สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร

สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร

สิทธิขอคืนอากรตามมาตรา 29

  • ระบุ 19bis = Y ที่ส่วนรายการในใบขนสินค้า
  • ระบุ Import Tax Incentives ID = เลขที่ทะเบียนผู้ใช้สิทธิตามมาตรา 29 ที่ส่วนรายการในใบขนสินค้า
  • ระบุ Privilege Code
    • กรณีชำระอากร ให้ระบุตามสิทธิที่มีขณะนำเข้า เช่น มาตรา 12, WTO, TAU, AFTA
      เป็นต้น และต้องคำนวณค่าภาษีอากรตามปกติ
  • กรณีวางประกัน ตามมาตรา 30 ให้ระบุ Privilege Code = 000 ตามอัตราปกติเท่านั้น

  • การชำระอากรตรวจสอบกับหลักการ ตามมาตรา 29 เช่น
    • ชำระอากรเต็มจำนวน
    • ลดเหลือกึ่งหนึ่งจากอากรที่เรียกเก็บเป็นการทั่วไป ตามมาตรา 12 พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร (สำหรับ จดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์, บริษัทมหาชนจำกัด, สมาชิกสภาอุตสาหกรรม, สมาชิกหอการค้า, อื่น ๆ) ให้บันทึก Exemption Rate = 50
    • ลดเหลือร้อยละ 5 จากอากรที่เรียกเก็บเป็นการทั่วไป ตามมาตรา 12 พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร (สำหรับ Gold Card) ให้บันทึก Exemption Rate = 95
  • วางประกันตามมาตรา 30 สำหรับของนำเข้าตามมาตรา 29 ให้บันทึกการวางประกัน โดย ระบุรหัสเหตุผลการวางประกันมาในช่อง Deposit Reason Code (D09) ที่ส่วนรายการในใบขนสินค้า (Deposit) ระบุจำนวนเงินวางประกันมาในช่อง Deposit Amount ที่ส่วนรายการในใบขนสินค้า (Duty) และที่ส่วนรายการในใบขนสินค้า (Deposit)
  • อากรศุลกากร ให้ยกยอดจากอากรศุลกากรที่ตรวจสอบกับหลักการ มาวางประกัน
  • ภาษีสรรพสามิตและค่าภาษีอากรอื่น ๆ ต้องวางประกันเต็มจำนวน
  • VAT ต้องชำระเต็ม ไม่สามารถวางประกันได้
  • การวางประกันให้ ปัดเศษของสตางค์ (ทศนิยมหลักที่ 3) ตามหลักสากล

สิทธิคลังสินค้าทัณฑ์บน

  • ระบุ Bond = Y ที่ส่วนรายการในใบขนสินค้า
  • ระบุ Import Tax Incentives ID = เลขที่ทะเบียนผู้ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร ที่นำสินค้า เข้าเก็บ ที่ส่วนรายการในใบขนสินค้า
  • ให้ระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้นำเข้าตรงกับเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรที่จดทะเบียนคลังสินค้าทัณฑ์บน หรือผู้ที่เจ้าของคลังแจ้งอนุญาตไว้กับกรมศุลกากร
  • ระบุ Privilege Code ตามสิทธิที่มีขณะนำเข้า เช่น มาตรา 12, WTO, TAU, AFTA เป็นต้น และต้องคำนวณค่าภาษีอากรตามปกติ
  • ใช้สิทธิยกเว้นอากรให้ใส่ Exemption Rate = 100
  • ระบุรหัสสถานที่นำเข้า (Discharge Port) เป็นรหัสสถานที่ของศุลกากร ณ ด่านศุลกากร ที่นำของเข้า (First Port)
  • ระบุรหัสสถานที่ตรวจปล่อย (Release Port) ให้บันทึกข้อมูลรหัสสถานที่ตรวจปล่อย (Release Port) เป็น ด่านศุลกากร ที่นำของเข้า (First Port)

สิทธิเขตปลอดอากร (Free Zone)

  • ระบุ Free Zone = Y ที่ส่วนรายการในใบขนสินค้า
  • ระบุ Import Tax Incentives ID = เลขที่ทะเบียนผู้ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร ที่นำสินค้า เข้าเก็บ ที่ส่วนรายการในใบขนสินค้า
  • ให้ระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้นำเข้าตรงกับเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรที่จดทะเบียนผู้ประกอบการในเขต Free Zone หรือ ผู้ที่ผู้ประกอบการในเขต Free Zone แจ้งอนุญาตไว้กับกรมศุลกากร
  • ระบุ Privilege Code ตามสิทธิที่มีขณะนำเข้า เช่น มาตรา 12, WTO, TAU, AFTA เป็นต้น และต้องคำนวณค่าภาษีอากรตามปกติ
  • ใช้สิทธิยกเว้นอากรให้ใส่ Exemption Rate = 100
  • ระบุรหัสสถานที่นำเข้า (Discharge Port) เป็นรหัสสถานที่ของศุลกากร ณ ด่านศุลกากรที่ นำของเข้า (First Port) หรือโรงพักสินค้าหรือที่มั่นคง ซึ่งเป็นที่ตรวจและเก็บสินค้าดังกล่าว
  • ระบุรหัสสถานที่ตรวจปล่อย (Release Port) ให้บันทึกข้อมูลรหัสสถานที่ตรวจปล่อย (Release Port) เป็น ด่านศุลกากร ที่นำของเข้า (First Port)

สิทธิเขตประกอบการเสรี (นิคมอุตสาหกรรม)

  • ระบุ I-EA-T = Y ที่ส่วนรายการในใบขนสินค้า
  • ระบุ Import Tax Incentives ID = เลขที่ทะเบียนผู้ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร ที่นำสินค้า เข้าเก็บ ที่ส่วนรายการในใบขนสินค้า
  • ให้ระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้นำเข้า ตรงกับเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ที่จดทะเบียนผู้ประกอบการในเขตประกอบการเสรี หรือ ผู้ที่ผู้ประกอบการในเขตประกอบการเสรี แจ้งอนุญาตไว้กับกรมศุลกากร
  • ระบุ Privilege Code ตามสิทธิที่มีขณะนำเข้า เช่น มาตรา 12, WTO, TAU, AFTA เป็นต้น และต้องคำนวณค่าภาษีอากรตามปกติ
  • ใช้สิทธิยกเว้นอากรให้ใส่ Exemption Rate = 100
  • ระบุรหัสสถานที่นำเข้า (Discharge Port) เป็นรหัสสถานที่ของศุลกากร ณ ด่านศุลกากรที่ นำของเข้า (First Port) หรือโรงพักสินค้าหรือที่มั่นคง ซึ่งเป็นที่ตรวจและเก็บสินค้าดังกล่าว
  • ระบุรหัสสถานที่ตรวจปล่อย (Release Port) ให้บันทึกข้อมูลรหัสสถานที่ตรวจปล่อย (Release Port) เป็น ด่านศุลกากร ที่นำของเข้า (First Port)

สิทธิส่งเสริมการลงทุน (BOI)

  • ระบุ BOI = Y ที่ส่วนรายการในใบขนสินค้า
  • ระบุ เลขที่บัตรส่งเสริมการลงทุน BOI ในช่อง BOI License Number ที่ส่วนรายการในใบขนสินค้า
  • Privilege Code = 000 ตามอัตราปกติ หรือ 999 ตามพระราชกำหนด เท่านั้น
  • ระบุเลขที่อนุมัติสั่งปล่อยของ BOI ส่วนใบอนุญาต
  • การชำระอากร ให้ระบุ Exemption Rate = ตามที่ BOI อนุมัติให้ เช่น
  • ยกเว้นอากร ให้บันทึก Exemption Rate = 100
    • ลดเหลือกึ่งหนึ่ง ให้บันทึก Exemption Rate = 50
    • ลดเหลือร้อยละ 5 ให้บันทึก Exemption Rate = 95
    • การวางประกัน ให้ระบุรหัสเหตุผลการวางประกันมาในช่อง Deposit Reason Code (D10) ที่ส่วนรายการในใบขนสินค้า (Deposit) ระบุจำนวนเงินวางประกันมาในช่อง Deposit Amount ที่ส่วนรายการใน ใบขนสินค้า (Duty) และที่ส่วนรายการในใบขนสินค้า (Deposit)
  • อากรศุลกากร ให้ระบุยอดวางประกัน ตามที่ BOI อนุมัติให้
  • VAT ให้ระบุยอดวางประกัน ตามที่ BOI อนุมัติให้
  • ภาษีสรรพสามิตและภาษีเพื่อมหาดไทย ต้องชำระเต็ม เท่านั้น

สิทธิคืนอากรขาเข้า ตามมาตรา 28 (Re-Export)

สิทธิคืนอากรของส่งกลับไปยังต่างประเทศ (Re-Export) ตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร

  1. ผู้นำของเข้ามาในราชอาณาจักรและเสียอากรแล้ว หากส่งของนั้นกลับออกไปนอกราชอาณาจักร หรือส่งไปเป็นของใช้สิ้นเปลืองในเรือหรืออากาศยานที่เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรให้มีสิทธิขอคืนอากร ขาเข้าสำหรับของนั้นเก้าในสิบส่วนหรือส่วนที่เกินหนึ่งพันบาทของจำนวนที่ได้เรียกเก็บไว้โดยคำนวณตาม ใบขนสินค้าขาออกแต่ละฉบับ แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
    • ต้องพิสูจน์ได้ว่าเป็นของรายเดียวกันกับที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร
    • ต้องไม่นำของนั้นไปใช้ประโยชน์ในระหว่างที่อยู่ในราชอาณาจักร เว้นแต่การใช้ประโยชน์เพื่อส่งของนั้นกลับออกไปนอกราชอาณาจักร และมิได้เปลี่ยนแปลงสภาพหรือลักษณะแห่งของนั้น
    • ได้ส่งของนั้นกลับออกไปนอกราชอาณาจักรภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่นำของนั้นเข้ามาในราชอาณาจักร และ
    • ต้องขอคืนอากรภายในกำหนดหกเดือนนับแต่วันที่ส่งของนั้นกลับออกไปนอกราชอาณาจักร
  2. กรณีของที่จะส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักรยังมิได้มีการปล่อยออกไปจากอารักขาของศุลกากร

    • ระบุ Re-Export = Y ที่ส่วนรายการในใบขนสินค้าทุกรายการ
    • มีเงื่อนไขต้องส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักรทั้งฉบับ โดยให้ ชำระค่าภาษีอากรหนึ่งใน 10 หรือไม่เกิน 1,000 บาท ต่อใบขนสินค้าขาเข้า
    • ระบุ Privilege Code ตามสิทธิที่มีขณะนำเข้า เช่น มาตรา 12, WTO, TAU, AFTA เป็นต้น
    • ระบุTariff Code พิกัดอัตราศุลกากร ให้ตรงกับชนิดของที่จะส่งกลับออกไป
    • อัตราอากร ใช้ Tariff Code และ Tariff Sequence ไปอ่านอัตราอากรที่ Table REFDRT
  3. วิธีการคำนวณ

enter image description here

  • ให้จัดทำใบขนสินค้าขาเข้าก่อน และนำ เลขที่ใบขนสินค้าขาเข้าพร้อมรายการไปบันทึกไว้ในใบขนสินค้าขาออก
  • กรณีของที่จะส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักร อยู่นอกอารักขาของศุลกากรแล้ว ให้ทำใบขนสินค้าขาเข้าปกติ และจัดทำใบขนสินค้าขาออกโดยระบุในแต่ละรายการที่ส่งออกเป็น Re-Export และให้ระบุเลขที่ใบขนสินค้าขาเข้าพร้อมรายการ แล้วไปดำเนินการขอคืนอากรในระบบคืนอากรทั่วไปเมื่อส่งออกเรียบร้อยแล้ว
  • กรณีของที่จะส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักรเพียงบางส่วน อนุญาตให้ทำ Re-Export ในอารักขาโดยให้ ชำระค่าภาษีอากรหนึ่งใน 10 หรือไม่เกิน 1,000 บาท ต่อใบขนสินค้าขาเข้า เฉพาะกรณีที่สามารถแยก D/O ได้เท่านั้น