ของต้องห้ามต้องกำกัด
ของต้องห้าม
ของต้องห้าม หมายถึงของที่มีกฎหมายกำหนดห้ามนำเข้ามาหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรโดยเด็ดขาด และในบางกรณีห้ามการส่งผ่านด้วย ผู้ใดนำสินค้าต้องห้ามเข้ามาหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรจะมีความผิดต้องรับโทษตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและเป็นความผิดตามมาตรา 244 และ มาตรา 246 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 ด้วย ตัวอย่างสินค้าต้องห้ามในการนำเข้า-ส่งออก มีดังนี้
- วัตถุลามก การนำเข้าและส่งออกวัตถุลามก ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบหนังสือ ภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพระบายสี สิ่งที่พิมพ์ขึ้น รูปภาพ ภาพโฆษณา เครื่องหมาย รูปถ่าย และภาพยนตร์ลามกหรือวัตถุลามกอื่น ๆ
- สินค้าที่มีตราหรือลวดลายเป็นรูปธงชาติ
- ยาเสพติดให้โทษ
- เงินตรา พันธบัตร ใบสำคัญรับดอกเบี้ยพันธบัตรอันเป็นของปลอมหรือแปลง เหรียญกษาปณ์ที่ทำให้น้ำหนักลดลงโดยทุจริต ดวงตราแผ่นดิน รอยตราแผ่นดินหรือพระปรมาภิไธย ดวงตราหรือรอยตราของทางราชการอันเป็นของปลอม
- สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น แถบบันทึกเสียง (เทปเพลง) แผ่นบันทึกเสียง (คอมแพคดิสก์) แถบบันทึกภาพ (วีดีโอเทป) โปรแกรม คอมพิวเตอร์ หนังสือ หรือสินค้าอื่นใดที่ทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น
- สินค้าปลอมแปลงหรือเลียนแบบเครื่องหมายการค้า
ของต้องกำกัด
ของต้องกำกัด หมายถึงสินค้าที่มีกฎหมายกำหนดว่าหากจะมีการนำเข้า-ส่งออกหรือผ่านราชอาณาจักรจะต้องได้รับอนุญาตหรือปฏิบัติให้ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้น ๆ เช่น ต้องมีใบอนุญาตการนำเข้าและส่งออก ต้องปฏิบัติตามประกาศอันเกี่ยวกับฉลากหรือใบรับรองการวิเคราะห์ หรือเอกสารกำกับยา เป็นต้น ผู้ใดนำของต้องกำกัดเข้ามา หรือส่งออก หรือส่งผ่านราชอาณาจักรโดยมิได้รับอนุญาตหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่กำหนดไว้ให้ครบถ้วน จะมีความผิดตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้น ๆ และเป็นความผิดตามมาตรา 244 และ มาตรา 246 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 ด้วย ตัวอย่างสินค้าที่มีมาตรการนำเข้า,สินค้าที่มีมาตรการส่งออก,สินค้ามาตรฐานและมาตรฐานสินค้า
พิกัดอัตราศุลกากร และรหัสสถิติที่ต้องมีใบอนุญาต
พิกัดอัตราศุลกากร และรหัสสถิติที่ต้องมีใบอนุญาต [Table] พิกัดอัตราศุลกากร และรหัสสถิติที่ต้องมีใบอนุญาต [Excel] รหัสยกเว้นไม่ต้องมีใบอนุญาต/ใบรับรอง
การเชื่อมโยงข้อมูลผ่านระบบ NSW สำหรับใช้ในการผ่านพิธีการศุลกากรแบบไร้เอกสาร
ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2563
มี 32 หน่วยงาน เชื่อมโยงข้อมูลผ่านระบบ NSW สำหรับใช้ในการผ่านพิธีการศุลกากรแบบไร้เอกสาร และกระบวนงานที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ ประกอบด้วย
- กรมศุลกากร
- กรมโรงงานอุตสาหกรรม
- กรมทรัพยากรธรณี
- กรมควบคุมโรค
- กรมป่าไม้
- สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
- กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
- กสทช.
- กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
- กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ
- กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
- กรมการขนส่งทางบก
- กรมการอุตสาหกรรมทหาร
- การยางแห่งประเทศไทย
- การท่าเรือแห่งประเทศไทย
- การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย
- สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
- กรมการค้าภายใน
- กรมสรรพสามิต
- สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
- สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
- สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
- กรมธุรกิจพลังงาน
- กรมศิลปากร
- กรมประมง
- กรมวิชาการเกษตร
- กรมการปกครอง
- กรมการค้าต่างประเทศ
- กรมปศุสัตว์
- หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
ที่มา : กรมศุลกากร
วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 8 มกราคม 2561.
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : กองกฎหมาย (กกม.)
กรมศุลกากร เลขที่ 1 ถ.สุนทรโกษา คลองเตย กทม. 10110
หมายเลขโทรศัพท์ : 0-2667-6002
อีเมล์ : 65000100@customs.go.th