อัปเดตกฎหมายลูก PDPA ที่องค์กรควรรู้

ครบรอบ 2 ปีบังคับใช้กฎหมาย PDPA หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ทั้งฉบับอย่างสมบูรณ์ ซึ่งตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมาทางคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) ได้มีการออกกฎหมายลำดับรอง หรือที่เรียกกันว่า “กฎหมายลูก” ออกมาหลายฉบับ


1 มิถุนายน 2567 ครบรอบ 2 ปีบังคับใช้กฎหมาย PDPA หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ทั้งฉบับอย่างสมบูรณ์ ซึ่งตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมาทางคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) ได้มีการออกกฎหมายลำดับรอง หรือที่เรียกกันว่า “กฎหมายลูก” ออกมาหลายฉบับ เพื่อให้ทุกท่านที่เกี่ยวข้องได้รับรู้และได้ศึกษาเพื่อป้องกันความผิดพลาดจากการปฏิบัติงานที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จึงขอชวนทุกท่านที่เกี่ยวข้องมาอัปเดตกฎหมายลูกสำคัญที่องค์กรควรรู้ มีรายละเอียดดังนี้

กฎหมายลูก ประเภทที่ 1: พระราชกฤษฎีกา

พระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะ กิจการ หรือหน่วยงาน ที่ได้รับการยกเว้นไม่ให้นำพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 บางส่วนมาใช้บังคับ (ประกาศ 17 สิงหาคม 2566) (ดาวน์โหลด)

หน่วยงานหรือองค์กรที่มีลักษณะตามประกาศฉบับนี้ ได้รับการยกเว้นการทำตาม PDPA ในบางส่วน (การขอความยินยอมและการขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล) เช่น กิจกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต การฟอกเงิน การดำเนินการเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีที่ดิน เป็นต้น อย่างไรก็ตามทุกองค์กรยังคงต้องจัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลที่เหมาะสม


กฎหมายลูก ประเภทที่ 2: ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

การยกเว้นการบันทึกรายการของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเป็นกิจการขนาดเล็ก (ประกาศ 20 มิถุนายน 2565) (ดาวน์โหลด)

กิจการขนาดเล็กตามประกาศฉบับนี้ ไม่จำเป็นต้องบันทึกรายการของกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (RoPA) ตามกระบวนการของ PDPA ครบทุกเรื่อง โดยสามารถทำเป็นบางข้อ หรือแบบย่อสำหรับส่งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) ตรวจสอบได้

ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นกิจการขนาดเล็กที่ได้รับการยกเว้น:

ข้อจำกัด

  1. ผู้ได้รับยกเว้นต้องไม่เป็นผู้ให้บริการที่ต้องเก็บรักษาข้อมูลการเข้าชม การใช้งาน หรือการมีส่วนร่วมของผู้ใช้งาน และไม่รวมผู้ให้บริการร้านอินเทอร์เน็ต และ
  2. การยกเว้นไม่รวมถึงกรณีที่มีการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ที่มีความเสี่ยงสูงต่อสิทธิและเสรีภาพของเจ้าของข้อมูล หรือกรณีที่ไม่ใช่การดำเนินการเป็นครั้งคราว หรือเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวตามมาตรา 26

หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทำและเก็บรักษาบันทึกรายการของกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทำและเก็บรักษาบันทึกรายการของกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (ประกาศ 20 มิถุนายน 2565) (ดาวน์โหลด)

ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลต้องจัดทำบันทึกรายการของกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล หรือที่เรารู้จักกันในนาม Record of Processing Activities (RoPA) ประกอบด้วยรายละเอียดเป็นอย่างน้อย ดังนี้

ข้อจำกัด

บันทึกต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษรหรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ ปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันอยู่อย่างสม่ำเสมอ จัดเก็บไว้อย่างน้อย 3 ปีนับตั้งแต่วันที่เลิกประมวลผลข้อมูล และต้องนำส่งบันทึกฯ ให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) เมื่อได้รับการร้องขอ

ผู้ประมวลผลข้อมูลขนาดเล็ก(พนักงานไม่เกิน 50 คนและรายได้ไม่เกิน 100 ล้านบาท) อาจได้รับการยกเว้นบางข้อกำหนด

มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล

มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2565 (ประกาศ 20 มิถุนายน 2565) (ดาวน์โหลด)

ขั้นตอนและมาตรฐานขั้นต่ำที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจำเป็นต้องปฏิบัติตามเพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Security) ประกอบด้วย

มาตรการหลัก:

การควบคุมการเข้าถึงข้อมูล:

การสร้างความตระหนักรู้: มีการฝึกอบรมเพิ่มความรู้และแจ้งนโยบายแก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง

การทบทวนมาตรการ: ต้องทบทวนเมื่อจำเป็นหรือเมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลง หรือเมื่อเกิดเหตุละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล

ข้อกำหนดสำหรับผู้ประมวลผลข้อมูล: ผู้ควบคุมข้อมูลต้องกำหนดให้ผู้ประมวลผลมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม และต้องแจ้งเหตุละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลให้ผู้ควบคุมข้อมูลทราบ

ความสัมพันธ์กับกฎหมายอื่น: หากมีกฎหมายอื่นกำหนดมาตรการไว้ ต้องปฏิบัติตามกฎหมายนั้นและต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐานขั้นต่ำในประกาศนี้


หลักเกณฑ์การพิจารณาออกคำสั่งลงโทษปรับทางปกครองของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ

  • หลักเกณฑ์การพิจารณาออกคำสั่งลงโทษปรับทางปกครองของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ พ.ศ. 2565 (ประกาศ 20 มิถุนายน 2565) (ดาวน์โหลด)

  • หลักเกณฑ์การพิจารณาออกคำสั่งลงโทษปรับทางปกครองของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2567 (ประกาศ 8 พฤษภาคม 2567) (ดาวน์โหลด)

โทษทางปกครองเป็นสิ่งที่องค์กรต่างไม่อยากโดนภายใต้กฎหมาย PDPA เพราะอาจโดนปรับเป็นล้าน! โดยกฎหมายรองฉบับนี้ ออกมาเพื่อกำหนดมาตรฐานการพิจารณาหรือตัดสินโทษของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญให้ชัดเจนมากขึ้น ดังนี้

หลักเกณฑ์การพิจารณาออกคำสั่งลงโทษปรับทางปกครอง

กระบวนการออกคำสั่งและบังคับโทษ


หลักเกณฑ์และวิธีการในการแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล

หลักเกณฑ์และวิธีการในการแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล (ประกาศ 15 ธันวาคม 2565) (ดาวน์โหลด)

เมื่อเกิดเหตุการณ์การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลขึ้น เช่น มีข้อมูลรั่วไหล ข้อมูลเสียหาย ระบบขององค์กรถูกแฮกและเกิดการโจรกรรมข้อมูล เป็นต้น องค์กรมีหน้าที่จะต้องรายงานเหตุการณ์ต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) โดยกฎหมายลูกฉบับนี้ได้กำหนดหน้าที่ที่ผู้ควบคุมข้อมูลต้องกระทำเมื่อเกิดเหตุละเมิด ดังนี้


การจัดให้มีเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

การจัดให้มีเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 41 (2) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ประกาศ 14 กันยายน 2566) (ดาวน์โหลด)

คุณจำเป็นต้องมี DPO หรือไม่?

องค์กรจำเป็นต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer: DPO) หากเข้าข่ายตามเกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่งภายใต้ประกาศฉบับนี้ ดังนี้

  1. ดำเนินกิจกรรมที่จำเป็นต้องตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคลหรือระบบอย่างสม่ำเสมอ
  2. มีข้อมูลส่วนบุคคลเป็นจำนวนมาก โดยพิจารณาตามเกณฑ์
    2.1 จำนวนเจ้าของข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
    2.2 ปริมาณ ประเภท หรือลักษณะของข้อมูล
    2.3 ระยะเวลาหรือความคงอยู่ของการเก็บข้อมูล
    2.4 ขอบเขตการใช้ข้อมูลขององค์กร

กรณีที่ถือว่ามีกิจกรรมที่จำเป็นต้องตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคลหรือระบบอย่างสม่ำเสมอ:

กรณีที่ถือว่ามีข้อมูลส่วนบุคคลเป็นจำนวนมาก:

ข้อกำหนดอื่น ๆ ในการแต่งตั้ง DPO:

เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอาจปฏิบัติหน้าที่อื่นได้ แต่ต้องไม่ขัดแย้งกับหน้าที่ตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และผู้ควบคุมหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลต้องรับรองกับ สคส.ว่าเป็นเช่นนั้นจริง


มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ควบคุมข้อมูลซึ่งได้รับการยกเว้น

มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ควบคุมข้อมูลซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ให้นำพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มาใช้บังคับ พ.ศ. 2566 (ประกาศ 8 ธันวาคม 2566) (ดาวน์โหลด)

หลายองค์กรที่ได้รับการยกเว้นตามพระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะ กิจการ หรือหน่วยงาน ที่ได้รับการยกเว้นไม่ให้นำพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 บางส่วนมาใช้บังคับ พ.ศ. 2566 แม้จะไม่ต้องทำตามกฎหมาย PDPA ในบางส่วน แต่ยังคงจำเป็นต้องมีมาตรการและมาตรฐานขั้นต่ำในรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลเช่นเดียวกับองค์กรอื่น ๆ ที่ไม่ได้รับการยกเว้น ประกอบด้วย

มาตรการหลัก:

การควบคุมการเข้าถึงข้อมูล:

การสร้างความตระหนักรู้: มีการฝึกอบรมเพิ่มความรู้และแจ้งนโยบายแก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง
การทบทวนมาตรการ: ต้องทบทวนเมื่อจำเป็นหรือเมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลง หรือเมื่อเกิดเหตุละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อกำหนดสำหรับผู้ประมวลผลข้อมูล: ผู้ควบคุมข้อมูลต้องกำหนด ให้ผู้ประมวลผลมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม และต้องแจ้งเหตุละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลให้ผู้ควบคุมข้อมูลทราบ
ความสัมพันธ์กับกฎหมายอื่น: หากมีกฎหมายอื่นกำหนดมาตรการไว้ ต้องปฏิบัติตามกฎหมายนั้น และต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐานขั้นต่ำในประกาศนี้


มาตรการปกป้องที่เหมาะสมเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อการจัดทำเอกสารประวัติศาสตร์หรือจดหมายเหตุ

มาตรการปกป้องที่เหมาะสมเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการจัดทำเอกสารประวัติศาสตร์หรือจดหมายเหตุเพื่อประโยชน์สาธารณะ พ.ศ. 2566 (ประกาศ 8 ธันวาคม 2566) (ดาวน์โหลด)

กฎหมาย PDPA อนุญาตให้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อใช้ในการบันทึกเหตุการณ์ เรื่องราว เอกสาร หลักฐาน หรือข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์สาธารณะ (รวมถึงจดหมายเหตุตามกฎหมายว่าด้วยจดหมายเหตุแห่งชาติ) ในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยไม่ได้รับความยินยอมดังกล่าว จะต้องจัดให้มีมาตรการที่เหมาะสมเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ดังนี้

อาจพิจารณาใช้การทำข้อมูลให้ไม่สามารถระบุตัวตนได้ (Anonymization) การแฝงข้อมูล (Pseudonymization) การเข้ารหัสข้อมูล (Encryption) ประกอบตามความเหมาะสมและระดับความเสี่ยงด้วย

หลักเกณฑ์การให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ส่งหรือโอนไปยังต่างประเทศ ตามมาตรา 28

หลักเกณฑ์การให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ส่งหรือโอนไปยังต่างประเทศ ตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2566 (ประกาศ 25 ธันวาคม 2566) (ดาวน์โหลด)

การส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศอย่างถูกต้อง ปลอดภัย ไม่ละเมิด PDPA สามารถกระทำได้หากประเทศปลายทางในการส่งหรือโอนข้อมูลจะมีมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เพียงพอ ยกเว้น:

ประเทศปลายทางในการส่งหรือโอนข้อมูลที่มีมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เพียงพอ พิจารณาจาก

  1. มีมาตรการหรือกลไกทางกฎหมาย (มาตรการ) เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศไทย
  2. มีหน่วยงานหรือองค์กรที่มีหน้าที่และอำนาจในการบังคับใช้กฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ประเทศปลายทางจะได้รับการพิจารณามาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลว่ามีความสอดคล้องและเพียงพอผ่านคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยสำนักงานฯ จะกำหนดรายชื่อประเทศ/องค์การระหว่างประเทศที่มีมาตรฐานเพียงพอในการเป็นปลายทางรับข้อมูลส่วนบุคคลจากไทย ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลสามารถเสนอให้มีการวินิจฉัยมาตรฐานของประเทศปลายทางที่ต้องการส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปเพิ่มเติมได้


หลักเกณฑ์การให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ส่งหรือโอนไปยังต่างประเทศ ตามมาตรา 29

หลักเกณฑ์การให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ส่งหรือโอนไปยังต่างประเทศ ตามมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2566 (ประกาศ 25 ธันวาคม 2566) (ดาวน์โหลด)

การส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศสามารถกระทำได้หากผู้ส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลและผู้รับข้อมูลส่วนบุคคล ณ ต่างประเทศอยู่ในเครือเดียวกัน และได้จัดทำนโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในเครือกิจการหรือเครือธุรกิจเดียวกัน (Binding Corporate Rules) แล้ว

Binding Corporate Rules จะต้อง:

ในกรณีที่ยังไม่มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เพียงพอของประเทศปลายทาง หรือยังไม่มีนโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในเครือกิจการหรือเครือธุรกิจเดียวกันตามข้างต้น ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลอาจส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศได้ โดยจัดให้มีมาตรการคุ้มครองที่เหมาะสม (Appropriate Safeguards) แบ่งออกหลายรูปแบบ คือ


มาตรการที่เหมาะสมสำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับการศึกษาวิจัยหรือสถิติ

มาตรการที่เหมาะสมสำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับการศึกษาวิจัยหรือสถิติตามมาตรา 29 (1) และการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หรือสถิติ หรือประโยชน์สาธารณะอื่นตามมาตรา 26 (5) (ง) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2566 (ประกาศ 8 มกราคม 2567) (ดาวน์โหลด)

การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสามารถกระทำได้ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการศึกษาวิจัยและสถิติ โดยจะต้องจัดให้มีมาตรการที่เหมาะสม เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ดังนี้

อาจพิจารณาใช้การทำข้อมูลให้ไม่สามารถระบุตัวตนได้ (Anonymization) การแฝงข้อมูล (Pseudonymization) การเข้ารหัสข้อมูล (Encryption) ประกอบตามความเหมาะสมและระดับความเสี่ยงด้วย

ส่วนการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลประเภทพิเศษ (อ่อนไหว) เพื่อวัตถุประสงค์เดียวกันนี้ นอกเหนือจากการจัดให้มีมาตรการที่เหมาะสมเช่นเดียวกันกับข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไปข้างต้นแล้ว ต้องพิจารณาถึงเหตุผลความจำเป็นในการเก็บข้อมูลประเภทนี้เป็นกรณีพิเศษ และจัดให้มีคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยให้เป็นผู้พิจารณาอนุมัติหรือรับรอง

ข้อกำหนดอื่น ๆ เกี่ยวกับการขอความยินยอม


หลักเกณฑ์เกี่ยวกับมาตรการคุ้มครองสำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับประวัติอาชญากรรม

หลักเกณฑ์เกี่ยวกับมาตรการคุ้มครองสำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับประวัติอาชญากรรมที่มิได้กระทำภายใต้การควบคุมของหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย พ.ศ. 2566 (ประกาศ 8 มกราคม 2567) (ดาวน์โหลด)

หลักเกณฑ์การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับประวัติอาชญากรรมที่ HR ทุกคนต้องรู้ ประมวลผลต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเพราะเป็นข้อมูลอ่อนไหวตามกฎหมาย PDPA หากไม่ได้เป็นหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายโดยตรง (องค์กรธุรกิจทั่วไป) จะสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลอาชญากรรมของบุคคลได้ภายใต้วัตถุประสงค์

โดยภายหลังใช้งานเสร็จตามวัตถุประสงค์ข้างต้น องค์กรสามารถเก็บประวัติอาชญากรรมไว้ได้อีกไม่เกิน 6 เดือน เว้นแต่จะได้รับความยินยอมโดยชัดแจ้งจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นอย่างอื่น หรือมีข้อยกเว้นอื่น ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด

จะเห็นได้ว่ามีการให้คำนิยาม การปฏิบัติ และการขยายความตัวมาตราของ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ในหลาย ๆ จุด ซึ่งในอนาคตยังมีโอกาสที่กฎหมายลำดับรองหรือกฎหมายลูกจะถูกประกาศออกมาอีก องค์กรมีความจำเป็นต้องอัปเดตความรู้ ความเข้าใจ แนวทางการทำงานหรือการปฏิบัติด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กรให้สอดคล้องกับกฎหมายฯ ทั้งหมด

Reference : PDPA Thailand

# คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
Avatar
Administrator
Support Department