Export.

talk


คำตอบ :

ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการศุลกากร

  1. ผู้ส่งออกหรือตัวแทนฯ จัดทําใบขนสินค้าขาออก พร้อมเอกสารประกอบอื่น เช่น บัญชีสินค้า (ศ.บ. 3) และใบกํากับการขนย้ายสินค้า พร้อมส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาออกเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร
  2. ผู้นําเข้าหรือตัวแทนฯ ชําระค่าภาษีอากร (กรณีสินค้าต้องชําระภาษีอากร) ที่หน่วยงานบัญชีและอากรของด่านศุลกากร
  3. ชําระค่าภาษีแล้วระบบคอมพิวเตอร์จะกําหนดเงื่อนไขการตรวจปล่อย ชื่อเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ตรวจปล่อย
  4. กรณียกเว้นการตรวจ (Green Line) ผู้ส่งออกหรือตัวแทนสามารถนําสินค้าไปผ่านพิธีการที่ด่านพรมแดนหรือด่านตรวจเพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักรต่อไป
  5. กรณีสั่งเปิดตรวจ (Red Line) เจ้าหน้าที่จะดําเนินการตรวจสอบความถูกต้อง ของสินค้ากับใบขนสินค้าในระบบคอมพิวเตอร์ ถ้าถูกต้องตามสําแดง จะนําสินค้าไปผ่านพิธีการที่ด่านพรมแดน หรือด่านตรวจเพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักรต่อไป
  6. ผู้ส่งออกหรือตัวแทนยื่นใบกํากับสินค้าต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรที่ประจําอยู่ ณ ด่านพรมแดนเพื่อตรวจสอบ เจ้าหน้าที่ศุลกากรประจําด่านพรมแดนจะตรวจสอบจํานวนสินค้าที่ส่งออกว่าถูกต้องตรงตามใบขนสินค้าขาออกในระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรหรือไม่ และได้ปฏิบัติพิธีการศุลกากรว่าด้วยการส่งออกครบถ้วนหรือไม่ เมื่อเห็นว่าถูกต้อง ก็ให้อนุญาตให้ผ่านด่านพรมแดนไปได้ และให้บันทึกการรับบรรทุกในระบบ คอมพิวเตอร์ของศุลกากร ใบกํากับการขนย้ายสินค้าให้เก็บไว้ เพื่อเป็นหลักฐานในการตรวจสอบต่อไป

การผ่านพิธีการส่งออกของที่มีปริมาณเล็กน้อยตามแนวชายแดน

การผ่านพิธีการศุลกากรเพื่อส่งออกของที่มีปริมาณเล็กน้อยตามแนวชายแดน ณ ด่านพรมแดนหรือจุดผ่านแดนถาวร หรือจุดผ่านแดนชั่วคราว หรือจุดผ่อนปรนทางการค้า ให้ผู้ส่งของออกยื่นใบแจ้งรายละเอียดสินค้าขาออก (กศก.153) พร้อมสําเนา 1 ฉบับ ต่อพนักงานศุลกากร ณ ด่านพรมแดน หรือจุดผ่านแดนถาวรหรือจุดผ่านแดนชั่วคราว หรือจุดผ่อนปรนทางการค้า เพื่อให้พนักงานศุลกากรตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วน ของของที่ส่งออกให้ตรงตามที่สําแดง และบันทึกรับรองการส่งออกเพื่อเป็นหลักฐานให้กับผู้ส่งของออกในการดําเนินการเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มต่อกรมสรรพากร โดยของที่ส่งออกจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้

  1. มีมูลค่าไม่เกิน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน)
  2. ไม่เป็นของที่ต้องเสียภาษีอากร ของต้องห้าม หรือต้องกํากัดในการส่งออกตามกฎหมาย
  3. ไม่ได้ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรภายใต้กฎหมายศุลกากร หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องเว้นแต่ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ที่มา : คลังข้อมูลทางการค้าของไทย วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 11-01-2024


คำตอบ :

  1. แบบกศก 101/1 ใบขนสินค้าขาออก ใช้สำหรับส่งออกในกรณีดังต่อไปนี้
    • การส่งออกสินค้าทั่วไป
    • การส่งออกของส่วนบุคคลและเอกสิทธิ์
    • การส่งออกสินค้าจากคลังสินค้าทัณฑ์บน
    • การส่งออกสินค้าที่ขอชดเชยค่าภาษีอากร
    • การส่งออกสินค้าที่ขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ
    • การส่งออกสินค้าที่ต้องการใบสุทธินำกลับ
    • การส่งออกสินค้ากลับออกไป (RE-EXPORT)
  2. แบบ A.T.A. Carnet ใบขนสินค้าสำหรับนำของเข้าหรือส่งของออกชั่วคราว ใช้สำหรับพิธีการส่งออกชั่วคราวในลักษณะที่กำหนดในอนุสัญญา
  3. ใบขนสินค้าพิเศษสำหรับรถยนต์และจักรยานยนต์นำเข้าหรือส่งออกชั่วคราว ใช้สำหรับการส่งออกรถยนต์ และจักรยานยนต์ชั่วคราว

ที่มา : คลังข้อมูลทางการค้าของไทย
วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 11-01-2024


คำตอบ :

มาตรา 28

ผู้นําของเข้ามาในราชอาณาจักรและเสียอากรแล้ว หากส่งของนั้นกลับออกไปนอกราชอาณาจักร หรือ ส่งไปเป็นของใช้สิ้นเปลืองในเรือ หรืออากาศยานที่เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ให้มีสิทธิขอคืนอากรขาเข้า สําหรับของนั้นเก้าในสิบส่วน หรือส่วนที่เกินหนึ่งพันบาทของจํานวนที่ได้เรียกเก็บไว้ โดยคํานวณตามใบขนสินค้าขาออกแต่ละฉบับ แล้วแต่จํานวนใดจะสูงกว่า แล้วแต่จํานวนใดจะสูงกว่า ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

หลักเกณฑ์

  1. เป็นของรายเดียวกัน ต้องพิสูจน์ได้ว่าเป็นของรายเดียวกันกับที่นําเข้ามา
  2. ไม่นำของนั้นไปใช้ประโยชน์ ต้องไม่นําของนั้นไปใช้ประโยชน์ เว้นแต่การใช้ประโยชน์เพื่อส่งของนั้นกลับออกไปนอกราชอาณาจักร และมิได้เปลี่ยนแปลงสภาพหรือลักษณะแห่งของนั้น
  3. ส่งของออกไปนอกราชอาณาจักรตามเวลาที่กําหนด ได้ส่งของนั้นกลับออกไปนอกราชอาณาจักรภายในกําหนด 1 ปี นับแต่วันที่นําของนั้นเข้ามาในราชอาณาจักร
  4. ขอคืนอากรตามระยะเวลาที่กําหนด ต้องขอคืนอากร ภายในกําหนด 6 เดือนนับแต่วันที่ส่งของนั้นกลับออกไปนอกราชอาณาจักร เงื่อนไขระยะเวลาต้องพิสูจน์ได้ว่าเป็นของรายเดียวกันกับที่นําเข้ามา

ที่มา : กรมศุลกากร
วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 07-09-2564


คำตอบ :

  1. ต้องลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรกับกรมฯ
  2. เมื่อพร้อมที่จะส่งสินค้าออกต้องเตรียมเอกสารที่ใช้ในการส่งออกเช่น บัญชีราคาสินค้า,หนังสืออนุญาต , หลักฐานการได้รับสิทธิ์พิเศษต่าง ๆ และส่งข้อมูลของเอกสารต่างๆเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมฯ โดยอาจใช้ตัวแทนออกของ หรือ ใช้บริการ Counter Service หรือ ให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรบันทึกข้อมูลให้
  3. ระบบจะตรวจสอบข้อมูลหากถูกต้องก็จะออกเลขที่ใบขนสินค้าให้ สามารถพิมพ์ออกมาใช้เป็นเอกสารในการส่งออก ณ ท่าที่ประสงค์จะส่งสินค้าออกไปต่างประเทศในขั้นตอนการตรวจปล่อยต่อไป

ที่มา : กรมศุลกากร
วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 5 มิถุนายน 2561