรณีการขอตรวจรับสินค้ากลับคืน หรือการยกเลิกการส่งออก ให้ผู้ส่งของออก และนายเรือหรือตัวแทนเรือยื่นคำขออนุญาตต่อสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ให้ดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในประกาศกรมศุลกากรว่าด้วยการปฏิบัติพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ ไม่อนุญาตให้ขนส่งกลับทางรถไฟในกรณีที่ตู้คอนเทนเนอร์อยู่ระหว่างการขนส่งโดยรถไฟ หรือได้ขนถ่ายขึ้นที่ท่าเรือในเขตพื้นที่สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบังแล้ว

ข้อ 21 กรณีผู้ขนส่งตู้คอนเทนเนอร์กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรหรือ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับการศุลกากร หรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบหรือเงื่อนไขที่กำหนด พนักงานศุลกากรจะ พิจารณาบังคับสัญญาประกันและทัณฑ์บน และแจ้งให้การรถไฟแห่งประเทศไทยระงับหรือเพิกถอนสิทธิในการเป็น ผู้ขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ รวมถึงดำเนินคดีตามกฎหมายศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องต่อไป

ข้อ 22 กรณีเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุสุดวิสัยอย่างใด ๆ ที่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการหรือ ให้ผู้ขนส่งตู้คอนเทนเนอร์แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนเพื่อเป็นหลักฐานรูปแบบการขนส่งตามประกาศนี้ พร้อมกับยื่นคำร้องขอแก้ไขข้อมูลใบกำกับการขนย้ายตู้คอนเทนเนอร์ขาเข้าหรือรายงานตู้คอนเทนเนอร์ ขาออกต่อสำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพหรือสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบังเพื่อพิจารณาอนุมัติให้ดำเนินการตามที่เห็นสมควร ภายใต้การควบคุมและกำกับดูแลของส่วนควบคุมทางศุลกากร สำนักงาน ศุลกากรท่าเรือกรุงเทพหรือส่วนควบคุมทางศุลกากร สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง

ประกาศ ณ วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2567

ที่มา : กรมศุลกากร