สิทธิพิเศษทางการค้า

สิทธิพิเศษทางการค้า

Free Trade Area หรือเขตการค้าเสรี เป็นการทำความตกลงทางการค้าของประเทศ อาจเป็น 2 ประเทศ (ทวิภาคี) หรือเป็นกลุ่มประเทศ (พหุภาคี) ที่จะร่วมมือขจัดอุปสรรคทางการค้าทั้งที่เป็นภาษีศุลกากรและไม่ใช่ภาษีศุลกากร

Table of Content

ความเป็นมาของเขตการค้าเสรี

แนวคิดของการมีนโยบายการค้าเสรี คือประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่ตนเองถนัด และมีต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด คือจะผลิตสินค้าที่คิดว่าประเทศตนได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Advantage)มากที่สุด แล้วนำสินค้าที่ผลิตได้นี้ไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าที่ประเทศตนไม่ถนัด หรือเสียเปรียบ โดยแลกเปลี่ยนสินค้ากับประเทศอื่นที่ผลิตสินค้าแล้วได้เปรียบ ดังนั้นประเทศทั้งสองก็จะทำการค้าต่อกันได้ โดยต่างฝ่ายต่างสมประโยชน์กัน (Win-Win Situation)

นโยบายการค้าเสรีมีดังนี้

  1. การผลิตตามหลักการแบ่งงานกันทำเลือกผลิตสินค้าที่มีต้นทุนการผลิตต่ำและประเทศมีศักยภาพในการผลิตสินค้านั้นสูง
  2. ไม่เก็บภาษีคุ้มกัน (Protective Duty) เพื่อคุ้มครองหรือปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ
  3. ไม่ให้สิทธิพิเศษหรือกีดกันสินค้าของประเทศใดประเทศหนึ่ง
  4. เรียกเก็บภาษีในอัตราเดียวและให้ความเป็นธรรมแก่สินค้าของทุกประเทศเท่ากัน ไม่มีข้อจำกัดทางการค้า (Trade Restriction) ที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศไม่มีการควบคุมการนำเข้า หรือการส่งออกที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศ ยกเว้นการควบคุมสินค้าบางอย่างที่เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสินค้าที่เกี่ยวด้วยศีลธรรมจรรยาหรือความมั่นคงของประเทศ

ความหมายของเขตการค้าเสรี

เขตการค้าเสรี หมายถึง การวมกลุ่มเศรษฐกิจโดยมีเป้าหมายเพื่อลดภาษีศุลกากรระหว่างกันภายในกลุ่ม ที่ทำข้อตกลงให้เหลือน้อยที่สุดหรือเป็น 0% และใช้อัตราภาษีปกติที่สูงกว่ากับประเทศนอกกลุ่ม การทำเขตการค้าเสรีในอดีตมุ่งในด้านการเปิดเสรีด้านสินค้า โดยการลดภาษีและอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษีเป็นหลักแต่เขตการค้าเสรีในระยะหลัง ๆ นั้น รวมไปถึงการเปิดเสรีด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น ด้านการบริการการลงทุน เป็นต้น

เขตการค้าเสรีที่สำคัญของไทย

เขตการค้าเสรีที่มีมูลค่าสูงในทางการค้า ได้แก่ เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ไทย-ญี่ปุ่น อาเซียน-เกาหลี เป็นต้น

ประกาศล่าสุดที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์สำหรับตรวจสอบหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า

ประกาศกองพิกัดอ้ตราศุลกากร ที่ 3/ 2563 เรื่อง เว็บไซต์สำหรับตรวจสอบหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า

การแสดงหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า

การแสดงหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า สำหรับผู้นำของเข้าที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้ผู้นำเข้าสามารถแสดงสำเนาภาพถ่ายหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าเพื่อใช้ในการปฏิบัติพิธีการศุลกากรได้ โดยให้เพิ่มการระบุข้อความในช่อง Remark (หมายเหตุส่งกรมฯ) “ขอใช้สำเนาภาพถ่ายหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าไปพลางก่อนและจะแสดงต้นฉบับหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าในภายหลัง”

ตามประกาศกรมศุลกากรที่ 81/ 2563 เรื่อง การแสดงหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า สำหรับผู้นำของเข้าที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2563 [ดาวน์โหลด]

  • สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ส่วนกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (สกก.) กองพิกัดอัตราศุลกากร (กพก.) กรมศุลกากร เลขที่ 1 ถ.สุนทรโกษา คลองเตย กทม. 10110
  • หมายเลขโทรศัพท์ : 0-2667-7014 หรือ 0-2667-6459
  • อีเมล์ : 80150000@customs.go.th