เขตปลอดอากร 2022

ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศกรมศุลกากร ที่ 110/.2561

ข้อ 5 การขอจัดตั้งเขตปลอดอากรเพื่อการประกอบพาณิชยกรรม ต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

  1. ไม่เป็นการจัดตั้งเพื่อประโยชน์ของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ ในเขตปลอดอากรรายใดรายหนึ่งเท่านั้น
  2. ให้บริการในรูปแบบสาธารณะ
  3. มีพื้นที่ตามข้อหนึ่งข้อใด ดังต่อไปนี้
  • มีพื้นที่ทั้งหมดรวมกันไม่น้อยกว่า 90,000 ตารางเมตร และตั้งอยู่ ในรัศมีไม่เกินสิบห้ากิโลเมตรจากบริเวณสนามบินระหว่างประเทศ ท่าเรือ จุดผ่านแดนถาวร เขตพัฒนา เศรษฐกิจพิเศษ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ กรณีมีพื้นที่น้อยกว่า 90,000 ตารางเมตร และตั้งอยู่ในเขตพัฒนา พิเศษภาคตะวันออก อธิบดีมีอำนาจผ่อนผันตามเหตุผลและความจำเป็น แล้วแต่กรณี
  • มีพื้นที่ทั้งหมดรวมกันไม่น้อยกว่า 40,000 ตารางเมตร และตั้งอยู่ ในรัศมีไม่เกินสามสิบห้ากิโลเมตรจากบริเวณสนามบินระหว่างประเทศ ท่าเรือ จุดผ่านแดนถาวร เขตพัฒนา เศรษฐกิจพิเศษ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ
  • มีพื้นที่ทั้งหมดรวมกันไม่น้อยกว่า 80,000 ตารางเมตร และตั้งอยู่ ในรัศมีไม่เกินห้าสิบกิโลเมตรจากบริเวณสนามบินระหว่างประเทศ ท่าเรือ จุดผ่านแดนถาวร เขตพัฒนา เศรษฐกิจพิเศษ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ พื้นที่ตาม (3.1) – (3.3) มิให้นับรวมพื้นที่ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บสินค้า เช่น ที่จอดรถ อาคารสำนักงานผู้ประกอบการ บ่อบําบัดน้ำเสีย สถานีตรวจสอบ (Checking Post) ลิฟต์ บันไดเลื่อน แต่ให้รวมถึงอาคารสำนักงานศุลกากร.
  1. มีลักษณะเป็นศูนย์กระจายสินค้าระหว่างประเทศหรือเขตอุตสาหกรรมโลจิสติกส์
  2. กิจการตามวรรคหนึ่งต้องเป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกับการนําของเข้า การส่งของออก กิจการที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบอุตสาหกรรม กิจการที่เกี่ยวกับการเพิ่มมูลค่าสินค้า หรือกิจการอื่น อันเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศ ได้แก่

(ก) การค้า การบริการ หรือการขนส่งระหว่างประเทศ.
(ข) การกระจายสินค้า คลังสินค้า การซื้อมาและขายไป.
(ค) การบรรจุ การแบ่งบรรจุ การบรรจุใหม่ ในเชิงพาณิชยกรรม.
(ง) การปิดฉลากหรือเครื่องหมายอื่นใด การปิดฉลากใหม่.
(จ) การแสดงสินค้าหรือนิทรรศการ การประชุมระหว่างประเทศ.
(ฉ) การซ่อมแซม และงานด้านวิศวกรรม ในเชิงพาณิชยกรรม.
(ช) การตรวจสอบ วิเคราะห์ และรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือผลผลิตทางเกษตรกรรม.
(ซ) การประกอบกิจการในลักษณะของโรงพักสินค้านอกเขตทำเนียบท่าเรือ สำหรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ และหรือการขนส่งด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าของผู้นําของเข้า หรือผู้ส่งของออกมากกว่าหนึ่งราย”

ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งประกาศกรมศุลกากร ที่ 110/.2561

ข้อ 6 การขอจัดตั้งเขตปลอดอากร ณ สนามบินระหว่างประเทศ หรือท่าเรือรับอนุญาต ต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

  1. เป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกับการนําของเข้า การส่งของออก การถ่ายลํา การผ่านแดน การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการขนส่ง การเก็บรักษาสินค้า หรือกิจการที่เกี่ยวกับการเพิ่มมูลค่าสินค้า ได้แก่
    (ก) กิจการโรงพักสินค้า ณ ท่าหรือที่ที่นําของเข้าหรือส่งของออก.
    (ข) การค้า การบริการ หรือการขนส่งระหว่างประเทศ.
    (ค) การแบ่งแยกกอง การจัดประเภท การคัดเลือก. (ง) การบรรจุ การแบ่งบรรจุ การบรรจุใหม่.
    (จ) การปิดฉลากหรือเครื่องหมายอื่นใด การปิดฉลากใหม่.
    (ฉ) การผสม/ประกอบ (Combined cargo or Consolidated cargo).
    (ช) การซ่อมหรือสร้างอากาศยานหรือเรือ ชิ้นส่วน อุปกรณ์ เครื่องใช้ ของอากาศยานหรือเรือ รวมทั้งภาชนะที่ใช้ในการขนส่ง.
    (ซ) การเก็บของใช้สิ้นเปลืองในเรือหรืออากาศยานที่เดินทางไป ต่างประเทศรวมทั้งน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่น หรือพลังงานอย่างอื่น.
  2. มีพื้นที่โรงพักสินค้าหรือที่มั่นคง สำหรับตรวจและเก็บหรือตรวจปล่อย ของนําเข้าหรือของส่งออกที่ยังมิได้เสียอากร
ให้ยกเลิกความในข้อ 17.2 แห่งประกาศกรมศุลกากร ที่ 110/.2561

17.2 อาคารสำนักงานศุลกากรที่มีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 40 ตารางเมตร ตั้งอยู่ใน บริเวณที่เหมาะสมและใกล้เคียงกับสถานีตรวจสอบ (Checking Post) โดยมี.

17.2.1 อุปกรณ์สำนักงาน รวมถึงอุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงานที่จำเป็น และเพียงพอต่อการปฏิบัติงานของพนักงานศุลกากร.
17.2.2 ระบบคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกับระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ (TCES).
17.2.3 ระบบควบคุมการรับมอบ - ส่งมอบ การขนย้าย การเก็บรักษา การควบคุมและตรวจปล่อยสินค้าที่ทันสมัย และสามารถตรวจสอบได้ เช่น ระบบรหัสแถบเส้น (Bar Code System) เครื่องชั่งน้ำหนักอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น.
17.2.4 ระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่สามารถบันทึกภาพเหตุการณ์ บุคคล หมายเลขยานพาหนะ หมายเลขตู้คอนเทนเนอร์ และหรือสิ่งของที่ผ่านเข้า - ออก และ เปิดตรวจสอบข้อมูลภาพย้อนหลังได้ไม่น้อยกว่าหกสิบวัน.

ให้ยกเลิกความในข้อ 17.7 แห่งประกาศกรมศุลกากร ที่ 110/.2561

17.7 กรณีเขตปลอดอากรเพื่อการประกอบพาณิชยกรรม ผู้ขอรับใบอนุญาตจัดตั้ง เขตปลอดอากรหรือผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการในเขตปลอดอากร ต้องจัดให้มีระบบการควบคุมสินค้าคงคลัง และระบบควบคุมทางศุลกากร ดังนี้.

17.7.1 ระบบการควบคุมสินค้าคงคลัง ต้องจัดให้มีระบบการควบคุมสินค้าคงคลังให้เป็นไปตามประกาศ กรมศุลกากรว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของระบบงานด้านการควบคุมทางศุลกากร เพื่อรองรับ การปฏิบัติพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์

17.7.2 ระบบควบคุมทางศุลกากร

  1. ระบบควบคุมทางศุลกากรสำหรับสินค้าประเภท รถยนต์ใหม่ สำเร็จรูปตามประเภทพิกัดศุลกากร 8702 8703 และ 4704.

    • ต้องจัดให้มีระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ให้เป็นไปตาม ประกาศกรมศุลกากรว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของระบบงานด้านการควบคุมทางศุลกากร เพื่อรองรับ การปฏิบัติพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์.
    • ต้องมีระบบการถ่ายภาพและจัดเก็บภาพรถยนต์ใหม่ สำเร็จรูป ขณะผ่านประตูเข้า-ออก รวมถึงตำแหน่งที่จอดรถ โดยต้องถ่ายภาพตำแหน่งที่จอดรถอย่างน้อยทุก ๆ เจ็ดวัน.
    • ต้องมีระบบตรวจจับสถานะตำแหน่งของรถยนต์ใหม่ สำเร็จรูป และต้องสามารถจัดเก็บและเรียกดูข้อมูล ประวัติ สถานะ ตำแหน่งของรถยนต์นั่งสำเร็จรูป ได้ตลอดเวลา (Real-Time System).
  2. ระบบควบคุมทางศุลกากรสำหรับสินค้าประเภทสุรา ไวน์ บุหรี่ หรือของที่มีความเสี่ยงตามประกาศกำหนดประเภทหรือชนิดแห่งของที่จะนําเข้าไปในเขตปลอดอากร และการควบคุมของที่มีความเสี่ยง.

    • ต้องจัดให้มีระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ให้เป็นไปตาม ประกาศกรมศุลกากรว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของระบบงานด้านการควบคุมทางศุลกากร เพื่อรองรับ การปฏิบัติพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์.
    • ต้องมีระบบการถ่ายภาพและจัดเก็บภาพสินค้า หรือ รถบรรทุกสินค้า ขณะผ่านประตูเข้า-ออก รวมถึงตำแหน่งที่จัดเก็บสินค้า โดยต้องถ่ายภาพตำแหน่งที่จัดเก็บ สินค้าอย่างน้อยทุก ๆ สิบสี่วัน.
    • ต้องมีระบบตรวจจับสถานะตำแหน่งสินค้า และต้องสามารถ จัดเก็บและเรียกดูข้อมูล ประวัติ สถานะ ตำแหน่งของสินค้า ได้ตลอดเวลา (Real-Time System).
    • ต้องมีการควบคุมหีบห่อบรรจุสินค้าขณะนําเข้า-นําออก และ ภายในเขตปลอดอากร ดังนี้.
      • กรณีนําเข้าเป็นกล่องหรือหีบห่อต้องมีการปิดผนึก ที่มิดชิด
      • กรณีนําเข้าเป็นพาเลท (Pallet) หรือลักษณะ ที่ต้องมัดรวมสินค้านั้นไว้ด้วยกัน ต้องมีวัสดุห่อหุ้มที่โปร่งแสงสามารถมองเห็นจำนวนกล่องหรือหีบห่อได้ชัดเจน
      • หีบห่อสินค้าตาม (1) และ (2) ต้องมีอุปกรณ์สายรัด นิรภัยที่ใช้เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) หรือเทคโนโลยีอื่นที่สามารถระบุตัวตนของอุปกรณ์เช่นว่านั้นได้รัดไว้อย่างแน่นหนาและสามารถตรวจสอบข้อมูล ติดตามสถานะของอุปกรณ์สายรัดนิรภัยได้
      • หีบห่อสินค้าขณะเวลานําเข้า-นําออกรวมถึงการโอนย้าย สินค้าภายในเขตปลอดอากรต้องอยู่ในสภาพเดิมโดยไม่เปลี่ยนแปลง
  3. ระบบควบคุมทางศุลกากรสำหรับของทั่วไป.

    • ต้องจัดให้มีระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ให้เป็นไปตาม ประกาศกรมศุลกากรว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของระบบงานด้านการควบคุมทางศุลกากร เพื่อรองรับ การปฏิบัติพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์.
    • ต้องมีระบบการถ่ายภาพและจัดเก็บภาพสินค้า หรือ รถบรรทุกสินค้า ขณะผ่านประตูเข้า-ออก รวมถึงตำแหน่งที่จัดเก็บสินค้า โดยต้องถ่ายภาพตำแหน่ง ที่จัดเก็บสินค้าอย่างน้อยทุก ๆ สามสิบวัน.
    • ต้องสามารถตรวจสอบข้อมูลการนําเข้า-นําออก และตำแหน่งที่จัดเก็บสินค้าได้.

    ทั้งนี้ ข้อมูลตามข้อ 17.7.2 ต้องเชื่อมโยงกับรายงานของระบบ การควบคุมสินค้าคงคลังตามข้อ 13.7.1 ได้

ให้ยกเลิกความในข้อ 19 แห่งประกาศกรมศุลกากร ที่ 110/.2561

ข้อ 19 เมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งเขตปลอดอากร

ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ และ เงื่อนไขของการขอเปิดดำเนินการเขตปลอดอากรและพร้อมที่จะเปิดดำเนินการแล้ว ให้มีหนังสือแจ้งพนักงานศุลกากร ณ กองสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร หรือสำนักงานศุลกากรที่ได้ยื่นคําขออนุญาต เพื่อนัดหมาย พนักงานศุลกากรฝ่ายจัดตั้งเขตปลอดอากร พนักงานศุลกากรส่วนตรวจสอบเขตปลอดอากร กองสิทธิประโยชน์ ทางภาษีอากร พนักงานศุลกากรศูนย์ประมวลข้อมูลการข่าวทางศุลกากร และพนักงานศุลกากรด่านศุลกากร หรือสำนักงานศุลกากรที่กำกับดูแลพื้นที่ ไปตรวจสอบความพร้อมของสถานที่ พร้อมทั้งยื่นแผนที่แสดงอาณาเขต ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเขตปลอดอากร ชนิดมาตราส่วน 1 : 50,000 ขนาด A4 จำนวน 2 แผ่น พร้อมทั้ง ภาพถ่ายสถานที่

ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 28/.1 แห่งประกาศกรมศุลกากร ที่ 110/.2561

ข้อ 28/.1 กรณีผู้ได้รับใบอนุญาตมีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลง เพิ่ม หรือลด ประเภทกิจการของเขตปลอดอากร ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของการขอรับใบอนุญาตจัดตั้ง เขตปลอดอากรตามประเภทที่ผู้ได้รับใบอนุญาตมีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลง เพิ่ม หรือลดประเภทกิจการ โดยถูกต้องครบถ้วน เช่น การเพิ่มประเภทกิจการของเขตปลอดอากร จากเดิม “เขตปลอดอากร เพื่อการประกอบอุตสาหกรรม” เป็น “เขตปลอดอากรเพื่อการประกอบอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม” ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของการขอรับใบอนุญาตจัดตั้งเขตปลอดอากร เพื่อการประกอบอุตสาหกรรม และเพื่อการประกอบพาณิชยกรรมด้วย เป็นต้น กรณีการเปลี่ยนแปลง หากมีผลทำให้สาระสำคัญของใบอนุญาตเปลี่ยนแปลง ผู้ยื่นคําขอ จะต้องนําใบอนุญาตฉบับเดิม มาให้พนักงานศุลกากรกำกับคําว่า “ยกเลิก” ด้วย

ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศกรมศุลกากร ที่ 112/.2561

ข้อ 3 ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องจัดให้มีระบบการควบคุมสินค้าคงคลังที่เหมาะสมกับ ประเภทกิจการเกี่ยวกับการนําของเข้า การส่งของออกและของคงเหลือ และสามารถจัดทำรายงาน ตามแบบมาตรฐานหรือระบบควบคุมที่ทันสมัยอย่างอื่น.

กรณีเขตปลอดอากรเพื่อการประกอบพาณิชยกรรม ผู้ขอรับใบอนุญาตจัดตั้ง เขตปลอดอากรหรือผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการในเขตปลอดอากร ต้องจัดให้มีระบบการควบคุมสินค้าคงคลัง และระบบควบคุมทางศุลกากร ดังนี้.

3.1 ระบบการควบคุมสินค้าคงคลัง ต้องจัดให้มีระบบการควบคุมสินค้าคงคลังให้เป็นไปตามประกาศกรมศุลกากร ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำ ของระบบงานด้านการควบคุมทางศุลกากร เพื่อรองรับ การปฏิบัติพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์.
3.2 ระบบควบคุมทางศุลกากร.
3.2.1 ระบบควบคุมทางศุลกากรสำหรับสินค้าประเภท รถยนต์ใหม่ สำเร็จรูปตามประเภทพิกัดศุลกากร 8702 8703 และ 4704.

  • ต้องจัดให้มีระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ให้เป็นไปตาม ประกาศกรมศุลกากรว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของระบบงานด้านการควบคุมทางศุลกากร เพื่อรองรับ การปฏิบัติพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์.
  • ต้องมีระบบการถ่ายภาพและจัดเก็บภาพรถยนต์ใหม่ สำเร็จรูป ขณะผ่านประตูเข้า-ออก รวมถึงตำแหน่งที่จอดรถ โดยต้องถ่ายภาพตำแหน่งที่จอดรถอย่างน้อยทุก ๆ เจ็ดวัน.
  • ต้องมีระบบตรวจจับสถานะตำแหน่งของรถยนต์ใหม่ สำเร็จรูป และต้องสามารถจัดเก็บและเรียกดูข้อมูล ประวัติ สถานะ ตำแหน่งของรถยนต์นั่งสำเร็จรูปได้ ตลอดเวลา (Real-Time System).
    3.2.2 ระบบควบคุมทางศุลกากรสำหรับสินค้าประเภทสุรา ไวน์ บุหรี่ หรือของที่มีความเสี่ยงตามประกาศกำหนดประเภทหรือชนิดแห่งของที่จะนําเข้าไปในเขตปลอดอากร และการควบคุมของที่มีความเสี่ยง.
    (1) ต้องจัดให้มีระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ให้เป็นไป ตามประกาศกรมศุลกากรว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของระบบงานด้านการควบคุมทางศุลกากร เพื่อรองรับการปฏิบัติพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์.
    (2) ต้องมีระบบการถ่ายภาพและจัดเก็บภาพสินค้า หรือ รถบรรทุกสินค้า ขณะผ่านประตูเข้า-ออก รวมถึงตำแหน่งที่จัดเก็บสินค้า โดยต้องถ่ายภาพตำแหน่งที่จัดเก็บ สินค้าอย่างน้อยทุก ๆ สิบสี่วัน.
    (3) ต้องมีระบบตรวจจับสถานะตำแหน่งสินค้า และต้อง สามารถจัดเก็บและเรียกดูข้อมูล ประวัติ สถานะ ตำแหน่งของสินค้า ได้ตลอดเวลา (Real-Time System).
    (4) ต้องมีการควบคุมหีบห่อบรรจุสินค้าขณะนําเข้า-นําออก และภายในเขตปลอดอากร ดังนี้.
    • กรณีนําเข้าเป็นกล่องหรือหีบห่อต้องมีการปิดผนึก ที่มิดชิด.
    • กรณีนําเข้าเป็นพาเลท (Pallet) หรือลักษณะ ที่ต้องมัดรวมสินค้านั้นไว้ด้วยกัน ต้องมีวัสดุห่อหุ้มที่โปร่งแสงสามารถมองเห็นจำนวนกล่องหรือหีบห่อได้ชัดเจน.
    • หีบห่อสินค้าตาม (ก) และ (ข) ต้องมีอุปกรณ์ สายรัดนิรภัยที่ใช้เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) หรือเทคโนโลยีอื่นที่สามารถระบุตัวตนของ อุปกรณ์เช่นว่านั้นได้รัดไว้อย่างแน่นหนาและสามารถตรวจสอบข้อมูล ติดตามสถานะของอุปกรณ์สายรัดนิรภัยได้.
    • หีบห่อสินค้าขณะเวลานําเข้า-นําออกรวมถึง การโอนย้ายสินค้าภายในเขตปลอดอากรต้องอยู่ในสภาพเดิมโดยไม่เปลี่ยนแปลง.
      3.2.3 ระบบควบคุมทางศุลกากรสำหรับของทั่วไป.
  • ต้องจัดให้มีระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ให้เป็นไปตาม ประกาศกรมศุลกากรว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของระบบงานด้านการควบคุมทางศุลกากร เพื่อรองรับ การปฏิบัติพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์.
  • ต้องมีระบบการถ่ายภาพและจัดเก็บภาพสินค้า หรือ รถบรรทุกสินค้า ขณะผ่านประตูเข้า-ออก รวมถึงตำแหน่งที่จัดเก็บสินค้า โดยต้องถ่ายภาพตำแหน่งที่จัดเก็บ สินค้าอย่างน้อยทุก ๆ สามสิบวัน.
  • ต้องสามารถตรวจสอบข้อมูลการนําเข้า-นําออก และ ตำแหน่งที่จัดเก็บสินค้าได้ ทั้งนี้ ข้อมูลตามข้อ 3.2 ต้องเชื่อมโยงกับรายงานของระบบการควบคุม สินค้าคงคลังตามข้อ 3.1 ได้.
ให้ยกเลิกความในข้อ 14 แห่งประกาศกรมศุลกากร ที่ 112/.2561

ข้อ 14 ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องจัดทํารายงานตามรูปแบบที่กรมศุลกากรกําหนด ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ยื่นต่อส่วนตรวจสอบเขตปลอดอากร กองสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร ภายใน สามสิบวันนับแต่วันสิ้นงวด โดยกําหนดปีละ 2 งวด ทั้งนี้ ให้ถือวันที่ 30 มิถุนายน และ 31 ธันวาคม ของแต่ละปีเป็นวันสิ้นงวด และให้จัดเตรียมของคงเหลือให้พนักงานศุลกากรของส่วนตรวจสอบเขตปลอดอากร กองสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร และพนักงานศุลกากรของหน่วยงานศุลกากรที่กํากับดูแลเขตปลอดอากร ตรวจนับร่วมกันอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ในกรณีมีเหตุอันควรสงสัยพนักงานศุลกากรอาจเพิ่มความถี่ ในการตรวจสอบตามเหตุผลและความจําเป็น.

ข้อ 12 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งเขตปลอดอากรหรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ ในเขตปลอดอากรเพื่อการประกอบพาณิชยกรรม ที่ได้ดำเนินการอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ต้องจัดให้มีระบบการควบคุมสินค้าคงคลัง และระบบควบคุมทางศุลกากรตามข้อ 5 หรือข้อ 9 แล้วแต่กรณี ก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2565.

ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป