ประเภท 3 ภาค 4 สิทธิทัณฑ์บนนำเข้าชั่วคราว

ของนำเข้ามาพร้อมกับตนหรือนำเข้ามาเป็นการชั่วคราว และจะส่งกลับออกไปภายในไม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่นำเข้ามา ได้รับยกเว้นอากร

ประเภทของสิทธิทัณฑ์บนนำเข้าชั่วคราว

ประเภท รายละเอียดทัณฑ์บนชั่วคราว
(ก) ของที่ใช้ในการแสดงละครหรือการแสดงอย่างอื่นที่คล้ายกัน ซึ่งผู้แสดงที่ท่องเที่ยวนำเข้ามา
(ข) เครื่องประกอบและของใช้ในการทดลอง หรือการแสดงเพื่อวิทยาศาสตร์ หรือการศึกษา ซึ่งบุคคลที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวนำเข้ามาเพื่อจัดการทดลองหรือแสดง
(ค) รถสำหรับเดินบนถนน เรือและอากาศยาน บรรดาที่เจ้าของนำเข้ามาพร้อมกับตน
(ง) เครื่องถ่ายรูปและเครื่องบันทึกเสียง ซึ่งบุคคลที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวนำเข้ามาเพื่อใช้ถ่ายรูปหรือบันทึกเสียงต่างๆ แต่ฟิล์มและแผ่นสำหรับถ่ายรูปหรือสิ่งที่ใช้บันทึกเสียง ซึ่งนำมาใช้ในการนี้ ต้องเป็นไปตามเงื่อนไข และปริมาณที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนด
(จ) อาวุธปืนและกระสุนปืน ซึ่งบุคคลที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวนำเข้ามา พร้อมกับตน
(ฉ) ของที่นำเข้ามาเป็นการชั่วคราว โดยมุ่งหมายจะแสดงในงานสาธารณะที่เปิดให้ประชาชนดูได้ทั่วไป
(ช) ของที่นำเข้ามาเพื่อซ่อม แต่ต้องปฏิบัติภายในเงื่อนไขที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนด
(ซ) ตัวอย่างสินค้า นอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 14 ซึ่งบุคคลที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว นำเข้ามาพร้อมกับตนและมีสภาพ ซึ่งเมื่อจะส่งกลับออกไปสามารถตรวจได้แน่นอนว่า เป็นของอันเดียวกับที่นำเข้ามา แต่ต้องมีปริมาณ หรือค่าซึ่งเมื่อรวมกันเข้าแล้วไม่เกินกว่าที่จะเห็นได้ว่าเป็นตัวอย่างตามธรรมดา
(ญ) เครื่องมือ และสิ่งประกอบสำหรับงานก่อสร้าง งานพัฒนาการ รวมทั้งกิจการชั่วคราวอย่างอื่นตามที่อธิบดีกรมศุลกากรจะเห็นสมควร โดยให้ได้รับยกเว้นเพียงเท่าเงินอากรที่จะพึงเสียในขณะนำเข้าหักด้วยจำนวนเงินอากรที่คำนวณตามระยะเวลาที่ของนั้นอยู่ในประเทศ ในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของจำนวนอากรที่จะพึงต้องเสียในขณะนำเข้า ในการคำนวณให้นับเศษของเดือนเป็น 1 เดือน และจะต้องชำระอากรก่อนส่งกลับออกไป

ให้ผู้ขอยกเว้นอากร จัดทำและส่งข้อมูลใบขนสินค้าโดยระบุค่าดังนี้

ขาออก

  • Re-Export = Y (ในส่วนของ Export Declaration Detail)
  • Privilege Code = 004
  • Export Tariff = 3PART4
  • Tariff Code = บันทึกพิกัดศุลกากรให้ตรงกับชนิดของของที่ส่งออก
  • Declaration No = เลขที่ใบขนสินค้าขาเข้าที่อ้างถึง ซึ่งนําของเข้ามาตามมาตรา 28
  • Declaration Line Number = รายการในใบขนสินค้าขาเข้าที่อ้างถึง
  • Tariff Code = บันทึกพิกัดศุลกากรให้ตรงกับชนิดของของที่ส่งออก

ขาเช้า

  • ระบุ Import Tariff = 3PART4
  • ระบุ Privilege Code = ตามสิทธิ ณ ขณะนำเข้า
  • อัตราอากร ใช้ Tariff Code และ Tariff Sequence
  • อากร ยกเว้น (บันทึก Exemption Rate = 100%)
  • VAT ยกเว้น (บันทึก Exemption Rate = 100%)
การกำหนดค่าวางเงินประกัน (วางประกันที่ด่านศุลกากร ไม่ต้องบันทึกในโปรแกรม)

  • ให้วางเป็นสัญญาประกันทัณฑ์บนเพื่อการปฏิบัติพิธีการ
  • คำนวณจาก ค่าภาษีอากรอันพึงจะต้องชำระตามปกติ แล้วคำนวณเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของเงินภาษีอากรที่ได้ประเมินไว้ และรวมกำหนดเป็นเงินประกัน

ให้ยื่นคำร้องต่อหน่วยงานศุลกากร ณ ด่านศุลกากร ที่นำของเข้า โดยระบุเลขที่ใบขนสินค้าขาเข้า ที่ของใช้สิทธิตามประเภทที่ 3 ภาค 4 เพื่อตรวจสอบการใช้สิทธิในการนำของที่นำเข้ามาเป็นการชั่วคราว และจะต้องแสดงหลักฐานให้เป็นที่พอใจว่า นำเข้ามาใช้ประโยชน์ในกิจการตามที่ระบุไว้ ตามพิกัดอัตราศุลกากรแต่ละประเภท

“การวางเป็นสัญญาประกันทัณฑ์บนเพื่อการปฏิบัติพิธีการ”

โดยให้คำนวณเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของเงินภาษีอากรที่ได้ประเมินไว้ การวางประกันรูปแบบนี้ ปัจจุบันยังไม่สามารถบันทึกในระบบใบขนสินค้าขาเข้าได้ การวางประกันผู้นำเข้าต้องติดต่อหน่วยงานศุลกากร ณ ด่านศุลกากร ที่นำของเข้า