สิทธิประโยชน์ทางภาษี

talk


คำตอบ :

โดยทั่วไป ของที่นำเข้ามาใน หรือ ส่งออกนอกราชอาณาจักร หากเป็นของที่มีกฎหมายควบคุมการนำเข้ามาในหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร ผู้นำเข้า ผู้ส่งออกต้องดำเนินการให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายอื่นกำหนด เขตปลอดอากร เป็นพื้นที่พิเศษที่มีกฎหมายศุลกากร ยกเว้นหลักการดังกล่าวไว้ตามมาตรา 152 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 ดังนี้

  1. ของที่มีบทกฎหมายอื่นควบคุมเกี่ยวกับมาตรฐานหรือคุณภาพ การประทับตรา หรือ เครื่องหมายใด ๆ หากนำของนั้นจากนอกราชอาณาจักรเข้าไปในเขตปลอดอากรทุกพื้นที่ในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ผลิต ผสม ประกอบ บรรจุ หรือดำเนินการอื่นใดเพื่อการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ผู้นำเข้า และผู้ส่งออก ไม่ต้องขออนุญาตหน่วยงานที่กำกับควบคุม การบันทึกข้อมูลในใบขนสินค้าขณะนำเข้า / ส่งออก ในส่วนข้อมูล “ใบอนุญาตฯ” ให้บันทึกดังนี้

    • ช่อง “เลขที่ใบอนุญาต” ให้สำแดง EXEMPT152
    • ช่อง “เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร” ให้สำแดงเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของกรมศุลกากร คือ 4101035398
    • ช่อง “วันที่อนุญาต” ให้สำแดงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2560
  2. ของที่มีบทกฎหมายอื่นควบคุมเกี่ยวกับการนำเข้ามาในราชอาณาจักร การส่งออกไปนอกราชอาณาจักร การครอบครองหรือการใช้ประโยชน์ซึ่งของนั้น หากนำของนั้นเข้าไปในเขตปลอดอากรเฉพาะพื้นที่ที่กำหนดในกฎกระทรวง เท่านั้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ผลิต ผสม ประกอบ บรรจุ หรือดำเนินการอื่นใดเพื่อการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ผู้นำเข้า / ผู้ส่งออก ไม่ต้องขออนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เขตปลอดอากรที่กำหนดในกฎกระทรวง คือ

    • เขตปลอดอากรที่ตั้งอยู่ ณ สนามบินดอนเมือง
    • เขตปลอดอากรที่ตั้งอยู่ ณ สนามบินสุวรรณภูมิ
    • เขตปลอดอากรที่ตั้งอยู่ ณ สนามบินอู่ตะเภา ระยอง พัทยา
    • เขตปลอดอากรที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
    • เขตปลอดอากรที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก

    การบันทึกข้อมูลในใบขนสินค้าขณะนำเข้า / ส่งออก ในส่วนข้อมูล “ใบอนุญาต” สำหรับของที่ต้องมีใบอนุญาตฯ ไม่ต้องบันทึกข้อมูลใดๆ ระบบคอมพิวเตอรของกรมศุลกากรจะตรวจสอบความถูกต้องในเรื่องใบอนุญาตฯ จากเลขทะเบียนสิทธิประโยชน์ทางภาษ๊อากร (Tax Incentive ID)

  3. กรณีที่มีการปล่อยของที่ได้รับยกเว้นใบอนุญาตฯ ตามข้อ 1 และ ข้อ 2 ออกจากเขตปลอดอากรเพื่อใช้หรือจำหน่ายในราชอาณาจักร กฎหมายศุลกากรกำหนดให้ผู้นำเข้า ต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องนับแต่วันที่นำออกจากเขตปลอดอากร โดยถือเสมือนของนั้นได้นำเข้ามาในราชอาณาจักรในวันที่นำออกจากเขตปลอดอากร ดังนั้น ผู้นำเข้าที่จะนำของออกจากเขตปลอดอากรต้องดำเนินการเรื่องการขออนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยวิธีการเดียวกันกับกรณีของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร

อย่างไรก็ดี หากผู้นำเข้าประสงค์จะดำเนินการในเรื่องการอนุญาตนำเข้า ก่อนการนำของเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ใช้บทยกเว้นดังกล่าว ก็สามารถดำเนินการได้ตามปกติเช่นเดียวกับการนำเข้าอื่น ๆ การบันทึกข้อมูลขณะนำเข้าในใบขนสินค้าขาเข้าที่นำของเข้าเขตปลอดอากรให้บันทึกเช่นเดียวกับการนำเข้าปกติ ในกรณีที่มีการนำของดังกล่าวออกจากเขตปลอดอากรไม่ว่าในสภาพใดก็ตาม ในใบขนสินค้าขาเข้าที่ขอนำของออกจากเขตปลอดอากรประเภท “P” ให้บันทึกข้อมูลในส่วนต่างๆดังนี้

ในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาต บันทึกดังนี้

  • ช่อง “เลขที่ใบอนุญาต” ให้สำแดง EXEMPT88
  • ช่อง “เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร” ให้สำแดงเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของกรมศุลกากร คือ 4101035398
  • ช่อง “วันที่อนุญาต” ให้สำแดงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2560

ในส่วนรายละเอียดรายการสินค้าแต่ละรายการ

  • ช่อง “เลขที่ใบขนสินค้าและรายการที่อ้างถึง” ให้สำแดง เลขที่ใบขนสินค้าขาเข้า และลำดับรายการที่นำของนั้นเข้ามา ในราชอาณาจักรและนำเข้าเขตปลอดอากร


คำตอบ :


คำตอบ :


คำตอบ :

การนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร ต่อมาภายหลังผู้นำเข้ามีความประสงค์จะส่งสินค้ากลับออกไป สามารถยื่นคำร้องขอปฏิบัติพิธีการส่งของกลับออกไปนอกราชอาณาจักร (Re-Export) ตามมาตรา 28 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560 ได้ แต่หากสินค้านั้นเป็นของควบคุมการนำเข้า ของนั้นต้องได้รับอนุญาตให้นำเข้าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน จึงจะสามารถดำเนินการส่งของกลับได้ เครื่องมือแพทย์เป็นสินค้าที่ต้องมีใบอนุญาตก่อนนำเข้าจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ดังนั้น เมื่อนำเข้ามาและประสงค์จะขอส่งกลับ สามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณี.

  1. กรณีมีใบอนุญาตให้นำเข้าแล้ว ให้ตรวจสอบว่าของที่จะส่งกลับออกไปเป็นของที่ต้องมีใบอนุญาตส่งออกหรือไม่ ถ้ามีต้องขอใบอนุญาตส่งออก ก่อนดำเนินพิธีการทางศุลกากร กรณีนี้สินค้าอยู่ในอารักขาของศุลกากร ยังไม่ได้มีการตรวจปล่อย และรับของไปจากศุลกากร ให้ดำเนินการดังนี้
    • ให้จัดทำใบขนสินค้าขาเข้าและใบขนสินค้าขาออกโดยใช้สิทธิ Re-Export ตามมาตรา 28 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560 และชำระค่าอากรขาเข้ากรณีใช้สิทธิ Re-Export หนึ่งในสิบส่วนหรือไม่เกิน 1,000 บาท สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มได้สิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
    • ยื่นคำร้องขอปฏิบัติพิธีการส่งของกลับออกไปนอกราชอาณาจักร (Re-Export) ใบขนสินค้าขาเข้า ใบขนสินค้าขาออก และใบอนุญาตนำเข้า ณ ห้องปฏิบัติพิธีการศุลกากร ท่าที่นำเข้า
    • ดำเนินการตรวจปล่อยสินค้าขาเข้าและขาออก.
  2. กรณีไม่มีใบอนุญาตให้นำเข้า ผู้นำเข้าต้องติดต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อขอใบอนุญาตนำเข้าและส่งออกก่อน.
    • กรณีไม่ได้รับใบอนุญาต จะไม่สามารถดำเนินพิธีการใด ๆ ได้ เนื่องจากถือเป็นของต้องห้ามในการนำเข้า ให้ยกของกลางให้เป็นของแผ่นดิน
    • กรณีได้รับใบอนุญาตถือเป็นการได้รับใบอนุญาตหลังวันนำเข้า ให้ดำเนินพิธีการศุลกากรตามข้อ 1 แต่เนื่องจากได้รับใบอนุญาตหลังวันนำเข้า เจ้าหน้าที่จะจัดส่งเรื่องไปพิจารณาความผิด ณ ฝ่ายคดี โดยเสียค่าปรับร้อยละ 10 ของราคาของ ไม่น้อยกว่า 1,000 บาท แต่ไม่เกิน 20,000 บาท


คำตอบ :

การยื่นสูตรการผลิตจะต้องยื่นก่อนการส่งออกสินค้า เพื่อนำเลขที่สูตรการผลิต ไปบันทึกในใบขนสินค้าขาออกของผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ไปต่างประเทศ

  • ที่มา : กรมศุลกากร
  • วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 8 สิงหาคม 2562


คำตอบ :

ใบขนสินค้าขาเข้า ในส่วนรายการแต่ละรายการที่ใช้สิทธิการคืนอากรตามมาตรา 29 ต้องสำแดงเลข e-tax incentive ของผู้นำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศที่ได้รับอนุมัติหลักการคืนอากรตามมาตรา 29 และในใบขนสินค้าขาออกต้องสำแดงเลข e-tax incentive ของผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ไปต่างประเทศ

  • ที่มา : กรมศุลกากร
  • วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 8 สิงหาคม 2562