พระราชบัญญิตลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

พระราชบัญญัติฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความคุ้มครองผลประโยชน์และป้องกันสิทธิของผู้สร้างสรรค์ ซึ่งเป็นบุคคลที่เป็นเจ้าของผลงานสร้างสรรค์โดยใช้ความคิด และสติปัญญาของตนในการรังสรรค์งานขึ้น เนื่องจากกฎหมายไม่ได้กำหนดแบบเพื่อให้ได้รับความคุ้มครอง ดังนั้นการคุ้มครองดังกล่าวจะได้โดยอัตโนมัติ พระราชบัญญัตินี้ยังสนับสนุนส่งเสริมให้มีการสร้างสรรค์ผลงานอันมีลิขสิทธิ์เพิ่มขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น พระราชบัญญัตินี้ยังให้ความคุ้มครองครอบคลุมถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยถือว่าเป็นงานวรรณกรรมประเภทหนึ่งตามพระราชบัญญัตินี้อีกด้วย.

มาตราที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 27

การกระทําอย่างใดอย่างหนึ่งตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 15 (5) ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทําดังต่อไปนี้.

  1. ทําซ้ำหรือดัดแปลง
  2. เผยแพร่ต่อสาธารณชน

มาตรา 30

การกระทําอย่างใดอย่างหนึ่งแก่โปรแกรมคอมพิวเตอร์อันมีลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัตินี้โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 15 (5) ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทําดังต่อไปนี้

  1. ทําซ้าหรือดัดแปลง
  2. เผยแพร่ต่อสาธารณชน
  3. ให้เช่าต้นฉบับหรือสําเนางานดังกล่าว

มาตรา 31

ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้.

  1. ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือเสนอให้เช่าซื้อ
  2. เผยแพร่ต่อสาธารณชน
  3. แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์
  4. นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร

มาตรา 70

ผู้ใดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 31 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง เป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงสองปี หรือปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ




ที่มา : สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

# ทรัพย์สินทางปัญญา
Avatar
Administrator
Support Department