ของตกค้าง

ของตกค้าง

เนื่องจากก่อนหน้านี้พบว่า มีใบขนสินค้าผ่านแดน ที่ส่งข้อมูลหลักจากวันนำเข้าเกิน 60 วัน ระบบกรมศุลกากรได้ Lock ไม่ให้ส่งข้อมูลใบขนสินค้าผ่านแดน ทำให้มีคำถามกลับเข้ามาถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการศุลกากรสำหร้ับเรื่องดังกล่าว ในส่วนของโปรแกรม เราจำเป็นต้องทราบว่าระบบหลังบ้านกรมศุลกากร จะทำการตรวจสอบและ lock สินค้าที่อยู่ในอารักขาของศุลกากรเกิน 60 วัน นับแต่วันที่นําเข้า โดยไม่มีการยื่นใบขนสินค้า หรือ ไม่ได้เสียอากรหรือวางประกันค่าอากรที่ศุลกากรเรียกเก็บ ไม่สามารถส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ เราจึงรวบรวมข้อกฎหมายและขั้นตอนการปฏิบัติของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับของตกค้าง เพื่อใช้ประกอบทำความเข้าใจ และใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าวดังนี้

ตามประกาศกรมศุลกากรที่ 142/ 2560 เรื่อง พิธีการศุลกากรว่าด้วยของตกค้าง (ดาวน์โหลดประกาศ) ได้นิยามความหมายและหลักเกณฑ์ไว้ดังนี้

“ของตกค้าง” หมายถึง ของที่อยู่ในอารักขาของศุลกากรในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  1. ของนําเข้าที่เป็น สินค้าอันตราย ตามชนิด หรือประเภทที่กําหนดตามมาตรา 5 (5) แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 ที่ผู้นําของเข้ายังมิได้นําของออกไปจากเขตศุลกากร ภายใน 5 วัน สําหรับของที่ขนถ่ายข้างลํา (OVERSIDE) และ ภายใน 7 วัน สําหรับกรณีอื่นนับแต่สินค้าอันตรายอยู่ในอารักขาของศุลกากร

  2. ของนําเข้าอื่นใดนอกจากข้อ (1) ที่อยู่ในอารักขาของศุลกากรเกิน 30 วัน นับแต่วันที่นําเข้า โดยไม่มีการยื่นใบขนสินค้า และไม่ได้เสียอากรหรือวางประกันค่าอากรที่พึงเรียกเก็บแก่ของนั้น ซึ่งอธิบดีมีหนังสือแจ้งไปยังตัวแทนของเรือที่นําของเข้ามา แต่ตัวแทนของเรือไม่ยอมดําเนินการให้ถูกต้อง ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากอธิบดี

  3. ของนําเข้าอื่นใดนอกจากข้อ (1) ที่ยื่นใบขนสินค้า และเสียอากรหรือ วางประกันค่าอากรไว้ไม่ครบถ้วน และไม่ได้นําออกไปจากอารักขาของศุลกากร ภายในกําหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากอธิบดี

  4. ของสดของเสียได้ ที่ยังมิได้รับมอบไปจากอารักขาของศุลกากร และเห็นได้ชัดว่ามีลักษณะบูดเน่า หรือเสียแล้ว ตามมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560

หลักเกณฑ์ของการเป็นของตกค้าง

ของที่อยู่ในอารักขาของศุลกากรที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ เป็นของตกค้างตามมาตรา 107 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560

  1. ของนําเข้าที่เป็นสินค้าอันตรายตามชนิด หรือประเภทที่กําหนด ตามมาตรา 5 (5) แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 ซึ่งผู้นําของเข้ามิได้นําของออกไปจากเขตศุลกากรภายใน 5 วัน สําหรับของที่ขนถ่ายข้างลํา (OVERSIDE) และภายใน 7 วันสําหรับกรณีอื่น นับแต่สินค้าอันตรายอยู่ในอารักขาของศุลกากร ถ้าพ้นกําหนดแล้วสินค้าอันตรายนั้นจะตกเป็นของตกค้างโดยผลของกฎหมาย
  2. ของนําเข้าอื่นนอกจากข้อ (1) จะตกเป็นของตกค้าง มี 2 ประเภทได้แก่
    • ของที่อยู่ในอารักขาของศุลกากรเกินเวลา 30 วัน นับแต่วันนําเข้าสําเร็จ จะตกเป็นของตกค้าง ต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
      • เป็นของที่ไม่มีการยื่นใบขนสินค้าและไม่ได้เสียอากร หรือวางประกันค่าอากรที่พึงเรียกเก็บแก่ของนั้น
      • อธิบดีได้มีหนังสือแจ้งไปยังตัวแทนของเรือที่นําของเข้ามา แต่ตัวแทนของเรือไม่ยอมดําเนินการให้ถูกต้อง ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากอธิบดี
    • ของนําเข้าที่ไม่ได้นําออกไปจากอารักขาของศุลกากร ภายในกําหนด 30 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากอธิบดี จะตกเป็นของตกค้าง ต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
      • เป็นของที่มีการยื่นใบขนสินค้าโดยไม่ได้เสียอากรหรือวางประกันอากร หรือ
      • เป็นของที่มีการยื่นใบขนสินค้าและเสียอากรหรือ วางประกันค่าอากรไว้ไม่ครบถ้วน

ในส่วนของประกาศกรมศุลกากรที่ 66/ 2561 เรื่อง การปฏิบัติพิธีการศุลกากร ณ เขตปลอดอากรท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ดาวน์โหลดประกาศ) ได้มีแนวทางปฏิบัติพิธีการศุลกากร เกี่ยวกับของตกค้างทั้งในส่วนของเจ้าหน้าที่ และฝ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงขอยกข้อความเกี่ยวกับของตกค้างในประกาศฉบับดังกล่าว เพื่อให้ทราบถึงรายละเอียดในการปฏบัติเรื่องดังกล่าวมากขึ้นดังนี้