การตัดบัญชีใบขนสินค้ากับรายงานการนำของเข้า
การตรวจสอบข้อมูลใบขนสินค้ากับข้อมูล Manifest
การยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและการชำระค่าภาษีอากร หรือวางประกันค่าภาษีอากรสำหรับใบขนสินค้า ขาเข้าทุกประเภท ให้สามารถกระทำได้ทั้งก่อนและหลังวันเรือเข้า โดยผู้นำของเข้าหรือตัวแทนต้องสำแดงชื่อเรือ วันเรือเข้า ไว้ในใบขนสินค้าขาเข้า ให้ตรงตามข้อมูล Manifest
กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงวันเรือเข้า ภายหลังการปฏิบัติพิธีการและชำระค่าภาษีอากรหรือวางประกันแล้ว
- หากเป็นเหตุให้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ อัตราอากร ให้ผู้นำของเข้าหรือตัวแทนยื่นคำร้องขอแก้ไขข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้านั้น ต่อหน่วยบริการศุลกากรของ ด่านศุลกากรที่นำของเข้า หรือโรงพักสินค้าหรือที่มั่นคงซึ่งเป็นที่ตรวจและเก็บสินค้าดังกล่าว
- กรณีมีผลกระทบค่าภาษีอากรให้ผู้นำของเข้าหรือตัวแทนชำระค่าภาษีอากรหรือวางประกันค่าภาษีอากรให้ถูกต้องก่อน แล้วจึงจะสามารถรับการตรวจปล่อยสินค้าต่อไป
ข้อมูลบัญชีสินค้า (Manifest)
Seq. | Field Name | Format | Field Description |
---|---|---|---|
1 | Vessel Name | an..35 | ชื่อยานพาหนะ |
2 | Discharge Port | n..4 | รหัสสถานที่นำเข้า |
3 | Arrival Date | n8 | วันที่นำเข้า |
4 | Master Bill of Lading | an..35 | เลขที่ใบตราส่ง 1 |
5 | House Bill of Lading | an..35 | เลขที่ใบตราส่ง 2 |
6 | Company English Name | an..70 | ชื่อผู้นำเข้าภาษาอังกฤษ ตรวจสอบกับชื่อผู้รับสินค้า (Consignee Name) |
7 | Total Package Amount | n..8 | จำนวนหีบห่อรวม |
8 | Total Package Unit | an..2 | ลักษณะหีบห่อรวม |
9 | Gross Weight | n..11,3 | น้ำหนักรวม สำหรับทางอากาศใช้น้ำหนักตาม D/O |
10 | Gross Weight Unit | an..3 | หน่วยของน้ำหนักรวม |
11 | Release Port | n..4 | รหัสสถานที่ตรวจปล่อย |
เลขที่ใบตราส่ง 1 มีความสัมพันธ์กับ Transport Mode ดังนี้.
- รถไฟ ไม่ต้องระบุ
- รถยนต์/ทางบก ให้ระบุ Received Control No ของศ.บ.1
- อากาศ ให้ระบุ Master Air Waybill
- ไปรษณีย์ ไม่ต้องระบุ
- ผู้โดยสารนำพา ไม่ต้องระบุ
เลขที่ใบตราส่ง 2 มีความสัมพันธ์กับ Transport Mode ดังนี้.
- เรือ ให้ระบุ Bill of Lading
- รถไฟ ให้ระบุ Bill of Lading
- รถยนต์/ทางบก ให้ระบุ Item No ของศ.บ.1 ส่วนรายการ
- อากาศ ให้ระบุ House Air Waybill
- ไปรษณีย์ ให้ระบุเลขรายการศุลกากร (Postal No)
- ผู้โดยสารนำพา ให้ระบุเลขบัญชีสินค้าที่ผู้โดยสารนำพาจากอากาศยาน (Passenger Baggage No)
การตรวจสอบระหว่างใบขนสินค้ากับ Manifest
ใบขนสินค้า & Manifest | เรือ | รถไฟ | บก | อากาศ | ไปรษณีย์ | ผู้โดยสารนำพา |
---|---|---|---|---|---|---|
Vessel Name | Y | Y | - | Y | - | - |
Discharge Port | Y | Y | Y | Y | Y | Y |
Arrival Date | Y | Y | Y | Y | Y | Y |
Master Bill of Lading | - | - | Y | Y | - | - |
House Bill of Lading | Y | Y | Y | Y | Y | Y |
Company English Name | Y | Y | Y | Y | Y | Y |
Total Package Amount(จำนวนหีบห่อรวม) | = | = | >, = | = | = | = |
Total Package Unit(ลักษณะหีบห่อรวม) | = | = | = | = | = | = |
Gross Weight(น้ำหนักรวม) | = | = | >, = | = | = | = |
Gross Weight Unit(หน่วยของน้ำหนักรวม) | = | = | = | = | = | = |
Release Port | Y | Y | Y | Y | Y | Y |
เลขที่ใบอนุญาตให้ผ่านแดน (ศ.บ. 1)
รูปแบบเลขที่ใบอนุญาตให้ผ่านแดนในรูปแบบกระดาษ มีจำนวน 17 หลัก ดังนี้
- ด่านศุลกากรจะประกาศกำหนดเลข Running 9 หลัก ให้เริ่มต้นด้วยเลขที่ใดเป็นการเฉพาะของแต่ละด่านพรมแดนในสังกัดแตกต่างกันไป เช่น เริ่มต้นด้วย 000000001 หรือ 100000001 หรือ 200000001 เป็นต้น แต่เมื่อขึ้นเดือนใหม่ให้นับ 1 ใหม่
กรณีการนำเข้าทางบกที่ใช้ ศ.บ. 1 หลายฉบับ
กรณีการขนส่งทางบกที่มีการขนส่งผ่านด่านพรมแดนทางบกหลายเที่ยวรถยนต์ให้ดำเนินการดังนี้
- ในการจัดทำข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าให้ระบุค่า “Y” ในช่อง “Assessment request code” “มีปัญหาพิกัด ราคา พบ พนักงานศุลกากร ที่ ด่านศุลกากรที่นำเข้า”
- พบ พนักงานศุลกากร ที่ด่านศุลกากร เพื่อขออนุญาตรวม ศ.บ.1 หลายฉบับต่อ 1 ใบขนสินค้า