กําหนดมาตรฐานขั้นต่ำของระบบงานด้านการควบคุมทางศุลกากร

ประกาศกรมศุลกากร ที่ 189/.2564 เรื่อง กําหนดมาตรฐานขั้นต่ำของระบบงานด้านการควบคุมทางศุลกากร เพื่อรองรับการปฏิบัติพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์

กรมศุลกากรได้พัฒนาระบบงานด้านการควบคุมทางศุลกากร รองรับการปฏิบัติพิธีการ ศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยการนําเทคโนโลยีที่ทันสมัย อันได้แก่ ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ระบบกุญแจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Lock System) ระบบตรวจสอบตู้คอนเทนเนอร์สินค้าด้วยเครื่องเอกซเรย์ (Container X-ray System) ระบบตรวจสอบหีบห่อสินค้าหรือสัมภาระผู้โดยสารด้วยเครื่องเอกซเรย์ (Luggage and Cargo X-ray System) และระบบการควบคุมสินค้าคงคลัง (e-Inventory) เพื่อเป็นเครื่องมือ ในการกํากับดูแล ตรวจสอบ และติดตามของที่อยู่ภายใต้การควบคุมของศุลกากร อันเป็นการป้องกัน การลักลอบ หลีกเลี่ยง ซึ่งค่าภาษีอากรของรัฐ รวมถึงเป็นการอํานวยความสะดวกในการผ่านพิธีการศุลกากร ของผู้ประกอบการ

“ระบบการควบคุมสินค้าคงคลัง (e-Inventory)” หมายความว่า ระบบเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการบริหารจัดการของคงเหลือ การเคลื่อนย้ายของ หรือขนย้ายของ ที่นําเข้าและนําออกจากศูนย์บริการศุลกากร เพื่อกระจายสินค้าหรือหน่วยงานอื่นที่มีลักษณะการทํางานคล้ายกัน คลังสินค้าทัณฑ์บน หรือเขตปลอดอากร

ข้อ 4 ในกรณีที่กรมศุลกากรกําหนดให้หน่วยงานเอกชนหรือผู้ประกอบการเป็นผู้จัดหา ระบบงานด้านการควบคุมทางศุลกากร และกําหนดให้เอกชนหรือผู้ประกอบการต้องปฏิบัติตามข้อกําหนด ในประกาศนี้ให้ผู้จัดหาดําเนินการโดยคํานึงถึงหลักเกณฑ์ 4 ด้าน ดังนี้

  1. กระบวนงานของระบบ
  2. มาตรฐานขั้นต่ําของระบบ
  3. รูปแบบการรายงาน
  4. การเชื่อมโยงข้อมูลกับกรมศุลกากร

หมวด 2 มาตรฐานขั้นต่ําของระบบงานด้านการควบคุมทางศุลกากร

ส่วนที่ 5 ระบบการควบคุมสินค้าคงคลัง (e-Inventory)

กระบวนงานของระบบการควบคุมสินค้าคงคลัง (e-Inventory) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อควบคุมของที่นําเข้าและนําออก จากศูนย์บริการศุลกากรเพื่อกระจายสินค้า หรือหน่วยงานอื่นที่มีลักษณะ การทํางานคล้ายกัน คลังสินค้าทัณฑ์บน และเขตปลอดอากร

กรณีศูนย์บริการศุลกากรเพื่อกระจายสินค้าหรือหน่วยงานอื่นที่มีลักษณะการ ทํางานคล้ายกัน

ขั้นตอนขาเข้า (Inbound)

  • เข้าระบบโดยทําการ Login
  • บันทึกข้อมูลคําร้องหรืออัพโหลดไฟล์ XML แจ้งขอนําของเข้า ศูนย์บริการศุลกากรเพื่อกระจายสินค้า ผ่านหน้าจอเว็บแอพพลิเคชั่น (Web Application) เพื่อแจ้งให้ผู้ดําเนินการ ศูนย์บริการศุลกากรเพื่อกระจายสินค้าทราบล่วงหน้าก่อนของมาถึงศูนย์บริการศุลกากรเพื่อกระจายสินค้า
  • ระบบการควบคุมสินค้าคงคลังจะเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบ คอมพิวเตอร์กรมศุลกากรในการรับส่งข้อมูลและรายงานข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์กรมศุลกากร ตามที่ กรมศุลกากรกําหนด
  • บันทึกยืนยันการนําของเข้าศูนย์บริการศุลกากรเพื่อกระจายสินค้า (Put Away/Confirm IN) ผ่านหน้าจอของเว็บแอพพลิเคชั่น (Web Application) เพื่อจัดเก็บของเข้า สถานที่ เก็บสินค้า (Location) ที่กําหนดไว้
  • ระบบการควบคุมสินค้าคงคลังจะนําข้อมูลสินค้าที่อยู่ในฐานข้อมูล มาทําการสรุปออกเป็นรายงานต่าง ๆ

ขั้นตอนขาออก (Outbound)

  • เข้าระบบโดยทําการ Login
  • บันทึกข้อมูลคําร้องหรืออัพโหลดไฟล์ XML แจ้งขอนําของออก จากศูนย์บริการศุลกากรเพื่อกระจายสินค้า ผ่านหน้าจอเว็บแอพพลิเคชั่น (Web Application) เพื่อแจ้ง ให้ผู้ดําเนินการศูนย์บริการศุลกากรเพื่อกระจายสินค้าทราบล่วงหน้าก่อนนําของออกจากศูนย์บริการศุลกากร เพื่อกระจายสินค้า
  • ระบบการควบคุมสินค้าคงคลังจะเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบ คอมพิวเตอร์กรมศุลกากรในการรับส่งข้อมูลและรายงานข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์กรมศุลกากร ตามที่ กรมศุลกากรกําหนด
  • บันทึกยืนยันการนําของออกจากศูนย์บริการศุลกากรเพื่อกระจายสินค้า (Ship/Confirm OUT) ผ่านหน้าจอเว็บแอพพลิเคชั่น (Web Application)
  • ระบบการควบคุมสินค้าคงคลังจะนําข้อมูลสินค้าที่อยู่ในฐานข้อมูลมาทําการสรุปออกเป็นรายงานต่าง ๆ

ระบบการควบคุมสินค้าคงคลังจะต้องมีกระบวนการในการเก็บข้อมูลรายการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ในทุกกระบวนการ เช่น วันที่นําสินค้าเข้า - ออก ศูนย์บริการศุลกากรเพื่อกระจายสินค้า สถานที่ เก็บสินค้า (Location) และการเคลื่อนไหวของสินค้า ทั้งนี้ กรณีที่ไม่สามารถนําของออกจากศูนย์บริการศุลกากร เพื่อกระจายสินค้าภายในระยะที่กฎหมายกําหนด ระบบการควบคุมสินค้าคงคลังจะต้องนําข้อมูลสินค้า ที่อยู่ในฐานข้อมูลมาสรุปเป็นรายงานของตกค้าง (Overtime Goods Report) ได้

กรณีคลังสินค้าทัณฑ์บน และเขตปลอดอากร
  • ขั้นตอนขาเข้า (Inbound) ต้องบันทึกข้อมูลการนําสินค้าเข้าในระบบ การ ควบคุมสินค้าคงคลัง (e-Inventory) โดยประกอบด้วยข้อมูลอย่างน้อย ดังนี้ เลขที่ใบขนสินค้านําเข้า/ เลขที่บัญชีราคาสินค้า รายการที่ เลขทะเบียนสิทธิประโยชน์ ชื่อผู้นําเข้า วันนําเข้า วันนําเข้าเก็บ พิกัดศุลกากร รหัสสินค้า ชื่อของ หน่วยนับ ปริมาณ น้ําหนัก (KGM) มูลค่า (บาท) และภาษีอากรรวม (บาท)
  • ขั้นตอนขาออก (Outbound) ต้องบันทึกข้อมูลการนําสินค้าออกในระบบเลขที่บัญชีราคาสินค้า รายการที่ วันส่งออก/วันนําออก ผู้รับโอน/บริษัทผู้นําเข้า พิกัดศุลกากร รหัสสินค้า ชื่อของ หน่วยนับ ปริมาณ น้ําหนัก (KGM) มูลค่า (บาท) ภาษีอากรรวม (บาท) ตัดจากใบขนสินค้านําเข้า/เลขที่ สูตรการผลิต และรายการที่อ้างถึง

ข้อ 23 มาตรฐานขั้นต่ําของระบบ

กรณีศูนย์บริการศุลกากรเพื่อกระจายสินค้าหรือหน่วยงานอื่นที่มีลักษณะการ ทํางานคล้ายกัน
  • สามารถควบคุมการเคลื่อนย้ายหรือขนย้ายของที่เกี่ยวข้องกับการนําของ เข้า การส่งออก การผ่านแดน การเก็บรักษา การร่วมบรรจุ และการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการขนส่งที่ นําเข้ามาและนําออกจากคลังสินค้า
  • สามารถสร้างข้อมูลรายงานตามช่วงเวลาได้ เช่น รายวัน รายเดือน และรายปี เพื่อให้เจ้าหน้าที่ศุลกากร หรือผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเรียกดูรายงานได้ตลอดเวลา โดยที่สามารถดาวน์โหลด รายงานต่าง ๆ ออกมาเป็นแฟ้มประเภทมาตรฐาน (File type) ในรูปแบบ Excel, Doc และ PDF
  • สามารถตรวจสอบสถานะของสินค้าภายในคลังสินค้าได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยํา
  • สามารถอ่านและพิมพ์แถบป้ายข้อมูลบาร์โค้ด (Barcode Tag) หรือระบบ คิวอาร์โค้ด (QR Code) สําหรับติดที่สินค้าและหมายเลขช่องเก็บสินค้า เพื่อระบุตําแหน่งที่จัดเก็บ
  • สามารถบันทึกประวัติการใช้งานของระบบ เพื่อใช้ในการติดตามและ ตรวจสอบประวัติการใช้งานแยกตามผู้ใช้แต่ละรายได้
  • สามารถรองรับการใช้งานทั้งในรูปแบบ Web Application และ Mobile Application ของระบบปฏิบัติการ iOS Android และ Windows
กรณีคลังสินค้าทัณฑ์บน และเขตปลอดอากร
  • สามารถควบคุมการเคลื่อนย้ายหรือขนย้ายของที่เกี่ยวข้องกับการนําของเข้า การส่งออก การเก็บรักษาได้
  • สามารถสร้างข้อมูลรายงานตามช่วงเวลาได้ เช่น รายวัน รายเดือน และรายปี เพื่อให้เจ้าหน้าที่ศุลกากร หรือผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเรียกดูรายงานได้ตลอดเวลา โดยที่สามารถดาวน์โหลด รายงานต่าง ๆ ออกมาเป็นแฟ้มประเภทมาตรฐาน (File type) ในรูปแบบ Excel, Doc และ PDF
  • สามารถอ่านและพิมพ์แถบป้ายข้อมูลบาร์โค้ด (Barcode Tag) หรือระบบ คิวอาร์โค้ด (QR Code) สําหรับติดตามของที่เก็บในคลังสินค้าและระบุสถานที่จัดเก็บได้
  • สามารถบันทึกประวัติการใช้งานของระบบ เพื่อใช้ในการติดตามและ ตรวจสอบประวัติการใช้งานแยกตามผู้ใช้แต่ละรายได้

ข้อ 24 รูปแบบการรายงาน

กรณีศูนย์บริการศุลกากรเพื่อกระจายสินค้าหรือหน่วยงานอื่นที่มีลักษณะการ ทํางานคล้ายกัน
  • รายงานการนําของเข้าคลังสินค้า (Inbound Cargo Report) สามารถ รายงาน การนําของเข้าไปยังคลังสินค้าได้ เช่น ของนําเข้า ของส่งออก และของผ่านแดน
  • รายงานการนําของออกจากคลังสินค้า (Outbound Cargo Report) สามารถรายงานการนําของออกจาก คลังสินค้าได้ เช่น ของนําเข้า ของส่งออก และของผ่านแดน
  • รายงานของคงเหลือ (Balance Inbound Report) สามารถรายงาน สมดุลบัญชีของขาเข้า
  • รายงานของตกค้าง (Overtime Goods Report - List A, List F) ตามรูปแบบ ที่ศุลกากรกรกําหนด รวมทั้งการจัดการกับของตกค้าง
  • รายงานการเคลื่อนย้ายสินค้า (Goods Movement Report) เช่น สามารถ รายงานการเคลื่อนย้ายของระหว่างพื้นที่คลังสินค้าและศูนย์บริการศุลกากรเพื่อกระจายสินค้า
  • รายงานอื่นใดตามที่กรมศุลกากรกําหนด
กรณีคลังสินค้าทัณฑ์บน และเขตปลอดอากร
  • รายงานของที่นําเข้าเก็บในคลังสินค้าทัณฑ์บน และเขตปลอดอากร ต้องมี รายละเอียดอย่างน้อย ได้แก่ เลขที่ใบขนสินค้านําเข้า/เลขที่บัญชีราคาสินค้า รายการที่ เลขทะเบียนสิทธิ ประโยชน์ ชื่อผู้นําเข้า วันนําเข้า วันนําเข้าเก็บ พิกัดศุลกากร รหัสสินค้า ชื่อของ หน่วยนับ ปริมาณ น้ําหนัก (KGM) มูลค่า (บาท) และภาษีอากรรวม (บาท)
  • รายงานของที่นําออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บน และเขตปลอดอากร ต้องมี รายละเอียดอย่างน้อย ได้แก่ เลขที่ใบขนสินค้านําออก/เลขที่บัญชีราคาสินค้า รายการที่ วันส่งออก/วันนําออก ผู้รับโอน/บริษัทผู้นําเข้า พิกัดศุลกากร รหัสสินค้า ชื่อของ หน่วยนับ ปริมาณ น้ําหนัก (KGM) มูลค่า (บาท) ภาษีอากรรวม (บาท) ตัดจากใบขนสินค้านําเข้า/เลขที่สูตรการผลิต และรายการที่อ้างถึง
  • รายงานการเคลื่อนไหวของของที่นําเข้า ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อย ได้แก่ ชื่อผู้นําเข้า วันที่นําเข้า เลขที่ใบขนสินค้านําเข้า รหัสสินค้า ชื่อของ หน่วยของปริมาณ ปริมาณยกมา ปริมาณน้ําเข้า ปริมาณน้ําออก และปริมาณคงเหลือ
  • รายงานของคงเหลือ ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อย ได้แก่ เลขที่ใบขนสินค้า นําเข้า รายการที่ ชื่อผู้นําเข้า วันนําเข้า วันนําเข้าเก็บ รหัสสินค้า พิกัดศุลกากร ชื่อของ หน่วย ปริมาณ น้ําหนัก (KGM) มูลค่า (บาท) และภาษีอากรรวม (บาท)
  • รายการของเก็บเกินกําหนด
  • รายงานอื่นใดตามที่กรมศุลกากรกําหนด

ข้อ 25 การเชื่อมโยงข้อมูลกับกรมศุลกากร

ต้องพัฒนาระบบในรูปแบบ Web Application และเปิดสิทธิให้เจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากร สามารถเข้าใช้งานระบบดังกล่าวได้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และสามารถส่งมอบข้อมูลต่าง ๆ ให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรได้ เมื่อได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ศุลกากร



ประกาศกรมศุลกากร ที่ 189/.2564 เรื่อง กําหนดมาตรฐานขั้นต่ำของระบบงานด้านการควบคุมทางศุลกากร เพื่อรองรับการปฏิบัติพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์