การส่งเสริมการลงทุน(BOI)
การส่งเสริมการลงทุน เป็นมาตรการหนึ่งในการดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศ ให้เข้ามาลงทุนในกิจการที่รัฐให้ความสำคัญโดยมีหน่วยงานหลักที่ดูแลรับผิดชอบ คือ สานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สิทธิและประโยชน์ทางภาษีอากรที่ผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนได้รับ เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะขอรับสิทธิและประโยชน์ต้องยื่นคำขอรับการส่งเสริมและต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนด.
คำจำกัดความ
- “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
- “ผู้ได้รับการส่งเสริม” หมายความว่า ผู้ได้รับบัตรส่งเสริมตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ซึ่งรายชื่อผู้ได้รับการส่งเสริมสามารถค้นหาได้จาก www.boi.go.th
- “เครื่องจักร” หมายความว่า เครื่องจักรที่จำเป็นต้องใช้ในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมและเครื่องจักรที่จำเป็นต้องใช้ในการก่อสร้างโรงงาน ซึ่งรวมถึงส่วนประกอบ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้และโครงโรงงานสำเร็จรูป ที่นำมาติดตั้งเป็นโรงงาน
- “วัตถุดิบ” (Material) หมายความว่า ของที่ใช้ในการผลิต หรือ ผสม หรือ ประกอบเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งบางครั้งอาจไม่คงสภาพเดิม เมื่อผ่านกระบวนการแล้ว ทั้งนี้ให้หมายรวมถึงของที่ ใช้บรรจุผลิตภัณฑ์ด้วย
- “วัสดุจำเป็น” (Essential Material) หมายความว่า ของซึ่งจำเป็นต้องใช้และเมื่อใช้แล้วสิ้นเปลืองในการผลิต หรือ ผสม หรือ ประกอบเป็นผลิตภัณฑ์ หรือ ผลิตผล เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพ คุณภาพ และมาตรฐาน ช่วยลดการสูญเสีย และเพิ่มผลผลิตสำหรับผลิตภัณฑ์หรือผลิตผลดังกล่าว “หนังสืออนุมัติสั่งปล่อย” หมายความว่า หนังสือที่สำนักงานอนุมัติให้เครื่องจักร วัตถุดิบและวัสดุจำเป็น ได้ร้บสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรโดยการลดหย่อน หรือ ยกเว้นอากรขาเข้า และผู้ได้รับการส่งเสริมต้องนำเครื่องจักร วัตถุดิบ และวัสดุจำเป็น เข้ามาตามช่วงระยะเวลาที่สำนักงานกำหนดไว้ในหนังสือโดยมี 2 รูปแบบ คือ
หนังสืออนุมัติสั่งปล่อยรายบัญชีราคาสินค้า (รายอินวอยซ์) คือบัญชีรายการและปริมาณเครื่องจักร/วัตถุดิบ และวัสดุจำเป็น ตามที่ปรากฏในแต่ละบัญชีราคาสินค้า
หนังสืออนุมัติสั่งปล่อยรายงวด 6 เดือน (Maximum Stock) คือบัญชีรายการวัตถุดิบ และวัสดุจำเป็นจำนวนสูงสุด ที่อนุมัติให้นำเข้า เพื่อใช้ในการผลิตส่งออกโดยได้รับยกเว้นอากรขาเข้า รายงวด 6 เดือน พร้อมประเภทพิกัดศุลกากรกำกับรายชื่อวัตถุดิบ และวัสดุจำป็นแต่ละรายการ หนังสืออนุมัติสั่งปล่อย ให้หมายความรวมถึง หนังสือที่สำนักงานแจ้ง ให้กรมศุลกากรส่งมอบของให้แก่ผู้ได้รับการส่งเสริม โดยขอผ่อนผันให้ใช้หนังสือธนาคารพาณิชย์ในราชอาณาจักรค้ำประกันค่าภาษีอากรแทนการชำระอากรขาเข้า และภาษีมูลค่าเพิ่ม หนังสืออนุมัติสั่งปล่อย สามารถใช้เป็นหนังสือค้ำประกันและถอนประกันภาษีมูลค่าเพิ่มได้โดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 20) เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการวางประกันและถอนประกันภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 83 /8 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534 โดยสำนักงานจะแจ้ง การอนุมัติเป็นข้อความให้ใช้หนังสืออนุมัติสั่งปล่อย เป็นหนังสือค้ำประกันและถอนประกันค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม
พิธีการศุลกากร
พิธีการศุลกากรสำหรับของนำเข้าที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
ของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยใช้สิทธิประโยชน์ตามกฎหมายส่งเสริมการลงทุน ให้ดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ณ ท่าหรือที่ ที่นำของเข้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีราคาสินค้า ว่ามีชื่อส่งของถีง รวมทั้งของที่ระบุไว้ในหนังสืออนุมัตสั่่งปล่อยรายงวด 6 เดือน ซึ่งนำเข้ามาทางท่าหรือที่ที่นำของเข้า ที่ไม่ได้ระบุไว้ในหนังสืออนุมัติสั่งปล่อยรายงวด 6 เดือน ให้ดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่ต้องยื่นคำร้องใดๆ ผู้ได้รับการส่งเสริมหรือตัวแทนจัดทำข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า เพื่อนำของเข้ามาในราชอาณาจักรตามมาตรฐานที่ศุลกากรกาหนด และส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ ในช่องข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้สิทธิประโยชน์ให้บันทึกข้อมูล ดังนี้
- ในส่วน Import Declaration Detail
- ในช่อง “BOI” มีค่าเท่ากับ “Y”
- ในช่อง “BOI” มีค่าเท่ากับ “Y”
- ในส่วน Import Declaration Detail (Permit)
- ในช่อง “เลขที่ใบอนุญาต” ให้ระบุเลขที่หนังสืออนุมัติสั่งปล่อย เช่น อก 123567
- ในช่อง “วันที่ออกใบอนุญาต” ให้ระบุวันที่ออกหนังสืออนุมัติสั่งปล่อย
- ในช่อง “เลขที่ใบอนุญาต” ให้ระบุเลขที่หนังสืออนุมัติสั่งปล่อย เช่น อก 123567
- ในส่วน Import Declaration Detail
การชำระค่าภาษี หรือการวางประกันค่าภาษีอากร กรณีเป็นของที่ได้รับอนุมัติให้ลดหย่อนอากรขาเข้า หรือเป็นของที่ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มหรือเป็นของที่สำนักงานขอผ่อนผันให้ใช้หนังสือค้ำประกันของธนาคารพาณิชย์แทนการชำระอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ดำเนินการชำระค่าภาษีอากร หรือยื่นหนังสือค้ำประกันที่หน่วยบัญชีอากร ของสำนักงานศุลกากร หรือด่านศุลกากร
การตรวจปล่อยสินค้าและการรับมอบของไปจากอารักขาศุลกากร ผู้นำเข้านำใบขนสินค้าขาเข้า ที่ยกเว้นอากร หรือได้ชำระค่าภาษีอากร หรือวางประกันแล้ว พร้อมเอกสารอื่นๆ ทั้งหมดไปขอรับสินค้า ณ ฝ่ายบริการศุลกากร เพื่อจะทำการตรวจปล่อยสินค้า เช่นเดียวกันกับการตรวจปล่อยสินค้าขาเข้าตามปกติ
ผู้นำเข้ายื่นหนังสืออนุมัติสั่งปล่อยในรูปแบบเอกสาร ให้เจ้าหน้าที่ศุลกากร ฝ่ายบริการศุลกากร เพื่อดำเนินการต่อไป
ข้อควรทราบ
ข้อควรทราบสาหรับการสำแดงรายการในใบขนสินค้าขาเข้า
- กรณีของที่นำเข้าเป็นวัสดุจำเป็น (Essential) ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้ว่าหนังสืออนุมัติสั่งปล่อยจะระบุ “ถอนประกันภาษีมูลค่าเพิ่ม” ก็ตาม
- หนังสือสำนักงานจะระบุหมายเหตุ “งวดนี้เป็นรายการวัสดุจำเป็นทั้งหมด” หรือ
- มีตัวอักษร “E” (Essential) หน้ารายการสินค้า ในเอกสารแนบหนังสืออนุมัติสั่งปล่อย
- หนังสือสำนักงานจะระบุหมายเหตุ “งวดนี้เป็นรายการวัสดุจำเป็นทั้งหมด” หรือ
- สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนได้เฉพาะ อากรขาเข้าและหรือถอนประกันภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น ดังนั้นของใดที่ต้องชำระภาษีสรรพสามิตและภาษีเพื่อมหาดไทย เช่น แบตเตอรี่ ต้องชำระภาษีสรรพสามิตและภาษีเพื่อมหาดไทย เว้นแต่สินค้าที่ได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิตตามมาตรา 103 แห่ง พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 และการคำานวณภาษีสรรพสามิตให้เป็นไปตามมาตรา 8 (3) วรรค 2 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
- กรณีที่ได้รับอนุมัติให้ยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้า ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องนำอากรขาเข้าที่ได้รับยกเว้น หรือลดหย่อน ภาษีสรรพสามิตและภาษีอื่น (ถ้ามี) มารวมเป็นมูลค่าของฐานภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย ตามาตรา 79⁄2 แห่งประมวลรัษฎากร
พิธีการศุลกากรสาหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
พิธีการศุลกากรสาหรับการส่งของที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนออกไปนอกราชอาณาจักร
- การจัดทำข้อมูลใบขนสินค้าขาออก และการยื่นใบขนสินค้าขาออก ผู้ได้รับการส่งเสริมหรือตัวแทนจัดทำข้อมูลใบขนสินค้าขาออกเพื่อส่งของออกไปนอกราชอาณาจักร และส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ โดยปฏิบัตพิธีการศุลกากร ณ ท่า หรือที่ที่ส่งของออก
การระบุค่าในช่องข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้สิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุน
2. การตรวจปล่อยสินค้า ใบกำกับการขนย้ายสินค้า และการดำเนินการในกระบวนการศุลกากรในการส่งออก ให้ปฏิบัติพิธีการศุลกากร ณ ท่าหรือที่ที่ส่งของออก โดยปฏิบัติ เช่นเดียวกับการส่งออกสินค้าปกติ
- ในช่อง “BOI” มีค่าเท่ากับ “Y” (ในส่วน Import Declaration Detail)
- BOI LICENSE NUMBER = เลขที่บัตรส่งเสริมการลงทุน BOI
- Privilege Code = 003
- Export Tariff = 9 part 3
- Tariff Code = บันทึกพิกัดศุลกากรให้ตรงกับชนิดของของที่ส่งออก
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
หากต้องการทราบรายละเอี่ยดเพิ่มเติม เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุน โปรดติดต่อโดยตรงที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับพิธีการศุลกากรสาหรับของนำเข้าที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน โปรดติดต่อขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่.
- ฝ่ายเอกสิทธิและส่งเสริมการลงทุน ส่วนบริการกลาง สำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ โทร. 0-2667-7000 ต่อ 20-7641, 20-5525 หรือ 20-5536.
- ฝ่ายเอกสิทธิและส่งเสริมการลงทุน ส่วนบริการกลาง สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โทร. 0-2134-1250, 0-2134-1251 หรือ 0-2134-1245.
- ฝ่ายเอกสิทธิและส่งเสริมการลงทุน ส่วนบริการกลาง สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง โทร. 0-2667-7000 ต่อ 25-7873, 25-7910, 25-7913 หรือ 25-7875.
- หรือหากมีข้อเสนอแนะประการใดโปรดติดต่อ ฝ่ายเอกสิทธิและส่งเสริมการลงทุน ส่วนบริการกลาง สานักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ โทร. 0-2667-7641.
วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 21 กรกฎาคม 2560.
ที่มา : กรมศุลกากร