หลักเกณฑ์และวิธีการในการแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2565

ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2565

ประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2565

เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา คณะกรรมการคุ้มครองส่วนบุคคล ได้เผยแพร่ประกาศฉบับใหม่ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ วิธีการในการแจ้งเหตุละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีใจความสำคัญอยู่ที่รายละเอียดและขั้นตอนที่ Data Controller ต้องปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุละเมิด รายละเอียดที่ต้องคำนึงในการประเมินความเสี่ยง และการแจ้งเหตุละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงรายละเอียดอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล รายละเอียดมีดังนี้

ความหมายของ การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล

“การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง การละเมิดมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่ทำให้เกิดการสูญหาย เข้าถึง ใช้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากอำนาจ หรือโดยมิชอบ ไม่ว่าจะเกิดจากเจตนา ความจงใจ ความประมาทเลินเล่อ การกระทำโดยปราศจากอำนาจหรือโดยมิชอบ การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ภัยคุกคามทางไซเบอร์ ข้อผิดพลาดบกพร่องหรืออุบัติเหตุ หรือเหตุอื่นใด

5 ขั้นตอนเตรียมพร้อม สำหรับ Data Controller หากได้รับแจ้งข้อมูลว่า มี หรือ น่าจะมีเหตุละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล

  1. ‌ประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล และตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการละเมิด โดยตรวจสอบมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงการประเมินความเสี่ยงจากการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล
  2. หากประเมินความเสี่ยงแล้วพบว่า การละเมิดดังกล่าวมีความเสี่ยงสูงที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ให้ดำเนินการป้องกัน ระงับ หรือแก้ไขเพื่อให้การละเมิดดังกล่าวสิ้นสุด หรือไม่ให้การละเมิดส่งผลกระทบเพิ่มเติม โดยทันทีเท่าที่จะทำได้
  3. เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่า มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีการละเมิดเกิดขึ้นจริง ให้แจ้งเหตุดังกล่าวแก่ PDPC (ภายใน 72 ชั่วโมง) นับแต่พบเหตุละเมิด เว้นแต่เป็นกรณีไม่มีความเสี่ยง
  4. กรณีมีความเสี่ยงสูง ต้องแจ้งเหตุละเมิดให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบ พร้อมกับแนวทางการเยียวยา (โดยไม่ชักช้า)
  5. ดำเนินการตามมาตรการที่จำเป็น เหมาะสม เพื่อระงับ ตอบสนอง แก้ไขเหตุละเมิด และป้องกันเหตุละเมิด และผลกระทบที่อาจเกิดในลักษณะเดียวกันในอนาคต รวมถึงการทบทวน security measures ให้เหมาะสม โดยคำนึงถึงระดับความเสี่ยง บริบท สภาพแวดล้อม ลักษณะการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

รายละเอียดการแจ้งเหตุละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ต่อ คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

การแจ้งเหตุละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject)

หาก Data Controller หรือ Data Processor ประเมินแล้วพบว่าการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลที่เกิดขึ้น มีความเสี่ยงสูงที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคล ให้แจ้งเหตุละเมิดแก่เจ้าของข้อมูลที่ได้รับผลกระทบ (โดยไม่ชักช้า) โดยต้องมีรายละเอียดดังนี้

  1. ‌ข้อมูลโดยสังเขปเกี่ยวกับลักษณะของการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล
  2. ช่องทางติดต่อ DPO หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้ประสานงาน
  3. ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
  4. แนวทางเยียวยาความเสียหาย มาตรการที่จะป้องกัน ระงับ แก้ไขเหตุละเมิด รวมถึงข้อแนะนำเกี่ยวกับมาตรการที่ Data Subject อาจดำเนินการได้ เพื่อป้องกัน ระงับ แก้ไข เยียวยาความเสียหาย

ที่มาบทความ : t-reg
ที่มา : ราชกิจจานุเบกษา

# คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
Avatar
Administrator
Support Department