มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-dumping: AD)
มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-dumping: AD) เป็นมาตรการทางการค้าที่ประเทศผู้นำเข้าใช้เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายในที่ได้รับความเสียหาย หรือมีแนวโน้มที่จะได้รับความเสียหายจากการทุ่มตลาดอันเกิดจากการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศที่ไม่เป็นธรรม
การทุ่มตลาด (Dumping) คืออะไร
การทุ่มตลาด คือ การส่งออกสินค้าจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งเพื่อประโยชน์ในทางพาณิชย์ โดยที่ราคาส่งออกนั้นต่ำกว่ามูลค่าปกติของสินค้าชนิดเดียวกันที่จำหน่ายเพื่อการบริโภคภายในประเทศผู้ส่งออก / ผู้ผลิตเอง
ราคาส่งออก (Export Price) คือ ราคาสินค้าที่ผู้ส่งออกขายให้แก่ผู้นำเข้า หรือตัวแทนจำหน่ายในต่างประเทศ ซึ่งไม่มีความสัมพันธ์กัน โดยราคานั้นต้องเป็นราคาที่ขายให้แก่ผู้ซื้ออิสระทอดแรก (First Independent Buyer)
มูลค่าปกติ (Normal Value) คือ
- ราคาของสินค้าชนิดเดียวกันที่ขายในประเทศผู้ส่งออก / ผู้ผลิต หรือ
- ราคาส่งออกไปยังประเทศที่สาม (Third Countries) หรือ
- ราคาที่คำนวณจากต้นทุนการผลิต + ค่าใช้จ่ายอื่นๆ + กำไรที่เหมาะสม
ความเสียหายคืออะไร
ความเสียหาย (Injury) คือ ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมภายในประเทศ ผู้นำเข้าที่ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันกับสินค้าทุ่มตลาดหรือสินค้าที่ได้รับการอุดหนุน โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น
- สินค้าในประเทศถูกตัดหรือกดราคาหรือไม่สามารถขยับราคาให้สูงขึ้น
- ปริมาณการผลิตสินค้าภายในประเทศลดลง
- ปริมาณสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้น
- อัตรากำไรลดลง
- ส่วนแบ่งตลาดลดลง
- การจ้างงานลดลง
- อัตราการนำเข้าสินค้าทุ่มตลาดเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
- แนวโน้มที่ผู้ผลิตสินค้าทุ่มตลาดจะส่งสินค้าไปยังประเทศผู้นำเข้าสูงขึ้น
ลักษณะอย่างไรที่เข้าข่ายจะใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด
- พบว่ามีการทุ่มตลาด (Dumping)
- เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายในของประเทศผู้นำเข้า (Injury)
- ความเสียหายของอุตสาหกรรมภายในนั้นเป็นผลมาจากการทุ่มตลาด (Causal Link Between Dumping and Injury)
สรุปสถานะมาตรการ AD
- รายการสินค้า สินค้าที่ไทยถูกใช้มาตรการ
- รายการสินค้า สินค้าที่ไทยใช้มาตรการ
- คู่มือสนทนาตอบโต้การทุ่มตลาด
ข้อกฎหมาย
พระราชบัญญัติ
- The Anti- Dumping and Countervailing Act B.E.2542 (Unofficial Translation)
- คู่มือ_สนทนาตอบโต้การทุ่มตลาด
- พระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562
- พระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ. 2542
- พระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 (รวบรวมโดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา)
กฎกระทรวง
- กฎกระทรวง(ฉบับที่ 4) (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ. 2542 ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2543
- กฎกระทรวง(พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ. 2542 ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2543
- กฎกระทรวงกำหนดเกณฑ์ในการยุติการพิจารณาตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน พ.ศ. 2545 ลงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2545
- กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการพิจารณาความเสียหายที่เกิดแก่อุตสาหกรรมภายในจากการทุ่มตลาดหรือการอุดหนุน พ.ศ. 2545 ลงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2545
- กฏกระทรวง ฉบับที่3 (พ.ศ.2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ.2542 ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2543
ประกาศกระทรวงพาณิชย์
- ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ลงวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2542
- ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543 ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2543
- ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2543 ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2543
- ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2543 ลงวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2543
- ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2544 ลงวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2544
- ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน พ.ศ. 2542 ลงวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2542
- ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาความเสียหายเพื่อให้เรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน ตั้งแต่มีการใช้มาตรการชั่วคราว พ.ศ. 2545 ลงวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2545
- ประกาศคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุน เรื่อง การแก้ไขพิกัดอัตราศุลกากรตามประกาศคณะกรรมการฯให้สอดคล้องกับพระราชกำหนดพิกัดศุลกากร(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2549
- ประกาศคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุน เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับระยะเวลาในการยื่นคำขอทบทวนความจำเป็นในการต่ออายุการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน
ขั้นตอนการไต่สวน
การแก้ต่างเมื่อสินค้าไทยถูกประเทศคู่ค้าใช้มาตรการ AD
กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จะร่วมกับผู้ส่งออกและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ ในการกำหนดกลยุทธ์และแนวทางการแก้ต่าง และให้ข้อแนะนำในการต่อสู้ในแต่ละขั้นตอนของการไต่สวนตามกฎหมายของประเทศคู่ค้า
หากสินค้าไทยถูกฟ้อง ประเทศผู้เปิดการไต่สวนจะ
- มีหนังสือแจ้งเปิดการไต่สวนมายังผู้ผลิต / ผู้ส่งออกไทยที่ถูกกล่าวหาโดยตรง
- มีหนังสือแจ้งเปิดการไต่สวนมายังสถานทูตไทยประจำประเทศนั้น
- มีประกาศแจ้งใน Website ของประเทศที่เปิดการไต่สวน / องค์การการค้าโลก (WTO)
การดำเนินการแก้ต่างของผู้ส่งออก
- ติดต่อกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เพื่อให้ข้อมูลประกอบการกำหนดกลยุทธ์ในการแก้ต่าง / ต่อสู้
- รวบรวมข้อมูล สถิติการส่งออกและราคาขายสินค้าของบริษัททั้งในและต่างประเทศในช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา และข้อมูลอื่นๆ เพื่อเตรียมการตอบแบบสอบถามของประเทศคู่ค้าที่ ฟ้อง
- จัดเตรียมบุคลากรในการตอบแบบสอบถาม
- จัดเตรียมระบบบัญชีต้นทุน แยกเป็นรายประเภทสินค้า หรือพิกัดที่ถูกกล่าวหา และเตรียมการชี้แจงเมื่อผู้แทนของหน่วยงานผู้ไต่สวนเดินทางมาตรวจสอบข้อมูลที่บริษัทตอบแบบสอบถามไว้
ผลกระทบหากถูกใช้มาตรการ AD
- การชะลอตัวทางการค้า / การส่งออกลดลง
- กระทบต่อการผลิต / การจ้างงาน
- เสียความสามารถในการแข่งขัน และเสียส่วนแบ่งตลาดในประเทศคู่ค้า
- เสียอำนาจการต่อรองกับผู้นำเข้าในประเทศคู่ค้า
- หากประเทศที่ใช้มาตรการเป็นตลาดหลัก และเรียกเก็บอากรในอัตราสูงจนไม่มีการสั่งซื้อสินค้าจากประเทศนั้น ผู้ประกอบการจะถูกกระทบอย่างรุนแรงจนไม่สามารถดำรงธุรกิจอยู่ได้
บทบาทของภาครัฐในการแก้ต่าง
จัดเตรียมเจ้าหน้าที่ในการให้คำแนะนำ หลักเกณฑ์ ขั้นตอนต่างๆ ในการดำเนินการแก้ต่างของประเทศคู่ค้า พร้อมทั้งร่วมยกประเด็นโต้แย้งในการเปิดไต่สวน AD ต่อประเทศคู่ค้า และเข้าร่วมในกระบวนการตรวจสอบข้อมูลข้อเท็จจริง (Verification)
- ที่มา : กองปกป้องและตอบโต้ทางการค้า
- วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 3 กุมภาพันธ์ 2563