การขนส่งระหว่างประเทศเป็นการขนส่งของหลายเจ้าของ (หลายใบตราส่ง) กฎการขนส่ง จึงกำหนดให้ของที่จะขนส่ง ต้องจัดทำเครื่องหมายเลขหมายและนำไปแสดงไว้ในใบตราส่งด้วย
เครื่องหมายและเลขหมายหีบห่อ (Shipping Mark) คือ ข้อความ สัญลักษณ์ หรือตัวเลข ที่ระบุไว้บนแต่ละหีบห่อของสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้านั้นเป็นของตามใบตราส่งใด และเพื่อให้กระบวนการขนส่งในทุก ๆ ขั้นตอนเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว เรียบร้อย ปลอดภัย ไม่มีความสับสน ล่าช้า เกิดขึ้นระหว่างต้นทางและปลายทาง รวมไปถึงความปลอดภัยของสินค้าระหว่างขนส่ง ดังนั้น แต่ละหีบห่อของสินค้าจึงควรมีเครื่องหมายและเลขหมายหีบห่อ (Shipping Mark) อย่างถูกต้องและครบถ้วน และนำไประบุไว้ในเอกสารนำเข้า-ส่งออกทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น commercial invoice, B/L และ packing list
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 211 บัญญัติว่า
ประกาศกรมศุลกากรที่ 132/.2561 เรื่อง คู่มือการผ่านพิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ว่าด้วยกระบวนการทางศุลกากรสำหรับการนำเข้า (e-Import) หน้า 59 ได้ระบุถึง เครื่องหมายและเลขหมายหีบห่อ (Shipping Marks) ดังนี้
-
เครื่องหมายและเลขหมายหีบห่อ (Shipping Marks) ต้องสำแดงเครื่องหมายและเลขหมายหีบห่อ ให้ตรงกับความเป็นจริง ซึ่งจะต้องตรงกับใบตราส่งสินค้า โดยให้สำแดง ดังนี้
- ถ้าเครื่องหมายและเลขหมายหีบห่อเป็นข้อความให้บันทึกเป็นข้อความตามจริง หากเครื่องหมายและเลขหมายหีบห่อมีความยาวเกิน 512 ตัวอักษร ให้บันทึกเพียง 512 ตัวอักษรได้
- ถ้าเครื่องหมายและเลขหมายหีบห่อเป็นข้อความที่เป็นภาษาต่างประเทศ ซึ่งไม่สามารถบันทึกข้อความนั้นได้ เช่น ภาษาจีน ให้ระบุคำว่า “PICTURE”
- ถ้าเครื่องหมายและเลขหมายหีบห่อเป็นรูปภาพให้ระบุคำว่า “PICTURE”
-
กรณีผ่อนผันไม่ต้องสำแดงเครื่องหมายและเลขหมายหีบห่อ (Shipping Marks) ในการจัดทำข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าให้ระบุคำว่า “NO SHIPPING MARK” แทนได้ สำหรับกรณี ดังต่อไปนี้
- กรณีหีบห่อของใช้ส่วนตัวตาม ประเภทที่ 5 ภาค 4 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530
- กรณีหีบห่อของที่ได้รับเอกสิทธิ์ ตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีต่อองค์การสหประชาชาติตามกฎหมายระหว่างประเทศหรือตามสัญญากับนานาประเทศ
- ของที่มิได้บรรจุหีบห่อ เช่น รถยนต์ ยางรถยนต์ รางรถไฟ ลวด โลหะเป็นแท่งหรือก้อนกระดาษพิมพ์หนังสือเป็นม้วน กระเบื้อง
- ของเหลวบรรจุในขวดใหญ่และมีวัตถุถักหุ้มขวด เช่น น้ำกรด
- ของที่มาเป็นกอง เช่น ถ่านหิน
- ของที่บรรจุหีบห่อเดียว
- ของที่บรรจุในหีบห่อที่เป็นมาตรฐานเดียว (Standard Packing) เช่น ลังไม้ หรือลังกระดาษที่มีขนาดกว้างยาวเท่ากัน ของที่บรรจุมีจำนวนเท่ากัน เช่น นมสด สุรา เบียร์ อาหารปนแป้ง วิทยุ
- ของที่มาเป็นถังเหล็กหรือถังไฟเบอร์ (Drum or Fiber Drum) ที่มีลักษณะขนาด น้ำหนัก และจำนวนของที่บรรจุเท่ากัน เช่น จุกขวด น้ำยาดับกลิ่น น้ำมันเครื่อง สีทา
- ของที่บรรจุมาในถุงกระดาษหรือกระสอบ ที่มีลักษณะขนาด น้ำหนัก และจำนวนของที่บรรจุเท่ากัน เช่น ปุ๋ย แอมโมเนีย แป้ ง ข้าวสาลี หิน กากเพชร น้ำตาล
- ของที่บรรจุมาในหีบโปร่ง (Crate) เช่น เครื่องยนต์
ที่มาบทความ : กรมศุลกากร.
วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 8 สิงหาคม 2562