พิธีการศุลกากรนำเข้าทางอิเล็กทรอนิกส์ว่าด้วยการวางประกันปัญหาพิกัดอัตราศุลกากร

ประกาศกรมศุลกากรที่ 28/.2564 เรื่อง พิธีการศุลกากรนำเข้าทางอิเล็กทรอนิกส์ว่าด้วยการวางประกันปัญหาพิกัดอัตราศุลกากร

ประกาศกรมศุลกากรที่ 28/.2564 เรื่อง พิธีการศุลกากรนำเข้าทางอิเล็กทรอนิกส์ว่าด้วยการวางประกันปัญหาพิกัดอัตราศุลกากร

สรุปสาระสำคัญ

“ใบขนสินค้าวางประกัน” หมายความว่า ใบขนสินค้าขาเข้าวางประกันปัญหาพิกัดอัตราศุลกากร

การวางประกัน

“การวางประกัน” หมายความว่า

  1. การวางประกันปัญหาพิกัดอัตราศุลกากรสําหรับของชนิดเดียวกันกับที่ผู้นําของเข้าได้นําเข้ามา และมีการวางประกัน ปัญหาพิกัดอัตราศุลกากรไว้ก่อนแล้ว และยังไม่มีคําวินิจฉัยพิกัดอัตราศุลกากรสําหรับของนั้น หรือมีคําวินิจฉัยพิกัดอัตราศุลกากร สําหรับของนั้นแล้วแต่อยู่ระหว่างการอุทธรณ์ โดยส่งข้อมูลใบขนสินค้าวางประกันเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรโดยสมัครใจ หรือ
  2. ของที่ไม่เคยมีปัญหาพิกัดอัตราศุลกากรมาก่อน แต่ผู้นําของเข้าประสงค์ขอพบพนักงานศุลกากร เพื่อให้พนักงานศุลกากรพิจารณา พิกัดอัตราศุลกากรสําหรับของที่กําลังผ่านพิธีการศุลกากร โดยส่งข้อมูลใบขนสินค้าวางประกันเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร โดยสมัครใจ

“ของทํานองเดียวกัน” หมายถึง ของประเภทเดียวกันที่ทําด้วยวัตถุอย่างเดียวกัน มีองค์ประกอบและการใช้ประโยชน์เหมือนกัน

การจัดทําข้อมูลใบขนสินค้า

การจัดทําข้อมูลใบขนสินค้าวางประกันปัญหาพิกัดอัตราศุลกากร

  1. ผู้นําของเข้าจัดทําข้อมูลใบขนสินค้าวางประกันตามมาตรฐานที่กรมศุลกากรกําหนด ตามคู่มือการปฏิบัติพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าด้วยกระบวนการทางศุลกากรสําหรับการนําเข้า (e-Import)
  2. ให้ระบุเหตุผลของการวางประกันปัญหาพิกัดอัตราศุลกากร ในช่อง Deposit Reason Code เป็นรหัส “D02”
  3. ทําเครื่องหมาย (Y) ในช่อง Assessment Request Code เพื่อแจ้งความ ประสงค์ขอพบพนักงานศุลกากรเพื่อตรวจสอบพิกัด ราคา และของ
  4. กรณีนําของชนิดเดียวกันกับที่ผู้นําของเข้าได้นําเข้ามาและได้วางประกันไว้ก่อนแล้ว และผู้นําของเข้าประสงค์ จะขอวางประกันในลักษณะเดิมต่อเนื่อง ให้ระบุเลขที่ใบขนสินค้าและรายการที่ ในใบขนสินค้าวางประกันฉบับแรก ที่เคยมีปัญหาพิกัดอัตราศุลกากรและวางประกันไว้ ในช่องเลขที่ใบขนสินค้า ที่อ้างถึง (Reference Declaration Number) และช่องรายการที่ในใบขนสินค้าที่อ้างถึง (Reference Declaration Line Number)
  5. ให้ระบุ “ขอชําระอากรในพิกัด/อัตรา (พิกัดศุลกากรที่มีอัตราต่ํา) และขอวาง ประกันอากรในพิกัดอัตรา…(พิกัดศุลกากรที่มีอัตราสูง)” ในช่องหมายเหตุ (Remark)

กรณีจัดทําข้อมูลใบขนสินค้าวางประกันไม่ครบถ้วน

กรณีที่ผู้นําของเข้าส่งข้อมูลใบขนสินค้าวางประกันเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรแล้ว แต่ไม่ได้จัดทําข้อมูลให้ครบถ้วนในแต่ละรายการ ที่มีการวางประกันในกรณีดังต่อไปนี้

  1. ไม่ได้ทําเครื่องหมาย (Y) ในช่อง Assessment Request Code และใบขนสินค้า วางประกันได้รับยกเว้นการตรวจสอบพิกัด ราคา และของ ให้ผู้นําของเข้าติดต่อโรงพักสินค้าทําการเปลี่ยนสถานะ (Status) ให้เป็นใบขนสินค้าที่ขอพบพนักงานศุลกากร เพื่อให้พนักงานศุลกากรตรวจสอบพิกัด ราคา และของ
  2. กรณีอื่น ๆ ให้ผู้นําของเข้ายื่นคําร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลใบขนสินค้าวางประกัน ให้ครบถ้วนก่อนนําของออกจากอารักขาศุลกากร

ข้อควรระวัง

ใบขนสินค้าวางประกันที่ไม่ได้พบพนักงานศุลกากรเพื่อตรวจสอบพิกัด ราคา และของ โดยได้รับมอบของออกจากอารักขาศุลกากรแล้ว กรมศุลกากรจะไม่รับพิจารณาตัวอย่างของนั้น และให้ถือว่าผู้นําของเข้าไม่ประสงค์จะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาวินิจฉัยปัญหาพิกัดอัตราศุลกากร

ที่มา : กรมศุลกากร