ASEAN

เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area AFTA)

Table of Contents ประเทศสมาชิก หลักเกณฑ์และพิธีการศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากอาเซียน หมวด 1 เกณฑ์การได้ถิ่นกำเนิดสินค้าและข้อกำหนดการส่งมอบ หมวด 2 การรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า หมวด 3 การปฏิบัติพิธีการศุลกากรสำหรับผู้นำของเข้า เอกสารแนบ ภาคผนวก ประกาศ / กฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง เอกสารเพิ่มเติม เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) เกิดจากความต้องการร่วมมือทางการค้าจากประเทศต่างๆในอาเซียน เพื่อให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจ และเพิ่มอำนาจในการต่อรองทางด้านเศรษฐกิจในเวทีโลก พร้อมกันนี้อาเซียนยังมีความต้องการที่จะดึงดูดประเทศต่างๆให้เข้ามาลงทุน เพื่อความเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องภายในภูมิภาค โดย AFTA นั้นจะทำให้การค้าขายสินค้าในอาเซียนเป็นไปอย่างเสรี มีการคิดอัตราภาษีระหว่างกันในระดับที่ต่ำและปราศจากข้อกำหนดทางการค้า อันจะส่งผลให้ประเทศสมาชิกจะมีต้นทุนการผลิตสินค้าที่ลดลง อีกทั้งเป็นการเพิ่มปริมาณทางด้านการค้าในภูมิภาคให้มีมากขึ้น ทำให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและมั่นคง อาเซียนดำเนินการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) โดยมุ่งเน้นไปที่การขจัดอุปสรรคทางการค้าทั้งหลายภายในภูมิภาค ทั้งในด้านภาษีและเครื่องกีดขวางทางการค้าต่างๆที่มิใช่ภาษี ยกตัวอย่างเช่นการจำกัดโควต้าการนำเข้า เป็นต้น โดยจะยกเว้นแต่เพียงสินค้าที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง ศีลธรรม ชีวิต และศิลปะ เท่านั้น ซึ่งมาตรการที่สำคัญที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้นมาตรการทางภาษี โดยอาเซียนมีเป้าหมายในการลดภาษีในบัญชีลดภาษี (IL) ให้เหลือร้อยละ 0-5 ภายในค.ศ.2002 และตั้งเป้าให้เหลือร้อยละ 0 ภายใน ค.ศ.2010 สำหรับประเทศ ASEAN 6 (ประเทศไทย ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงคโปร์ ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศบรูไน) ยกเว้น สินค้าอ่อนไหว (SL) เช่น กลุ่มสินค้าประเภทมันฝรั่ง กาแฟของประเทศไทย หรือ กลุ่มสินค้าประเภท กาแฟ ชา ของประเทศบรูไน เป็นต้น โดยสินค้าประเภทนี้กำหนดให้ต้องลดภาษีเหลือ 0-5% ภายใน ค.

รายชื่อประเทศสมาชิกอาเซียนที่สามารถออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Form D) ลงนามอยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์

ประกาศกองพิกัดอัตราศุลกากรที่ 8/.2563 เรื่อง รายชื่อประเทศสมาชิกอาเซียนที่สามารถออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Form D) ที่มีตราประทับและลายมือชื่อของผู้มีอำนาจลงนามอยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน.