อาเซียน - จีน (ASEAN - China)

เขตการค้าเสรีอาเซียน - จีน (ASEAN - China Free Trade Agreement)

ภาพโดย : supplychainasia.org

ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน – จีน มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2548 โดยมีสินค้าผักและผลไม้ เป็นสินค้านำร่องที่ไทยกับจีนยกเลิกภาษีนำเข้าแล้ว ตั้งแต่ปี 2546 และทยอยยกเลิกภาษีของสินค้าที่เหลือซึ่งรวมแล้วกว่าร้อยละ 90 ของรายการสินค้าทั้งหมด มีอัตราภาษีนำเข้าเป็นศูนย์ โดยจัดกลุ่มการลดภาษีออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

  1. สินค้านำร่อง ได้แก่ ผัก ผลไม้ สินค้าประมง ผลิตภัณฑ์นมและไข่ เป็นต้น ทั้งสองฝ่ายลดภาษีเหลือศูนย์แล้วตั้งแต่ปี 2549 โดยสินค้าที่ไทยได้ประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ โดยเฉพาะมันสำปะหลัง ซึ่งมีอัตราการขยายตัวมากกว่าร้อยละ 400 และสินค้าประมง ซึ่งมีอัตราการขยายตัวมากกว่าร้อยละ 290 เป็นต้น

  2. สินค้าปกติ มีจำนวนร้อยละ 90 ของรายการสินค้าทั้งหมด ทั้งสองฝ่ายลดภาษีเหลือศูนย์แล้วตั้งแต่ ปี 2553 โดยสินค้าที่ไทยได้ประโยชน์ เช่น สตาร์ชทำจากมันสำปะหลัง ซึ่งมีอัตราการขยายตัวมากกว่าร้อยละ 120 ส่วนประกอบเลเซอร์ ซึ่งมีอัตราการขยายตัวมากกว่าร้อยละ 2,000 ของผสมน้ำยางธรรมชาติและน้ำยางสังเคราะห์ ซึ่งมีอัตราการขยายตัวมากกว่าร้อยละ 120 ตัวประมวลผลวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีอัตราการขยายตัวมากกว่า ร้อยละ 110 และเม็ดพลาสติก ซึ่งมีอัตราการขยายตัวมากกว่าร้อยละ 45 เป็นต้น

  3. สินค้าอ่อนไหว ซึ่งเป็นสินค้าที่ทั้งสองฝ่ายต้องการเวลาปรับตัว จึงมีระยะเวลาการลดและยกเลิกภาษีนานกว่าสินค้าปกติ โดยลดอัตราภาษีลงเหลือไม่เกินร้อยละ 20 ในวันที่ 1 มกราคม 2555 และในวันที่ 1 มกราคม 2561 จะต้องลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0-5 ครอบคลุมสินค้าของฝ่ายไทย เช่น แป้งข้าวสาลี น้ำผลไม้ โพลีเอสเตอร์ ยางรถยนต์ รองเท้ากีฬา ของเล่น กระจก ตู้เย็น ตู้แช่ เครื่องรับโทรทัศน์ ไมโครเวฟ แบตเตอรี่ เป็นต้น และสินค้าของฝ่ายจีน เช่น กาแฟ ใบยาสูบ ขนสัตว์ ฝ้าย ปลายข้าว แป้งข้าวเจ้า สับปะรดแปรรูป กระดาษ โพลีเอสเตอร์ กระปุกเกียร์สำหรับยานยนต์ และถุงลมนิรภัย เป็นต้น โดยสินค้าที่คาดว่าไทยจะได้ประโยชน์จากการลดภาษีของจีน เช่น ใบยาสูบ กาแฟ ฝ้าย สับปะรดแปรรูป และโพลีเอสเตอร์ เป็นต้น

  4. สินค้าอ่อนไหวสูง มีจำนวนรายการสินค้าไม่เกินร้อยละ 40 หรือ 100 รายการของสินค้าอ่อนไหวทั้งหมด (พิกัดศุลกากร 6 หลัก) แล้วแต่ว่าเงื่อนไขใดส่งผลให้มีรายการสินค้าอ่อนไหวสูงน้อยกว่า โดยสามารถคงอัตราภาษีไว้ได้จนถึง 1 มกราคม 2558 หลังจากนั้น ต้องลดภาษีมาอยู่ที่ไม่เกินร้อยละ 50 โดยครอบคลุมสินค้าของฝ่ายไทย เช่น สินค้าเกษตร 23 รายการที่มีโควตาภาษี (อาทิ นม ครีม มันฝรั่ง กระเทียม ไหมดิบ) หินอ่อน เป็นต้น และสินค้าของฝ่ายจีน เช่น ข้าวโพด ข้าว พืชน้ำมัน น้ำตาล กระดาษ ด้ายใยสังเคราะห์ กระดาษแข็ง เป็นต้น

การลดหย่อนภาษี

  • สินค้าในตอนที่ 01 - 08 ปัจจุบันอัตราอากรเป็นร้อยละ 0
  • ทยอยลดภาษีลงเป็นร้อยละ 0 ภายใน ปี 2555 ดังนี้
  • ปี 2552 ประมาณ 3,382 ประเภทย่อย หรือร้อยละ 40.75
  • ปี 2553 ประมาณ 7,295 ประเภทย่อย หรือร้อยละ 87.89
  • ปี 2555 ประมาณ 7,467 ประเภทย่อย หรือร้อยละ 89.96
  • สินค้าที่ไม่ลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 มีจำนวน 654 ประเภท ย่อย หรือร้อยละ7.88
  • สินค้าโควตา ผูกพันภายใต้ WTO ในตอนที่ 01 - 08 จำนวน 16 ประเภทย่อย หรือร้อยละ 0.19 ปัจจุบันอัตราอากร ในโควตา เป็นร้อยละ 0 ส่วนที่เหลือ ยังเจรจาไม่เสร็จสิ้น
- ตรวจสอบอัตราอากรขาเข้า และประเทศที่ได้รับสิทธิประโยชน์แยกตามพิกัด

Rules of Origin

Operation Certification Procedure

ประกาศ / กฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง

ประกาศกรมศุลกากร

เลขที่ รายละเอียด
164 / 2562 แก้ไขพิ่มเติมประกาศกรมศุลกากรที่ 132 / 2562
132 / 2562 หลักเกณฑ์และพิธีการการยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน
159 / 2560 หลักเกณฑ์และพิธีการการยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน
239 / 2559 หลักเกณฑ์และพิธีการการยกเว้นอากรและการลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน
94 / 2558 แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรมศุลกากรที่ 3 / 2555
3 / 2555 หลักเกณฑ์และพิธีการการยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน
83 / 2554 แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรมศุลกากรที่ 106 / 2553
53 / 2554 แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรมศุลกากรที่ 106 / 2553
106 / 2553 หลักเกณฑ์และพิธีการสำหรับการยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากร สำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน
21 / 2553 หลักเกณฑ์และพิธีการสำหรับการยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน

ประกาศสำนักพิกัดอัตราศุลกากร

ตามประกาศกรมศุลกากร ที่ 47/ 2563 เรื่อง การแสดงหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Form E) สำหรับผู้นำของเข้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) (ดาวน์โหลดประกาศ) มีผลใช้บังคับตั้งแต่ 3 มีนาคม 2563 จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2563

กรมศุลกากรอนุญาตให้ผู้นำเข้าใช้สำเนาหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Form E) แทนต้นฉบับ (Original) ได้ โดยจะต้องพิมพ์ใน Remark (หมายเหตุส่งกรมฯ) “ขอใช้สำเนาภาพถ่ายหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Form E)ไปพลางก่อนและจะยื่นต้นฉบับ Form E ในภายหลัง” และเลือกขอพบเจ้าหน้าที่

ผู้นำเข้าต้องนำต้นฉบับ (Original) มาแสดงต่อสำนักงานศุลกากร หรือด่านที่นำของเข้าภายในกำหนด 30 วัน นับจากวันตรวจปล่อยสินค้าออกจากอารักขาศุลกากร

Reference :