Import.

talk


คำตอบ :

ที่มา : กรมศุลกากร
วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 29 พฤศจิกายน 2566

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ศูนย์บริการศุลกากร อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา ชั้น 1
หมายเลขโทรศัพท์ : 1164
อีเมล์ : 1164@customs.go.th


คำตอบ :

ให้ระบุราคาขายปลีกแนะนำ ตามแบบแจ้งราคาขายปลีกแนะนำ (ภส.02-01) ในช่อง Deducted Amount ยกเว้นกรณี

  • กรณีที่อัตราภาษีสรรพสามิตกำหนดอัตราภาษีตามปริมาณเพียงอย่างเดียว ให้ระบุ 0.1
  • กรณีของนำเข้าคลังสินค้าทัณฑ์บน เขตปลอดอากร เขตประกอบการเสรี และของที่ได้รับยกเว้นอากรตามภาค 4รวมทั้งของที่โอนย้ายระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บน เขตปลอดอากร เขตประกอบการเสรีให้ระบุ 0.2.

ที่มา : กรมสรรพสามิต


คำตอบ :

  • การนำเข้าอาหารเพื่อจำหน่ายจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาตก่อนการนำเข้า ตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
  • การนำเข้าอาหารเพื่อบริโภคส่วนตัวทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ หรือการนำติดตัวเข้ามา สามารถทำได้โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตนำเข้า แต่ต้องอยู่ในเงื่อนไขดังนี้
  1. ต้องไม่เข้าข่ายอาหารที่ห้ามนำเข้าตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดอาหาร
    ที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย
  2. จำนวนตามที่สำนักด่านอาหารและยากำหนดว่าเป็นปริมาณอาหารเพื่อบริโภคเฉพาะตน ไม่ถือเป็นการนำเข้าเพื่อจำหน่าย คืออาหารไม่เกินจำนวนที่บริโภคได้ 30 วัน และไม่เกิน 30 กิโลกรัม หรือ 10 ลิตร อย่างไรก็ตาม พนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะพิจารณาตามลักษณะของผลิตภัณฑ์ประกอบกับข้อเท็จจริงในการนำเข้า

ที่มา : กรมศุลกากร วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 25 กันยายน 2563


คำตอบ :

  • การนำเข้าเครื่องสำอางสำเร็จรูปเพื่อขาย ต้องจดแจ้งรายละเอียดของเครื่องสำอางกับ อย.
  • การนำเข้าเครื่องสำอางสำเร็จรูปที่ไม่ใช่เพื่อขาย หากมีการนำเข้ารายการละไม่เกิน 6 ชิ้น ให้ถือว่า เป็นการนำเข้ามาในราชอาณาจักรที่อยู่ในอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ด่านนำเข้า ที่จะพิจารณาให้นำเข้าได้ โดยไม่ต้องแจ้งการนำเข้าต่อ อย. (นายด่านศุลกากรเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ด่านนำเข้า ตามประกาศกระทรวงสาธารณะสุข เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558)

ที่มา : กรมศุลกากร
วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 25 กันยายน 2563


คำตอบ :

  • การนำเข้าอาหารเพื่อจำหน่ายจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาตก่อนการนำเข้า ตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
  • การนำเข้าอาหารเพื่อบริโภคส่วนตัวทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ หรือการนำติดตัวเข้ามา สามารถทำได้โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตนำเข้า แต่ต้องอยู่ในเงื่อนไขดังนี้
  1. ต้องไม่เข้าข่ายอาหารที่ห้ามนำเข้าตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดอาหาร
    ที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย
  2. จำนวนตามที่สำนักด่านอาหารและยากำหนดว่าเป็นปริมาณอาหารเพื่อบริโภคเฉพาะตน ไม่ถือเป็นการนำเข้าเพื่อจำหน่าย คืออาหารไม่เกินจำนวนที่บริโภคได้ 30 วัน และไม่เกิน 30 กิโลกรัม หรือ 10 ลิตร อย่างไรก็ตาม พนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะพิจารณาตามลักษณะของผลิตภัณฑ์ประกอบกับข้อเท็จจริงในการนำเข้า

ที่มา : กรมศุลกากร
วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 25 กันยายน 2563


คำตอบ :

พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 ภาค 4 ประเภท 1 บัญญัติให้ยกเว้นอากรขาเข้ากับสินค้านำเข้าที่พิสูจน์ได้ว่า เป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักรและไม่ได้ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรใดๆที่ได้ส่งออกไปต่างประเทศและนำกลับเข้ามาโดยไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะหรือรูป หรือเป็นสินค้าต่างประเทศ ที่ได้เคยนำเข้ามาในประเทศไทย และชำระค่าภาษีอากร และได้ส่งออกไปต่างประเทศ โดยไม่ได้ขอคืนอากรขาเข้า และได้นำกลับเข้ามา โดยไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะหรือรูปร่าง ดังนั้นหากสินค้าของท่าน เป็นไปตามข้อกำหนดดังกล่าว โดยสามารถพิสูจน์ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่กรมศุลกากรกำหนด การนำกลับเข้ามาขายในประเทศ จะไม่ต้องเสียภาษีอากรขาเข้า แต่หากไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ของนั้นต้องชำระค่าภาษีอากร

ที่มา : กรมศุลกากร
วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 8 สิงหาคม 2562


คำตอบ :

ศบ. ย่อมาจาก ศุลกากรทางบก เป็นแบบรายงานยานพาหนะและสินค้าที่บรรทุกมาในยานพาหนะนั้นๆ เทียบได้กับ บัญชีสินค้าสำหรับเรือ (Manifest) ปัจจุบันสามารถส่งได้ทั้งอิเล็กทรอนิกส์ หรือ มายื่นเป็นกระดาษกับเจ้าหน้าที่ที่ด่านพรมแดน เมื่อผ่านด่านพรมแดนจะได้เลขที่บัญชีสินค้าทางบก เป็นเลข 17 หลัก ต้องเอาไปใส่ในช่องเลขที่ใบตราส่งในใบขนสินค้าขาเข้า เช่น รถยนต์หมายเลข 11111 ขนส่งของมาทั้งหมด 2 ราย

  1. นาย ก ผ้า 5 กล่อง น้ำหนัก 100 กก.
  2. นาย ข. เสื้อ 20 กล่อง น้ำหนัก 2000 กก.

ยื่น ศบ.1 ที่ด่านพรมแดน ได้เลขที่ 5141 02 11 100000215

รหัสด่าน ปี เดือน เลขลำดับของแต่ละเดือน
5141 02 11 100000215

ในการทำใบขนฯจะแยกยื่นเป็นของแต่ละคน ของนาย ก. จะนำเลข 17 หลักไปใส่ในช่อง Master Bill of Lading นำรายการที่ 1 ไปใสในช่อง House Bill of Lading ปกติ ถ้าใน ศบ. มีรายการเดียว จะทำใบขนฯ 1 ฉบับ ตามจำนวนของที่บรรทุกมา แต่เนื่องจากมีของบางอย่างนำเข้าหลายเที่ยวในวันเดียวกัน และประสงค์จะขอทำใบขนฯรวมฉบับเดียว หรือ เป็นของที่นำเข้าหลายวันเนื่องจากไม่สามารถมาในวันเดียวกันได้ เช่น สินค้าเกษตร กรมศุลกากรอนุญาตให้ทำใบขนสินค้าใบเดียวได้ต่อเมื่อเป็นของไม่มีอากร และ VAT โดย ดำเนินการ ดังนี้

  1. กรณีรถทุกคันมาถึงด่านศุลกากรทั้งหมด รถแต่ละคันที่มาถึงด่านพรมแดน ต้องยื่น ศบ. ของแต่ละคัน แล้วรวมจำนวนของโดยทำใบขนฯใช้เลข ศบ.1 เที่ยวแรก วันนำเข้าตามรถเที่ยวแรก และศุลกากรจะเป็นผู้ดำเนินการรวม ศบ. ของทุกคันในใบขนฯ โดยนำเลขที่ ศบ. และ เลขทะเบียนรถทุกคันมาบันทึกในใบขนฯ เรียกว่า รวม ศบ. จากนั้น หากเป็นของที่ต้องมีใบอนุญาต ต้องไปติดต่อหน่วยงานที่กำกับเรื่องใบอนุญาตเพื่อส่งข้อมูลเข้ามาในระบบใบอนุญาต แล้วจึงจะไปชำระค่าภาษีอากร และตรวจปล่อยของไปจากศุลกากร
  2. กรณีรถมาหลายวัน และ จะขอทำใบขนฯใบเดียวและขอตรวจปล่อยตามรถแต่ละคัน เรียกว่า ตรวจปล่อยบางส่วน (Partly) ซึ่งเป็นอำนาจของ นายด่านฯที่จะอนุมัติให้ตรวจปล่อยเป็นบางส่วนไปก่อนก็ได้ โดยไม่ต้องรอรถทั้งหมดที่ทยอยมา ปัจจุบันใช้กับของที่ได้รับสิทธิไม่ต้องชำระอากรและภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น สินค้าเกษตร

เมื่อรถคันแรกมาถึง จะใช้เลข ศบ. ของรถคันแรกทำใบขนฯตามจำนวนทั้งหมดที่จะนำเข้าและใช้วันนำเข้าตามรถเที่ยวแรก และ ผู้นำเข้ายื่นคำขอตรวจปล่อยบางส่วน เมื่อได้รับอนุมัติจะมีการตรวจปล่อยสินค้าแต่ละเที่ยว จนกว่ารถทั้งหมดจะมาครบ ในขั้นตอนต่อไปจะดำเนินการเหมือนรถมาพร้อมกันในวันเดียวกัน ใบขนสินค้าจะสมบูรณ์ในวันสุดท้าย แต่เนื่องจากเป็นของที่ไม่มีค่าภาษีอากรจึงไม่มีข้อกังวลใดๆ

ที่มา : กรมศุลกากร
วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 8 สิงหาคม 2562


คำตอบ :

  • สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์กรมศุลกากร ระบบ e-tracking
  • ไปที่เมนู “Vessel”

  • ใส่รายละเอียดที่ต้องการในแต่ละช่อง แล้วกด “search” ดังตัวอย่าง

ที่มา : กรมศุลกากร
วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 22 กุมภาพันธ์ 2562


คำตอบ :

  1. ของใช้ส่วนตัว หมายถึง ของอันเป็นสมบัติส่วนตัวของผู้เดินทางเข้ามาใน หรือออกไปนอก ราชอาณาจักร นำติดตัวเข้ามาใน หรือออกไปพร้อมกับตน หรือส่งเข้ามาก่อนหรือส่งตามเข้ามาภายหลังที่ ผู้เดินทางเข้ามาถึงภายในระยะเวลากำหนด ไม่ว่าของนั้นจะเป็นของใช้ส่วนตัวหรือของใช้ในบ้านเรือนก็ตาม แต่ไม่รวมถึงของซึ่งบุคคลซึ่งอยู่ในราชอาณาจักร สั่งเข้ามาใช้เองหรือของที่ส่งจากนอกราชอาณาจักรเข้ามาให้กันเป็นของขวัญของฝาก
  2. ของใช้ในบ้านเรือน หมายถึง ของใช้ในบ้านเรือนที่ใช้แล้วที่เจ้าของนำเข้ามาพร้อมกับตน เนื่องในการย้ายภูมิลำเนา และมีจำนวนเหมาะสมแก่ฐานะได้รับการยกเว้นอากร โดยของนั้นต้องเป็นของเก่าใช้แล้ว ไม่มีลักษณะทางการค้า ของใช้ในบ้านเรือนที่ใช้แล้ว เช่น ตู้เย็น พัดลม เครื่องรับวิทยุกระจายเสียง เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเล่นวีดีโอเทป เครื่องซักผ้า โต๊ะ เก้าอี้ เตียงนอน และตู้ เป็นต้น

ทั้งนี้ รถยนต์ อาวุธปืนและกระสุนปืน เสบียง เครื่องดนตรี เครื่องกีฬาและอุปกรณ์กีฬา ไม่ได้รับการยกเว้นอากร

ที่มา : กรมศุลกากร
วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 25 กันยายน 2563